SHARE

คัดลอกแล้ว

 เอไอเอส ลงนามความร่วมมือกับ เอสซีจี ผนึกกำลัง ม.อ. ร่วมทดสอบนำ 5G ใช้งานจริงในภาคอุตสาหกรรม โชว์ยูสเคสรถยกปูนที่สระบุรี ผู้ควบคุมรถไม่ต้องอยู่ที่เดียวกับรถ สำเร็จเป็นรายแรกของไทย

เมื่อวันที่ 24 ม.ค. 63 ที่ผ่านมา สององค์กรอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่ของไทย “เอไอเอส” และ “เอสซีจี” พร้อมด้วยภาคการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) ผนึกกำลังร่วมทดสอบการนำ 5G มาใช้จริงในภาคอุตสาหกรรม ประเดิมด้วยการใช้ควบคุมรถยกปูนผ่านทางไกล โดยผู้ควบคุมรถอยู่ที่เอสซีจี สำนักงานใหญ่บางซื่อ กรุงเทพฯ ควบคุมรถยกที่โรงงานของเอสซีจี จ.สระบุรี ได้ โดยผู้ควบคุมรถไม่ต้องอยู่ที่เดียวกับรถ แต่สามารถควบคุมรถให้เคลื่อนย้ายสิ่งของจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดที่ต้องการได้แบบเรียลไทม์และแม่นยำ

วสิษฐ์ วัฒนศัพท์

วสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ เอไอเอส กล่าวว่า ที่ผ่านมาเอไอเอสเป็นผู้นำนวัตกรรม 5G รายแรกรายเดียวของไทยที่ทดลองทดสอบ 5G ครบแล้วทั่วไทย เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงบทบาทของเทคโนโลยี 5G ว่ามีความสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลและยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทยอย่างไร

“ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ได้โชว์ยูสเคส โดยนำนวัตกรรม 5G มาใช้งานจริงกับภาคอุตสาหกรรม ซึ่งที่ผ่านมานวัตกรรม 5G เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เราอาจจะได้ยินกันว่านำมาใช้กับสมาร์ทโฟน แต่ที่จริงแล้วประสิทธิภาพของ 5G ไม่ใช่แค่ความเร็วแรง แต่ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับอีกหลากหลายอุตสาหกรรม ทั้งเรื่อง Smart City และ IoT ต่างๆ ไปจนถึงด้านการแพทย์ ซึ่งการลงนามความร่วมมือกับเอสซีจีครั้งนี้ เราเริ่มด้วยการควบคุมรถยกปูน ที่ผู้ควบคุมรถไม่ต้องอยู่ที่เดียวกับรถ ช่วยให้พนักงานที่เข้างานเป็นกะ ไม่อ่อนล้าจนเกินไป นอกจากนี้จะนำไปใช้ในเรื่องอื่นๆ ที่เอสซีจีต้องการพัฒนาต่อๆ ไป ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมอุปกรณ์ที่ใช้ภายในเหมือง หรือในที่ที่เข้าไปถึงได้ยาก ซึ่งจะช่วยในแง่คุณภาพชีวิตของพนักงานได้มาก”

อรรถพงศ์ สถิตมโนธรรม

ด้าน อรรถพงศ์ สถิตมโนธรรม ผู้อำนวยการ โครงการระบบอัตโนมัติและอุตสาหกรรม 4.0 เอสซีจี กล่าวถึงความร่วมมือครั้งสำคัญนี้ว่า เอสซีจีมุ่งปรับเปลี่ยนการดำเนินงานด้านต่างๆ ในทุกกลุ่มธุรกิจ ทั้งซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง แพ็กเกจจิ้ง และเคมิคอลส์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้องค์กรเติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน โดยจัดตั้งคณะทำงานด้าน Mechanization, Automation and Robotics (MARs) และ Industry 4.0 ขึ้น ตั้งแต่ปี 2559 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับกระบวนการผลิตให้เป็นโรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory) ด้วยการนำเทคโนโลยีด้าน MARs และ Industry 4.0 มาผสมผสานกัน โดยใช้เงินลงทุนกว่า 860 ล้านบาท ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2562 จนออกมาเป็นโซลูชันต่างๆ อาทิ การแจ้งเตือนเครื่องจักรก่อนการซ่อมบำรุง (Smart Maintenance) การใช้หุ่นยนต์ในห้องปฏิบัติการด้านการตรวจวัด (Smart Laboratory) การทำระบบจ่ายปูนให้ลูกค้าแบบอัตโนมัติ (Smart Dispatching) และการเชื่อมโยงข้อมูลตลอดห่วงโซ่อุปทานด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อให้ทุกคนเห็นข้อมูลเดียวกันที่ถูกต้องและนำมาวิเคราะห์ให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจ รวมทั้งตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้น

“เอสซีจีให้ความสำคัญกับการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ กับองค์กรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านต่างๆ เพื่อให้การดำเนินงานสามารถประสบความสำเร็จได้ดีและรวดเร็วยิ่งขึ้น สำหรับโครงการการพัฒนารถ Forklift ขับเคลื่อนระยะไกลด้วยเครือข่าย 5G เริ่มดำเนินการที่โรงงานของเอสซีจีใน จ.สระบุรี เป็นแห่งแรก เพราะมีการเคลื่อนย้ายทั้งวัตถุดิบและสินค้าโดยใช้รถ Forklift เพื่ออำนวยความสะดวกจำนวนมาก อีกทั้งรถ Forklift ยังเป็น material mobility ที่ควบคุมได้ง่ายที่สุด ก่อนจะต่อยอดไปทดลองกับเครื่องมืออื่นๆ ในอนาคต ซึ่งจะช่วยตอบโจทย์ของเอสซีจี ทั้งการมีผลิตผลที่มากขึ้น เพราะพนักงานสามารถควบคุมรถจากที่ใดก็ได้ อีกทั้งยังสามารถฝึกอบรมการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆ ให้กับพนักงานที่อยู่ในพื้นที่อื่นๆ ได้โดยไม่ต้องเดินทางไปที่หน้างาน และอาจต่อยอดไปสู่ภาคบริการ เพื่อให้ลูกค้าของเอสซีจีได้รับความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น”

รองศาสตราจารย์ ดร.พีระพงศ์ ทีฆสกุล

รองศาสตราจารย์ ดร.พีระพงศ์ ทีฆสกุล ผู้อำนวยการ โครงการ อินโนเวชั่น ฮับส์ ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยสถาบันวิจัยและนวัตกรรมดิจิทัล ทำงานวิจัยและพัฒนาอย่างใกล้ชิดกับ ภาคเอกชนและภาคอุตสาหกรรม เพื่อร่วมกันศึกษา ทดลอง ทดสอบ เทคโนโลยี 5G ในมิติต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างและพัฒนาเทคโนโลยีให้มีความพร้อมมากที่สุด เพื่อส่งมอบต่อให้กับภาคอุตสาหกรรมนำไปใช้งานได้จริง ส่งเสริมศักยภาพในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม

“งานวิจัยพัฒนานี้ ได้รับทุนสนับสนุนจาก Innovation hub กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เพื่อนำ platform ระบบสมองกลฝังตัวขั้นสูงสำหรับยานยนต์ ผสมกับ ระบบควบคุม latency ต่ำ ผ่านทางไกลบนเครือข่าย 5G เอไอเอส นำไปใช้จริงในภาคการผลิตของอุตสาหกรรมได้ในอนาคต”

แม้จะเป็นการเริ่มต้นใช้งานจริงครั้งแรกในภาคอุตสาหกรรม แต่เชื่อแน่ว่าอีกไม่นาน นวัตกรรม 5G จะขยายสู่อุตสาหกรรมในแต่ละภาคส่วนของประเทศอย่างแน่นอน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า