Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

AIS 5G ขยายความร่วมมือกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดตัวศูนย์ 5G R&D ในชื่อ “AIS 5G PLAY GROUND & 5G GARAGE” ณ อาคาร 100 ปี วิศวฯ จุฬา ที่ติดตั้ง LIVE Private Network ด้วยสถานีฐาน 5G กับ 2 คลื่นความถี่ 2600 MHzและ 26 GHz (mmWave) เปิดโอกาสให้นิสิต คณะอาจารย์ได้เข้ามาทดสอบ ลองใช้ 5G ต่อยอดเป็นนวัตกรรมเทคโนโลยี เตรียมความพร้อมนิสิตสู่โลกการทำงานจริง 

ซึ่งตัวอย่างของการใช้ 5G พัฒนาไอเดียใหม่ๆ เช่น  AI,ML,VR,AR,MR,IoT,Metaverse,Robotic ,ฯลฯ ถือเป็นการต่อยอดความร่วมมือกับจุฬาฯ ที่มีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2561

สำหรับuse case ที่นำมาแสดงในงานเปิดตัว ถือเป็น use case ที่นิสิตร่วมกันพัฒนาขึ้นมาจริงๆ ตัวอย่างเช่น

1. หุ่นยนต์ WALKIE : หุ่นยนต์บริการในครัวเรือน หรือ Domestic service robot  ที่สามารถทำงานบ้าน และมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อาศัยภายในบ้านได้

2. หุ่นยนต์ไข่มุก : หุ่นยนต์ Home Healthcare ช่วยฝึกการเคลื่อนไหวให้ผู้ป่วยพาร์กินสัน สามารถทำกายภาพได้ตามคำแนะนำทางการแพทย์ได้ โดยผู้ป่วยไม่ต้องเข้ามาที่โรงพยาบาล พร้อมเก็บและส่งต่อสถิติเพื่อให้คุณหมอและนักกายภาพสามารถดูพัฒนาการของผู้ป่วยได้

3. หุ่นยนต์ Rehab : Universal Controller ด้วยลักษณะของแขนกลที่ช่วยให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อัมพาต อัมพฤกษ์ กล้ามเนื้ออ่อนแรง สามารถฝึกทำกายภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมเก็บและส่งต่อสถิติบนโครงข่าย 5G เพื่อให้สามารถดูพัฒนาการของผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง

4. Autonomous Shuttle Bus : รถรับส่งผู้โดยสารไร้คนขับ (Autonomous Shuttle pod) ใช้ระบบ 5G เป็นตัวเชื่อมต่อ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยกับการทำงานของรถไร้คนขับ โดยคาดว่าปลายปีจะเริ่มนำไปวิ่งบนพื้นที่ถนนจริง

5. IntaniaVerse : คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้ริเริ่มการทำเมตาเวิร์สเพื่อการศึกษา อาทิ โรงไฟฟ้า ณ เขื่อนท่าทุ่งนา การฝึกและบำบัดผู้สูงวัยด้วยแอปพลิเคชันโลกเสมือนจริง

นายวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ เอไอเอส กล่าวว่า AIS 5G PLAY GROUND & 5G GARAGE แห่งนี้ ติดตั้งสถานีฐาน 5G ที่เลือกเอาคลื่น 2600 MHz และ คลื่น 26 GHz (mmWave) ที่เหมาะกับการพัฒนา Use case ในหลากหลายรูปแบบ

ไม่ว่าจะเป็น Industrial solutions, Holograms Solutions หรือ Fixed Wireless Access-FWA  เพราะช่วงความถี่อย่าง 26 GHz มีปริมาณ Bandwidth มหาศาลและความหน่วงต่ำมาก (Low Latency)

ด้าน ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า AIS 5G PLAY GROUND & 5G GARAGE ตอบโจทย์และสามารถส่งเสริมให้นิสิต และ คณาจารย์ ได้ใช้เป็นแหล่งทำงานวิจัย แลกเปลี่ยน เรียนรู้ สร้างสรรค์นวัตกรรมบน Sandbox ได้

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า