SHARE

คัดลอกแล้ว

สื่อมวลชนทำเนียบรัฐบาล เริ่มตั้งฉายาให้กับรัฐบาลและคณะรัฐมนตรี ตั้งแต่ปี 2523 ในสมัยรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ที่เริ่มด้วยการจัดอันดับ โดย พล.อ.เปรม ได้ตำแหน่ง รัฐมนตรีที่น่าเบื่อที่สุด เพราะไม่ค่อยยอมแสดงความคิดเห็นหรือให้ข่าว ขณะที่คำขวัญประจำปี คือ คำกล่าวของ พล.อ.เปรม ที่พูดกับผู้สื่อข่าวว่า “กลับบ้านเถอะลูก” เวลาที่ไม่ต้องการให้ข่าว จนปี 2526 จึงเปลี่ยนจากการจัดอันดับมาเป็นการตั้งฉายาควบคู่ไปด้วย ซึ่งยังอยู่ในช่วงที่ พล.อ.เปรม เป็นนายกรัฐมนตรีและได้ ฉายา “ขวัญใจชนบท” จากความพยายามในการแก้ปัญหาความยากจน

ส่วนฝั่งสภาผู้แทนราษฎร เริ่มตั้งฉายาตามมาในภายหลัง และได้กลายเป็นธรรมเนียมที่ช่วงปลายปีทั้งสื่อมวลชนประจำทำเนียบรัฐบาล และสื่อมวลชนประจำรัฐสภา จะประกาศฉายาคนการเมืองออกมา

อย่างไรก็ตามบางปีอาจจะมีการเว้นวรรค เพราะรัฐบาลเข้ามาทำหน้าที่ไม่นาน หรือเป็นช่วงใกล้การเลือกตั้งก็จะงดเพื่อไม่ให้มีผลได้ผลเสีย หรือช่วงสถานการณ์ทางการเมืองไม่ปกติ โดยช่วงที่เว้นวรรคนานที่สุด คือยุคปัจจุบัน ที่มีการเว้นวรรคการตั้งฉายารัฐบาลและรัฐมนตรีมาตั้งแต่ปี 2556 ด้วยเหตุผล ไม่ตั้งฉายารัฐบาลที่มาจากรัฐประหาร ดังนั้น แม้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะดำรงตำแหน่งมาถึง 5 ปี แต่ยังไม่เคยได้รับการตั้งฉายาจากสื่อมวลชนประจำทำเนียบรัฐบาล

จนปลายปี 2562 เมื่อกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้ง จะมีการตั้งฉายาให้ พล.อ.ประยุทธ์ และรัฐบาลประยุทธ์ 2 เป็นครั้งแรก

หากย้อนดูฉายาคนการเมืองที่ยังมีบทบาทในปัจจุบัน จะพบว่าด้านหนึ่งคือ บทบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น แม้อีกด้านจะมีผู้ไม่เห็นด้วยก็ตาม

สื่อมวลชนประจำทำเนียบรัฐบาลให้ฉายา
.
ปี 2536 “จอมฟุตเวิร์ก” จากลีลาการทำงานที่ถูกวิจารณ์ว่าเชื่องช้า ยึดติดกับหลักการทำให้การตัดสินใจไม่ทันใจ เมื่อเกิดความขัดแย้งมักเลือกใช้การปล่อยให้เดินไปตามขั้นตอน หรือให้รัฐมนตรีที่รับผิดชอบเป็นผู้ตัดสินใจเอง
.
ปี 2542 “นายประกันชั้นหนึ่ง” มาจากการที่รัฐบาลมักเอาคุณสมบัติเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตมาการันตี โดยเฉพาะช่วงที่ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ ขณะที่รัฐบาลในขณะนั้นก็ได้ฉายาว่า “รัฐบาลชวนเชื่อ”

สื่อมวลชนประจำทำเนียบรัฐบาลให้ฉายา
.
ปี 2544 “เศรษฐีเหลิงลม” หลังพ้นข้อกล่าวหาซุกหุ้น ได้แสดงออกว่าต้องการบริหารประเทศ 8 ปี มีการใช้อำนาจอย่างมั่นใจ หากถูกวิพากษ์วิจารณ์หรือติติง มักจะตอบโต้ด้วยท่าทีแข็งกร้าวและฉุนเฉียว นอกจากนั้นการได้ควบคุมอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จทั้งในและนอกสภาผู้แทนราษฎร ทำให้มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง คล้ายๆ คนที่กำลังเหลิงในอำนาจที่ตนเองมีอยู่
.
ปี 2545 “เทวดา” จากสไตล์เชื่อมั่นในตนเองสูง หากใครท้วงติงมักจะถูกตอบโต้กลับอย่างรุนแรง ว่าไม่มีความรู้ ขาดความเข้าใจ เสมือนเป็นเทวดาที่ยึดติดความคิดตนเองที่ถูกต้องเพียงผู้เดียว
.
ปี 2546 “นายทาส” เป็นผู้ประกาศปลดปล่อยประชาชนให้พ้นจาก “พันธนาการ” ความยากจน ยาเสพติด ผู้มีอิทธิพล และพ้นจากทาสไอเอ็มเอฟ แต่กลับนำกลไกของรัฐมาสร้างพันธนาการใหม่ให้กับประชาชนด้วยนโยบาย “ก่อหนี้” ทุกรูปแบบ ทั้งยังส่งเสริมระบบเศรษฐกิจใต้ดินขึ้นมาบนดิน เปรียบประหนึ่งว่ากำลังสนับสนุนค่านิยมเสี่ยงโชค อาจส่งผลให้ประชาชนต้องตกเป็นทาสการพนันไปในที่สุด
.
ปี 2547 “ผู้นำจานด่วน”

ปี 2548 “พ่อมดมนต์เสื่อม”

สื่อมวลชนประจำทำเนียบรัฐบาลให้ฉายา
.
ปี 2552 “หล่อหลักลอย” ภาพลักษณ์ดี หน้าตาดี การศึกษาดี จึงมีแม่ยกเป็นจำนวนมาก มักประกาศจุดยืนและหลักการด้านประชาธิปไตย เมื่อรับตำแหน่งได้ประกาศกฎเหล็ก 9 ข้อให้ ครม. มีความรับผิดชอบทางการเมืองมากกว่าความรับผิดชอบทางกฎหมาย แต่เมื่อรัฐมนตรีบางคนมีปัญหาเรื่องข้อกฎหมาย หรือมีปัญหาเรื่องความไม่โปร่งใส กลับไม่ได้แสดงความรับผิดชอบทางการเมือง นั่นเท่ากับไม่สามารถกำกับให้กฎเหล็กมีผลใช้บังคับได้ หลักที่เคยประกาศไว้จึงเหมือนคำพูดที่เลื่อนลอย ไม่เป็นไปตามหลักการที่วางไว้
.
ปี 2553  “ซีมาร์คโลชั่น” ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจโลก วิกฤติความขัดแย้งทางสังคมทั้งระดับประเทศ ลงไปถึงระดับครอบครัว เปรียบเสมือนผู้ป่วยหนักที่ต้องการยารักษาโรคให้หายขาด บางปัญหาต้องทำการผ่าตัด-ปรับโครงสร้าง-เปลี่ยนอวัยวะ สังคมคาดหวังว่านายกฯ จะเข้ามาแก้ไขปัญหาและรักษาอาการของประเทศได้ แต่ผลการปฏิบัติหน้าที่ของนายกฯ ยังทำได้ผลเพียงการบรรเทาโรค เปรียบเสมือนการใช้ “ซีม่าโลชั่น” ทาแก้คันเท่านั้น

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อปี 2554 และผ่านการตั้งฉายาจากสื่อมวลชน 2 ครั้ง
.
ปี 2554 “นายกฯ นกแก้ว” มาจากความสวยที่โดดเด่น ดุจดั่งนกแก้วที่มีสีนสวยงาม แต่กลับไม่สามารถบินไปไหนมาไหนได้ด้วยตัวเอง ต้องมีพี่เลี้ยงคอยดูแลตลอด ได้แค่พูดตามบทที่เขียนไว้เท่านั้น โดยที่ไม่ทราบข้อเท็จจริงอะไรและพูดผิดพูดถูกอยู่ตลอด
.
ปี 2555 “ปูกรรเชียง” มาจากชื่อเล่นคือ “ปู” ซึ่งมีลักษณะ เดินเซไปเซมา ไม่ตรงทาง ในการบริหารงานของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ที่ต้องแบกภาระ และใบสั่งจากพี่ชายชื่อทักษิณ พี่สาว (เจ๊ ด.) แม้แต่คนรอบข้างก็คอยลากไปลากมา ทำงานไม่เห็นผลงานที่เป็นรูปธรรม ได้แต่เดินโชว์ไปโชว์มา เมื่อมีปัญหาทางการเมือง ก็มักจะตีกรรเชียง ลอยตัวหนีปัญหา

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่มีฉายาตลอด 5 ปีที่ผ่านมา แต่ปีนี้จะได้รับฉายาเป็นปีแรก

 

สำหรับฉายาคนการเมือง ในฝั่งทำเนียบรัฐบาล ปี 2562 นี้ มีรัฐมนตรีหลายคนที่อยู่ในข่ายได้รับการตั้งฉายาจากสื่อมวลชน ซึ่งบางคนเคยเป็นรัฐมนตรีและเคยได้รับฉายามาก่อนหน้านี้ แต่อาจจะไม่เป็นที่จดจำมากนัก

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เคยได้รับฉายา ป้อมพลัง “ป” ในปี 2552 สมัยเป็น รมว.กลาโหม ในรัฐบาล “อภิสิทธิ์”  จากการได้รับความเกรงใจจากคนในรัฐบาลอย่างมาก สามารถผ่านเมกะโปรเจคต์ของกองทัพอย่างง่ายดาย เนื่องจากมีพลัง อิทธิพล และบารมีของคนชื่อ “ป. ปลา” แห่งกองทัพเป็นป้อมปราการค้ำบัลลังก์และป้องกันภัยทางการเมือง ขณะที่ปี 2553 ได้ฉายา ป้อมทะลุเป้า เพราะสร้างผลงานได้ทะลุเป้าในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการกุมอำนาจในฝ่ายความมั่นคง การปฏิบัติการกระชับพื้นที่ชุมนุมย่านราชประสงค์ การขออนุมัติใช้งบของกองทัพทั้งงบลับ-งบแจ้งที่ถูกครหาว่าสูงเป็นประวัติการณ์ การได้รับอนุมัติจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์จากรัฐบาลทุกรูปแบบ

.

ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรและสหกรณ์ เป็นรัฐมนตรีครั้งแรก แต่ด้วยความโดดเด่นจะเป็น 1 คนที่ได้รับฉายาแน่นอน

.

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เคยได้รับฉายา “เนติบริกร” เมื่อปี 2545 สมัยร่วมรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร โดยสื่อมวลชนระบุว่า มาจากการใช้ความสามารถทางกฎหมายพลิกแพลงให้รัฐบาลมีความชอบธรรมและได้เปรียบจากฝ่ายที่เห็นต่าง

 

ดาวเด่นฝั่งสภาปีนี้มีหลายคน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นคนหน้าใหม่ เช่น นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ หรือ นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคไทยศรีวิไลย์ รวมไปถึง ส.ส.หน้าเก่าแต่เพิ่งมีบทบาทโดดเด่นอย่าง น.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ ส.ส.ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ

ซึ่งต้องติดตามว่าเขาและเธอเหล่านี้จะได้ฉายาอะไรและจะโดนใจคอข่าวที่ติดตามหรือไม่

 

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า