Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

 

ตั้งแต่ปี 2019 หรือราว 4 ปีแล้วที่ AIS เปิดตัวโครงการตั้งจุดรับทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ชิ้นเล็กตาม AIS Shop สาขาต่างๆ รวมถึงห้างสรรพสินค้า และ AIS ก็จะนำขยะไปกำจัดอย่างถูกวิธี เนื่องจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ ควรแยกและนำไปกำจัดอย่างถูกต้อง 

ซึ่ง 4 ปีที่ผ่านมา AIS สามารถรวมรวมขยะได้เกือบ 4 แสนชิ้น ผ่านจุดรับทิ้ง 2,484 จุด แต่ยังมีขยะอิเล็กทรอนิกส์อีก 4 แสนตันต่อปีในไทย ที่ติดตามได้ยากว่าขยะไปอยู่ที่ไหน ได้รับการกำจัดและแยกชิ้นส่วนอย่างถูกวิธีหรือไม่

ล่าสุด AIS ต่อยอดด้วยการเปิดตัวแอปพลิเคชั่น  E-Waste+  แอปช่วยกระตุ้นให้คนอยากนำขยะอิเล็กทรอนิกส์มาทิ้งให้ถูกวิธี ติดตามสถานะของขยะได้บนบล็อกเชน โดยระบบคำนวณขยะและปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจกที่เราทำได้ จากนั้นก็จะแปลงเป็น Carbon Scores สามารถแชร์ในโซเชียลได้ด้วย

ขยายความอีกนิดคือ E-Waste+ ช่วยให้เห็นการเดินทางของขยะตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง ตั้งแต่ ผู้ทิ้งขยะ (Customers) ผู้รับขยะ (Drop Point Agents) การขนส่ง ไปจนถึงปลายทางโรงงานจัดการขยะ เพื่อเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกวิธี ตามมาตรฐานแบบ Zero Landfill 

Zero Landfill คือการฝังกลบเป็นศูนย์ หรือการที่เราสามารถนำทุกชิ้นส่วนของขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปใช้ต่อได้ทั้งหมด โดยไม่ต้องฝังกลบเลย ซึ่งต้องมีโรงงานและผู้เชี่ยวชาญในการคัดแยก เพราะการฝังกลบมีโอกาสสูงมากที่จะเกิดสารเคมีปนเปื้อนในหน้าดิน และซึมลงในแหล่งน้ำ ซึ่งเป็นเรื่องอันตรายมาก 

วิธีการทำงานของแอปพลิเคชั่นคือ เราสามารถค้นหาจุดรับทิ้งได้ (ตอนนี้ยังมีจำนวนจำกัดแต่ AIS ระบุว่าจะพยายามขยายให้มากขึ้นในอนาคต) เมื่อเจอจุดรับทิ้งแล้วก็แสดง QR Code ในแอป หรือแจ้งหมายเลขโทรศัพท์ จากนั้นรอรับ  Carbon Scores เมื่อขยะได้รับการคัดแยกถูกวิธี ซึ่งมองเห็นจากในแอปได้ตลอดกระบวนการ

นางสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ AIS กล่าวว่า “จากสถานการณ์โลกที่เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิต สิ่งที่ตามมาคือ อุปกรณ์ดิจิทัลมีปริมาณเพิ่มขึ้นมากเช่นกัน ดังนั้นเราจึงทำหน้าที่ 2 ส่วนคือ สร้างการรับรู้และตระหนักถึงโทษภัยของขยะ E-Waste ในขณะเดียวกันก็เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการจัดเก็บและทำลาย E-Wasteอย่างถูกวิธี ทั้งการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ตั้งจุดรับทิ้งและนำไปเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล”

โดยเบื้องต้น AIS มีพาร์ทเนอร์ที่จะเข้ามาใช้แพลตฟอร์ม  E-Waste+ แล้วคือ บริษัท เด็นโซ่ อินเตอร์เนชั่นแนล เอเชีย จำกัด,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, บริษัท เงินติดล้อ จำกัด, ธนาคารออมสิน และธนาคารกสิกรไทย  

ด้าน นายอราคิน รักษ์จิตตาโภค หัวหน้าฝ่ายขับเคลื่อนนวัตกรรม AIS กล่าวเสริมว่า ในการพัฒนาแอปเฟสถัดไป จะสร้างแรงจูงใจให้คนทิ้งขยะให้ถูกวิธีมากขึ้น ผ่านการนำ Carbon Scores มาแลกเป็น AIS Point ได้ และในอนาคตอาจต่อยอดเป็น Carbon Credit ที่เป็นมาตรฐานกลาง ให้บุคคลและองค์กรสร้างรายได้ผ่านวิธีลดการใช้พลังงาน ซึ่งจะเป็น agenda สำคัญขององค์กรใหญ่ทั้งหมด

*หมายเหตุ*  

ประเภทของที่รับในการทิ้งผ่านแอปพลิเคชัน E-Waste+ 

  • โทรศัพท์มือถือ และแท็บเล็ต  
  • อุปกรณ์เสริมมือถือ และแท็บเล็ต เช่น  หูฟัง, ลำโพง, สายชาร์จ, อะแดปเตอร์
  • ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ เช่น คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก,  เมาส์, คีย์บอร์ด, ฮาร์ดดิส, ลำโพง 
  • อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กอื่นๆ เช่น กล้องถ่ายรูป, เครื่องเล่นดีวีดี, จอยเกมส์, วิทยุสื่อสาร, เครื่องคิดเลข, โทรศัพท์บ้าน, รีโมทคอนโทรล, เครื่องเล่น MP3 เป็นต้น

*ยกเว้น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่, พาวเวอร์แบงค์, ถ่านไฟฉายทุกประเภท*  

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า