SHARE

คัดลอกแล้ว

 เอไอเอส (AIS) จับมือทีมแพทย์-วิศวะ จุฬาฯ นำ 5G เสริมความสามารถหุ่นยนต์เฝ้าระวังโควิด-19 แบ่งเบาภาระบุคลากรทางการแพทย์

จากสถานการณ์เชื้อไวรัสโควิด-19 ที่กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลกอยู่ในขณะนี้ หลายภาคส่วนต่างหาทางรับมือกันอย่างหนัก ล่าสุด เมื่อช่วงต้นเดือนมีนาคม 2563 ที่ผ่านมา คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมกับ เอไอเอส เปิดให้สื่อมวลชนร่วมรับฟังเรื่องราวของหุ่นยนต์บริการทางการแพทย์ ที่ห้องปฏิบัติการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ โดยการนำเทคโนโลยี 5G มาเสริมความสามารถให้หุ่นยนต์ เพื่อแบ่งเบาภาระของแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมทั้งลดความเสี่ยงจากโรคติดต่อของผู้ป่วย

นายวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ เอไอเอส

นายวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ เล็งเห็นถึงความสำคัญของบุคลากรทางการแพทย์ ในการปฏิบัติหน้าที่ควบคุมสถานการณ์ในประเทศไทย ตลอด 24 ชั่วโมง จึงร่วมพัฒนาเพื่อนำเทคโนโลยี 5G และ 4G มาช่วยเสริมขีดความสามารถการทำงานของหุ่นยนต์บริการทางการแพทย์ ซึ่งคิดค้นและพัฒนาจากฝีมือคนไทย โดย ศ.ดร.วิบูลย์ แสงวีระพันธุ์ศิริ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและหัวหน้าศูนย์ Regional Center of Robotics Technology, ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมด้วย นายแพทย์เขตต์ ศรีประทักษ์ ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์โรงพยาบาลโรคทรวงอก ซึ่งเป็นหนึ่งในโรงพยาบาลที่ได้นำหุ่นยนต์บริการทางการแพทย์ไปใช้ที่โรงพยาบาล เพื่อนำมาใช้ติดตามอาการกลุ่มผู้ถูกเฝ้าระวังและดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นครั้งแรกของประเทศไทย

ศ.ดร.วิบูลย์ แสงวีระพันธุ์ศิริ (ซ้าย), นายวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ (ขวา)

ศ.ดร.วิบูลย์ แสงวีระพันธุ์ศิริ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ และหัวหน้าศูนย์ Regional Center of Robotics Technology จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ที่จริงทางคณะวิศวะมีการพัฒนาหุ่นยนต์ทางการแพทย์มาโดยตลอดอยู่แล้ว เมื่อมีวิกฤติโควิด-19 เข้ามา ทางทีมงานจึงเร่งมืออย่างเต็มกำลัง เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระให้แก่บุคลากรทางการแพทย์

“บ้านเมืองเรามีบุคลากรทางการแพทย์ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในอนาคตที่จำนวนหมออาจไม่พอต่อจำนวนคนไข้ หุ่นยนต์จึงมาช่วยในเรื่องนี้ได้ เพราะสามารถเป็นเครื่องทุ่นแรงในบางเรื่องได้ โดยในทีมมีอยู่ 6 คน ที่ร่วมกันพัฒนา ซึ่งมีนักศึกษารวมอยู่ด้วย และพวกเขาก็ทุ่มเทมาก ภูมิใจที่ได้ช่วยผลิตเครื่องมือที่จะช่วยวงการแพทย์ได้ ซึ่งประสิทธิภาพของหุ่นยนต์ไม่เพียงช่วยคัดกรองโควิด-19 เท่านั้น แต่ยังช่วยวัดความดัน, อุณหภูมิคนไข้ และอีกหลายๆ เรื่องได้ด้วย เดิมทีเราผลิตหุ่นยนต์คุณหมอทั้งหมด 8 แบบ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มช่วยกายภาพบำบัด ซึ่งผลิตเพื่อช่วยผู้ป่วยที่เป็นเกี่ยวกับเส้นเลือดสมองแตก-ตีบ ส่วนใหญ่ก็เพื่อผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองได้ยากหรือช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ อีกกลุ่มคือกลุ่มให้บริการทางการแพทย์ ซึ่งกลุ่มนี้มี 2 แบบ คือ แบบตั้งโต๊ะ และแบบโมบายล์ ซึ่งในอนาคตเราจะพัฒนาให้เหมาะกับโรคต่อไป” ศ.ดร.วิบูลย์ กล่าว

สำหรับหุ่นยนต์บริการทางการแพทย์นี้ เริ่มต้นได้คิดค้นด้วยจุดมุ่งหวังในการสร้างนวัตกรรมเพื่อนำมายกระดับการให้บริการทางการแพทย์ ซึ่งแพทย์สามารถเข้าถึงผู้ป่วยได้โดยไม่ต้องสัมผัสหรืออยู่ใกล้ผู้ป่วย ด้วยการรักษาและให้คำปรึกษาผ่านทางไกลผ่านระบบ Telemedicine ที่ตัวหุ่นยนต์ เพื่อขยายขีดความสามารถในการดูแลและรักษา เมื่อมีปัญหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ระบบที่พัฒนาขึ้นนี้ จะนำมาดัดแปลงเพื่อช่วยเหลือแพทย์และพยาบาลสำหรับดูแลผู้ติดเชื้อหรือสงสัยว่าจะติดเชื้อ ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงให้กับบุคลากรทางการแพทย์

ในเบื้องต้นหุ่นยนต์บริการทางการแพทย์ แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ แบบตั้งโต๊ะ (หรือชื่อเล่นอีกชื่อคือ น้องดำ) ซึ่งต้องมีคนเข็น กับแบบโมบายล์  (Mobile Robot) เป็นแบบแท่ง ซึ่งมีความคล่องตัวในการทำงาน วิ่งเองได้ ฉลาด หลบหลีกสิ่งกีดขวางได้ และผลิตได้ง่ายกว่าแบบตั้งโต๊ะ ทั้งสองแบบมีฟังก์ชันในการดูแลคนไข้คล้ายกัน แต่แบบโมบายล์ใช้ระบบ telepresent หมออยู่บ้านก็สามารถคุยกับคนไข้ผ่านหุ่นยนต์ได้

หุ่นยนต์บริการทางการแพทย์ แบบตั้งโต๊ะ (สีดำ) และแบบ Mobile Robot (แท่ง)

ชื่อเล่นของหุ่นยนต์ทั้งสองมีทั้งคนเรียกว่า “หุ่นยนต์นินจา” และ “หุ่นยนต์คุณหมอ” เริ่มถูกนำไปใช้งานเพื่อเฝ้าระวังการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 แล้ว 3 แห่ง โดยได้ทำงานร่วมกับ นายแพทย์สมบูรณ์ ทศบวร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี และ นายแพทย์เขตต์ ศรีประทักษ์ ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์โรงพยาบาลโรคทรวงอก ได้แก่

  1. โรงพยาบาลราชวิถี จำนวน 2 ชุด เป็นแบบตั้งโต๊ะ
  2. โรงพยาบาลทรวงอก จำนวน 1 ชุด เป็นแบบ Mobile Robot

และ 3. โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี จำนวน 1 ชุด เป็นแบบตั้งโต๊ะ

นายแพทย์เขตต์ ศรีประทักษ์ ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์โรงพยาบาลโรคทรวงอก

นอกจากนี้ ยังอยู่ในระหว่างการสร้างจำนวนมากขึ้น และการพัฒนาโปรแกรมใหม่โดยเฉพาะ และยังอยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมด้านเครือข่ายสัญญาณ 5G ไปยังสถานพยาบาลในพื้นที่ต่างจังหวัดเพิ่มเติมอีกด้วย

“ตอนนี้เราผลิตหุ่นยนต์โมบายล์ได้เฉลี่ย 30 ตัวต่อเดือน ที่ผ่านมาใช้เงินทุนของทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาสนับสนุนเงินทุนให้ โดนต้นทุนในการผลิตตกตัวละประมาณ 1-2 แสนบาท ไม่รวมค่าแรง ในอนาคตสำหรับหุ่นยนต์โมบายล์ คาดว่าถ้ามีกำลังการผลิตมากพอ ราคาขายจะอยู่ที่ตัวละล้านกว่าบาท ส่วนหุ่นยนต์ตั้งโต๊ะราคาขายจะอยู่ที่ตัวละประมาณ 2 แสนบาท แต่เราตั้งใจว่าอยากให้เป็นในรูปแบบเช่ามากกว่า เพราะเมื่อมีปัญหาในการใช้งาน ทางเราจะได้นำมาซ่อมแซมให้ และไม่ต้องเป็นภาระหนัก ภาระระยะยาวกับทางโรงพยาบาลด้วย

ซึ่งอันที่จริงเราตั้งใจจะไม่ขาย เพราะต้องการให้โรงพยาบาลโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย บุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องดูแลผู้ป่วยโควิด-19 น่าสงสารและน่าเห็นใจมาก เพราะเมื่ออยู่ใกล้ชิดผู้ป่วย นั่นหมายถึงพวกเขาก็ต้องกักตัวเองเหมือนกัน ไม่ได้กลับบ้าน ไม่ได้ไปเจอครอบครัว ค่าตอบแทนเมื่อเทียบกับความเสียสละแล้ว เทียบกันไม่ได้เลย ทางคณะฯ จึงมองว่า ถ้าให้แล้วเป็นประโยชน์ โรงพยาบาลก็ควรจะได้รับ เราอยากทำอะไรที่ช่วยแบ่งเบาภาระให้พวกเขา ได้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เขามีกำลังใจ” ศ.ดร.วิบูลย์ กล่าว

สำหรับคุณสมบัติเด่นในการใช้งานหุ่นยนต์บริการทางการแพทย์ ในการติดตามอาการกลุ่มผู้ถูกเฝ้าระวังและดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้แก่

  1. ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างแพทย์ และกลุ่มผู้ถูกเฝ้าระวังหรือผู้ป่วย ได้สื่อสารโต้ตอบผ่านระบบ VDO Conference ด้วยภาพความละเอียดสูง ช่วยให้แพทย์สามารถคัดกรอง ประเมินความเสี่ยง ตลอดจน การวินิจฉัยโรคเบื้องต้นได้
  2. แพทย์ พยาบาล สามารถควบคุม สั่งการการทำงานของหุ่นยนต์ได้จากระยะไกล เช่น ติดตามอาการของผู้ถูกเฝ้าระวังผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยไม่ต้องเข้าไปสัมผัสกับผู้ถูกเฝ้าระวังด้วยตนเอง
  3. หุ่นยนต์บริการทางการแพทย์ สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์วัดและบันทึกสัญญาณชีพ (Vital sign) เช่น วัดความดัน, วัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG), วัดชีพจร, วัดอุณหภูมิ และส่งต่อข้อมูลไปยังแพทย์ เพื่อประเมิน ผลได้ทันที (ในส่วนของหุ่นยนต์ชุดแรกยังไม่ได้ติดเครื่องวัดสัญญาณชีพนี้ แต่ในรุ่นถัดไปจะมีการติดตั้งอุปกรณ์เหล่านี้แล้ว ตามความจำเป็น)

จำลองการใช้หุ่นยนต์บริการทางการแพทย์ ผู้ป่วยวัดไข้ แพทย์ทราบผลทันที

ความร่วมมือในครั้งนี้ ถือเป็นการร่วมทำงานอย่างต่อเนื่องจาก 4G สู่ 5G ที่จะเสริมประสิทธิภาพการทำงานได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะระบบการสื่อสารโต้ตอบผ่านกล้อง VDO ความคมชัดสูงที่ช่วยให้การทำงาน มีเสถียรภาพ และการตอบสนองของหุ่นยนต์ที่รวดเร็ว และยังรองรับจำนวนหุ่นยนต์ที่ทำงานพร้อมกันได้มากขึ้นด้วย

นับเป็นครั้งแรกของเมืองไทยในการพัฒนาหุ่นยนต์ เข้ามาช่วยลดอัตราความเสี่ยงในการติดตามเฝ้าระวังอาการระหว่างผู้ถูกเฝ้าระวังผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 กับบุคลากรทางการแพทย์ เช่น แพทย์ พยาบาล รวมถึง ล่ามภาษาจีน เนื่องจากในปัจจุบัน ยังต้องมีการเฝ้าระวังการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างเคร่งครัด ทางการทดสอบเบื้องต้น ทำให้มั่นใจได้ว่าเทคโนโลยี 5G จะมีบทบาทสำคัญมากกับวงการแพทย์และการให้บริการทางการแพทย์อย่างไม่มีข้อสงสัย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า