SHARE

คัดลอกแล้ว

“ผมเป็นคนที่ทำอะไรต้องทำให้สุด ถ้าเราทำอะไรแล้วเรารู้สึกเราทำไม่ได้ อย่าทำเลย ไปหาอะไรที่เราทำแล้วทำให้มันสุดได้ดีกว่า ประโยคเราทำไม่ได้ จะไม่มีอยู่ในหัวเลย จะได้ไม่ได้ไม่รู้ แต่เราจะลุยให้ได้มากที่สุด มันเป็นความคิดที่ทำให้เราประสบความสำเร็จในจุดเล็กๆ มาโดยตลอด”

สัปดาห์ที่ผ่านมาหน้าข่าวสิ่งแวดล้อมของแต่ละคน คงจะพบเห็นข่าวใหญ่ของพะยูนน้อยขวัญใจคนไทยอย่างมาเรียมตาย เพราะขยะพลาสติกเป็นข่าวที่ทำให้หลายคนรู้สึกเศร้าใจ แต่ก็มีข่าวที่ทำให้หลายๆ คนชื่นใจได้บ้าง เป็นข่าวจากสำนักข่าวใหญ่อย่าง CNN เสนอเรื่องราวของนักแสดงไทย ที่ทำงานช่วยเหลือสิ่งแวดล้อม อเล็กซ์ เรนเดลล์

 

เด็กชายอเล็กซ์ วัย 10 ขวบ จุดเริ่มต้นความรักธรรมชาติ

ย้อนกลับไปเมื่อ 19 ปีที่แล้ว เด็กชายอเล็กซ์ที่อายุ 10 ขวบ เดินทางไปเขาใหญ่เพื่อถ่ายรายการ แม้รายการนั้นจะไม่ได้เกิดขึ้น แต่เขากลับได้เจอบางสิ่งแทนเป็นสิ่งที่เขารักและทำให้เขากลายมาเป็น ‘อเล็กซ์’ อย่างทุกวันนี้

“เจอครูกต (ดร.อลงกต ชูแก้ว) พาไปรักษาช้างป่าในป่าจริงๆ ผมก็ตามๆ เขาไปตอนนั้นเด็กก็ไม่ได้คิดไรมาก คิดแค่อุปกรณ์มันเยอะดีได้เดินเข้าไปในป่าเจอสัตว์หลายๆ แบบเป็นเด็กก็สนุกกับสิ่งที่เราเจอตอนนั้นมันกลายเป็นสิ่งที่เราชอบโดยไม่รู้ตัว”

พอได้ไปช่วยช้างป่าได้รู้จักวิธีการ อเล็กซ์ก็ติดใจกลับมาระดมเงินทุนในกองถ่ายเพื่อเอามาช่วยช้างป่าที่ป่วยในช่วงนั้น จนผ่านไปถึงวันที่เขาเรียนจบอเล็กซ์เริ่มมองหาว่า เขาอยากทำอะไรต่อเขาคิดว่าอยากทำอะไรสักอย่างที่เป็นตัวเอง อะไรสักอย่างที่ไม่ใช่แค่การเล่นละคร

“เราอยากจะทำอะไรที่ได้ใช้สิ่งที่เรียนมา มันไม่ใช่แค่รอให้คนอื่นตัดสินใจอนาคตให้เราเหมือนเล่นละคร ต้องรอคนโทรมา ลุ้นตลอดเวลาเรื่องหน้าไปถ่ายที่ไหน เรื่องอะไร เราอยากเป็นคนกำหนดบ้าง”

“เวลาว่างเราจะไปช่วยงานครูกตเราเห็นครูกำลังสอนเด็กประมาณ 10 กว่าคน พาเด็กไปรู้จักกับช้างมันทำให้เราเห็นภาพเราตอนที่เราอายุ 10 ขวบเหมือนเลย” 

ในช่วงเวลาที่กำลังค้นหาสิ่งที่ตัวเองอยากทำ อเล็กซ์ก็ได้ไปช่วยครูกตสอนเด็กๆ เขาเล่าให้ฟังถึงบรรยากาศตอนนั้นว่า เหมือนเข้าไปอยู่ในโลกอีกโลกหนึ่ง โลกของธรรมชาติ แล้วทุกคนที่มาในวันนั้นมาทำค่ายด้วยใจและพวกเขาได้รับความสุขกลับไปจากการช่วยช้างและเด็กที่พิการ

หลังจากกิจกรรมวันนั้น อเล็กซ์ก็ได้ไปร่วมกิจกรรมอื่นๆ เช่นการดำน้ำเขาสัมผัสว่าเด็กๆ ที่มาร่วมกิจกรรมทุกคนมีความรักต่อสิ่งแวดล้อม เป็นความจริงใจทำให้อเล็กซ์ เกิดไอเดียว่า น่าจะสร้างกระบวนการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมแบบนี้ให้เด็กทั่วประเทศไทยได้เรียนรู้ ไม่ว่าจะเด็กเมืองหรือชาวบ้าน ด้วยไอเดียนี้จึงเกิดเป็นโครงการ ECC

“ตอนแรกมีสตาฟอยู่สองสามคนมีผมกับพี่เต้ย แล้วก็ครูกตเป็นที่ปรึกษา” อเล็กซ์เล่าให้ฟังถึงจุดเริ่มต้น

ความคิดในตอนแรกของอเล็กซ์คืออยากทำเป็นค่ายเรียนรู้สิ่งแวดล้อมให้เด็กๆ แต่ปรากฎว่ามันสำเร็จเกินความคาดหมายในระยะสามปีทุกค่ายเต็มเร็วหมด มีบางค่ายที่ผู้ปกครองมาต่อคิวรอกว่า 20 คนเพื่อจะได้เข้าค่าย

 

ECC ศูนย์การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมสำหรับเยาวชน

Environmental Education Centre หรือ ECC เป็นศูนย์การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมโดยพาจะพาเด็กๆ หรือคนที่สนใจไปเรียนรู้ธรรมชาตินอกห้องเรียนใช้ชีวิตในป่าในทะเลไปรู้จักกับวิถีชีวิตของชาวบ้านในพื้นที่เพื่อให้เด็กเรียนรู้ที่จะรักษาและปกป้องธรรมชาติ

“คุยกับคนพื้นที่ขอยืมเรือพาเด็กไปได้ไหมสื่อสารไม่รู้หรอกแต่ก็ให้ขอพาเด็กไปนอนบ้านได้ไหมโอ้โห้รับกันแบบเยอะมาก”

อเล็กซ์เล่าให้ฟังถึงบรรยากาศในค่ายโดยยกตัวอย่างจากค่ายช้างวันแรกจะเป็นการทำความรู้จักก่อนว่าเด็กคนไหนเป็นอย่างไรสังเกตพฤติกรรมของเด็กๆ แต่ละคนว่าพร้อมที่จะไปเรียนรู้หรือไม่ ถึงรุ่งเช้าอเล็กซ์และทีมงานก็พาเด็กๆ ไปดูถิ่นที่อยู่อาศัยของช้าง เสร็จแล้วก็จะพากันไปที่ศูนย์เพื่อไปดูโครงกระดูกช้างรวมถึงฟังนิทานเกี่ยวกับช้าง หลังจากนั้นจะมีกิจกรรมให้เด็กๆ เข้าแล็บโดยให้เด็กไปเก็บมูลช้างมาส่องในกล้องกล้องจุลทรรศน์ว่ามีพยาธิอยู่หรือไม่ ถ้ามีก็สอนให้เด็กให้ยาถ่ายพยาธิกับช้าง เด็กๆ เขาจะช่วยกันรวมเงินสิบบาทยี่สิบบาทเพื่อซื้อยาให้ช้าง วันรุ่งขึ้นก็เอามูลช้างมาตรวจอีกทีว่ายังมีพยาธิหลงเหลือหรือไม่

 

พาเด็กออกมาจากคอมฟอร์ตโซนของตัวเองเพื่อได้เรียนรู้โลกกว้าง

ECC ไม่ใช่ค่ายที่จะไปเที่ยวพักผ่อนสนุกๆ อเล็กซ์นิยามค่ายของเขาว่า ‘ค่อนข้างฮาร์ดคอร์’ ไม่ใช่ทัวร์หรือบริษัทที่พาคนไปเที่ยวแต่เขาพาเด็กไปลำบากไปนอนบ้านในอุทยานค่าย สอนเด็กๆ ในทุกเรื่อง ไม่ใช่แค่เรื่องสิ่งแวดล้อมเด็กจะได้เรียนรู้ทักษะการใช้ชีวิตด้วยแล้วกิจกรรมที่ทำมันสามารถวัดผลได้เลยอย่างการเล่านิทานช้างถูกยิงเด็กจะเกิดความรู้สึกว่าทำไมใจร้ายจังเลยเริ่มที่จะร้องให้จิตใจของเด็กเปลี่ยนไปจากไม่กล้าจับไม่กล้าขี่ช้างตัวใหญ่พวกเขารักมัน

“เล่าแค่นี้มันไม่เห็นภาพต้องพาไปดูค่ายจริงๆสิ่งที่เราทำอยู่มันมีความหมายมากๆผมเชื่ออย่างนั้นเปลี่ยนความคิดจิตใจของเด็กของผู้ใหญ่ได้เปลี่ยนมุมมองของการใช้ชีวิตของคนกับการมาอยู่กับธรรมชาติมีแต่ดีกับดีแต่มันก็เหนื่อยก็ยากนิดหนึ่ง” อเล็กซ์เล่าพร้อมเสียงหัวเราะ

นอกจากนี้อเล็กซ์จะให้เด็กๆ กระจายความรู้ที่ได้ไปยังคนอื่นๆ อย่างค่ายที่พาเด็กไปศึกษาเรื่องเต่ามะเฟืองจะพาเด็กลงไปดำน้ำสัมภาษณ์ชาวบ้านให้เด็กเก็บข้อมูลทั้งหมดไว้ในตระกร้าๆ หนึ่งแล้วให้เขาเอาของที่เก็บมาบอกต่อกับสังคม 

“ปิดโรงหนังที่เอ็มควอเทีย 300 กว่าที่นั่งเพื่อให้คนเข้ามาฟังข้อมูลจากเด็กอายุ 7-13 ขวบเราให้เด็กๆ ทำเปเปอ ร์ทำพรีเซนต์ยิงเข้าจอไอแมกซ์แล้วเด็กก็มานั่งเล่าให้ฟังมันสร้างอิมแพคอะไรบางอย่างส่วนมากนักสิ่งแวดล้อมเขาจะทำงานอยู่เป็นกลุ่มซึ่งก็ทำงานสุดชีวิตกันแต่ว่าเราพยายามเป็นแพลตฟอร์มเอาความารู้ตรงนี้มาสู่สังคม”

 

องค์ความรู้สิ่งสำคัญของการปกป้องสิ่งแวดล้อม

‘องค์ความรู้’ เป็นคำที่อเล็กซ์ย้ำบ่อย เขาคิดว่าถ้าเราอยากจะปกป้องอะไรสักอย่างเราต้องมีความรู้ไม่ใช่มีแค่ใจเพราะที่ผ่านมาคนที่มีใจอย่างเดียวจะไปดูแลอะไรสักอย่างแต่ไม่มีความรู้บางทีกลายไปสร้างภาระให้กับสิ่งๆ นั้น ไม่ว่าจะเป็นแรงกระตุ้นแรงผลักดันหรือแรงบันดาลใจที่ทำให้เด็กลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อปกป้องสิ่ง ล้วนเกิดจากองค์ความรู้ที่เขาได้รับ

“เราไม่ได้สอนให้ชอบปะการัง เราสอนให้รักทะเลผูกพันกับพื้นที่สิ่งที่อยู่รอบตัวเขา ผมอยากให้มันเป็นความทรงจำของเด็ก 10 ขวบที่นึกย้อนกลับมา ก็ยังคงบอกว่าฉันสนุกกับมันมากเลยที่ๆ เราได้ไปเข้าค่ายดำน้ำกับเพื่อนๆ นอนในเรือ ผมเชื่อว่าทุกๆ คนย้อนกลับไปที่เด็ก แล้วมีความสุขกับบางสิ่งบางอย่างมันจะเป็นตัวที่ทำให้เราค้นหาความสุขในอนาคตของเรา” 

อเล็กซ์เคยอ่านเจอว่า บุคลิกในผู้ใหญ่ล้วนเกิดจากประสบการณ์ในวัยเด็ก การปลูกฝังตั้งแต่เด็กให้เขารู้จักที่จะปกป้องธรรมชาติและสามารถส่งความรู้สึกพวกนี้ไปยังพ่อแม่คนรอบข้างสังคม 

 

ตัวตนของ อเล็กซ์ เรนเดลล์ ในวันนี้

ไม่ใช่แค่เด็กเท่านั้นที่เปลี่ยนแต่อเล็กซ์เองก็เปลี่ยนไปจากที่เป็นลูกคนเล็กได้รับความเอาใจใส่ใช้อารมณ์เป็นที่ตั้ง แต่มาพอเขาได้มาคลุกคลีอยู่กับเด็กๆ ความคิดของอเล็กซ์ก็เปลี่ยนไป 

“เรารู้สึกว่าแคร์สิ่งเล็กๆ มากขึ้น เด็กๆ สอนให้เราได้ความคิดใสๆ ของเขา มันสอนให้เห็นว่าความจริงใจเป็นสิ่งที่สำคัญมากกับคนรอบตัวเรา การพยายามจะเป็นอะไรที่ไม่ใช่เรา มันจะส่งผลลบกับจิตใจของเรา” 

กระแสอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสำหรับอเล็กซ์เขามองว่า ในสังคมไทยยังคงเป็นกระแสรอง คนให้ความสำคัญเมื่อเกิดปัญหาเป็นเรื่องที่เข้าใจได้เพราะไม่ใช่ว่าทุกคนจะรักป่ารักต้นไม้เหมือนกันหมด 

“เราไม่อยากไปออกความคิดเห็นทั้งสิ้น เราไม่สอนให้เด็กไปสู้กับใคร ไปประท้วงใคร เราโกรธเสียใจแต่พยายามมองอีกมุมหนึ่ง มันมีหลายองค์ประกอบจะให้คนเราเอาเหล็กมาแปรงฟันมันก็ไม่ได้ ก็ต้องใช้พลาสติกแต่มันเป็นเรื่องของการจัดการกับขยะตรงนั้น”

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงมาก มีจุดดำน้ำที่ติดอันดับโลกอเล็กซ์ เชื่อว่า ถ้ามีระบบการจัดการที่ดีซึ่งได้มาจากการเรียนรู้จะช่วยรักษาทรัพยากรได้มากขึ้น

“ให้ลองนึกภาพนักท่องเที่ยวอยู่เต็มชายหาด อีกด้านหนึ่งมีเด็กๆ ของเราใส่ชูชีพเดินเรียงแถวเตรียมของไปทำงานปกป้องทะเล” อเล็กซ์พูดด้วยความหวังในเรื่องสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า