SHARE

คัดลอกแล้ว

เผยเลขไบนารีบนธนบัตร 50 ปอนด์ แปลงเป็นเลขวันเกิด “อลัน ทัวริง” 

นักเขียน แดน บาร์เกอร์ ได้ชี้ว่าธนบัตร 50 ปอนด์ ลงเลข 1010111111110010110011000 ซึ่งเมื่อแปลงแล้วจะได้ค่า 23061912 ตรงกับวันเกิดของ อลัน ทัวริง ที่เกิดวันที่ 23 มิถุนายน 1912

โดยก่อนหน้านี้มาร์ค คาร์นีย์ (Mark Carney) ผู้ว่าการธนาคารกลางของอังกฤษ ได้ออกมาเปิดเผยว่า อลัน ทัวริง (Alan Turing) นักคณิตศาสตร์ บิดาแห่งวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ และวีรบุรุษผู้ถอดรหัสลับจากฝ่ายเยอรมันได้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 จะเป็นบุคคลสำคัญคนต่อไปที่จะปรากฎบนธนบัตรชนิดราคา 50 ปอนด์ 

โดยธนบัตรบัตรชนิดราคา 50 ปอนด์แบบใหม่ที่ผลิตจากโพลีเมอร์นี้จะถูกพิมพ์มาหมุนเวียนใช้ราวช่วงสิ้นปี 2021 ซึ่งนอกจากจะมีภาพของทัวริงและผลงานของเขาปรากฎบนธนบัตรแล้ว จะมีการนำคำพูดของเขาที่เคยสัมภาษณ์ลงในหนังสือพิมพ์เดอะไทม์สเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 1949 มาลงในธนบัตรด้วยว่า “นี่เป็นเพียงแค่การลิ้มรสก่อนที่จะได้สัมผัสกับสิ่งที่จะตามมา และสิ่งนั้นมันจะเป็นเพียงแค่เงามืดเท่านั้น”

ธนบัตรที่มีรูป อลัน ทัวริง

นอกจากนี้ บนธนบัตรชนิดราคา 50 ปอนด์ใหม่จะประกอบไปด้วยภาพของทัวริงที่ถูกบันทึกไว้เมื่อปี 1951 ซึ่งถูกเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ National Portrait Gallery ตารางสูตรการคำนวณทางคณิตศาสตร์จากเอกสารในปี 1936 ของทัวริง ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของวงการวิทยาศาตร์คอมพิวเตอร์ ภาพวาดแผนผังของเครื่อง British Bombe ที่ใช้ถอดรหัสอีนิกมา (Enigma) ที่ใช้ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ลายเซ็นของทัวริงจากสมุดเยี่ยมที่ Bletchley Park ในปี 1947 สถานที่ที่เขาทำงานช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 พร้อมกับกระดาษม้วนยาวที่ใช้กับเครื่องรับโทรเลขซึ่งระบุวันเกิดของทัวริงคือวันที่ 23 มิถุนายน 1912 ด้วยรหัสไบนารี (Binary code)

ทัวริงถูกเลือกมาปรากฎบนธนบัตรหลังจากที่ได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านวิทยาศาสตร์ในขั้นตอนการสรรหาผู้ที่จะมาปรากฎบนธนบัตรใหม่นี้ โดยในปี 2018 คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านการคัดเลือกบุคคลที่จะมาปรากฎในธนบัตรของธนาคารกลางอังกฤษได้วางแผนที่จะอุทิศพื้นที่บนธนบัตร 50 ปอนด์ให้กับคนในแวดวงวิทยาศาสตร์ ซึ่งเปิดให้สมาชิกส่งรายชื่อคนที่อยากจะให้ปรากฎบนธนบัตรดังกล่าวเป็นเวลากว่า 6 สัปดาห์ด้วยกัน

ซึ่งยอดรวมของรายชื่อที่ทางธนาคารได้รับมีถึง 227,299 ราย โดยมีคนที่ผ่านคุณสมบัติ 989 คน รายชื่อผู้เข้ารอบสุดท้ายจะถูกคัดเลือกโดยคณะกรรมการและก่อนจะเสนอต่อให้ผู้ว่าการธนาคารกลางของอังกฤษเป็นคนตัดสิน 

 ธนาคารกลางอังกฤษได้ออกมากล่าวว่า จากรายชื่อผู้เข้ารอบสุดท้ายได้แสดงให้เราเห็นถึความสำเร็จหลากหลายแขนงของวงการวิทยาศาสตร์อังกฤษได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นดาราศาสตร์ไปจนถึงฟิสิกส์ เคมีถึงบรรพชีวินวิทยา คณิตศาสตร์ถึงชีวเคมี ซึ่งนอกจากทัวริงแล้ว คนที่ถูกเสนอชื่อมาให้คณะกรรมการพิจารณา ได้แก่ สตีเฟน ฮอว์กิง (Stephen Hawking) นักฟิสิกส์ทฤษฎีผู้คิดค้นทฤษฎีหลุมดำกับแนวคิด “รังสีฮอว์กิง”  แมรี แอนนิง (Mary Anning) นักบรรพชีวินวิทยาผู้ค้นพบซากสัตว์ทะเลดึกดำบรรพ์ยุคจูแรสซิก และโรซาลินด์ แฟรงคลิน (Rosalind Franklin) นักเคมีผู้ค้นพบดีเอ็นเอ เป็นต้น

ผู้ว่าการคาร์นี่ย์กล่าวว่า “อลัน ทัวริง เป็นนักคณิตศาสตร์ผู้ปราดเปรื่อง โดยผลงานของเขาได้สร้างแรงกระเพื่อมที่ยิ่งใหญ่ต่อการใช้ชีวิตของเราทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นในฐานะของบิดาแห่งวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ วีรบุรุษจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นการสร้างคุโณปการไว้ให้กับเราอย่างมาก เขาเปรียบเหมือนยักษ์ใหญ่ที่ทำให้เราได้สามารถยืนอยู่บนไหล่ของเขาและทำให้ค้นพบความจริงมากมายจากผลงานที่เขาทิ้งไว้”

นอกจากการที่ทัวริงจะเป็นที่รู้จักจากผลงานการสร้างเครื่องยนต์ที่สามารถถอดรหัสในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จนมีการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ฮอลลีวูด The Imitation Game โดยได้เบเนดิกต์ คัมเบอร์แบตช์ (Benedict Cumberbatch) รับบทเป็นทัวริงแล้ว เขายังมีบทบาทสำคัญในฐานะผู้พัฒนาคอมพิวเตอร์เครื่องแรกขึ้น ณ ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์แห่งชาติ ซึ่งปัจจุบันกลายมาเป็นมหาวิทยาลัยแห่งเมืองแมนเชสเตอร์แล้ว

อีกด้านหนึ่งทัวริงถูกเปิดเผยว่าเป็นพวกรักร่วมเพศและในปี 2014 เขาได้รับการอภัยโทษจากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 จากข้อกล่าวหาว่ามีความสัมพันธ์กับผู้ชายหลังจากที่เสียชีวิตไปนานแล้ว

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า