SHARE

คัดลอกแล้ว

เป็นที่ยอมรับของนักวิชาการทั่วโลกว่า วิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2019 หรือ โควิด-19 สร้างผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อวิถีชีวิต เศรษฐกิจ สังคมทุกภาคส่วน ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ การศึกษาของเด็กทั่วโลก

ข้อมูลจากสถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) คาดการณ์ไว้ว่า ผลกระทบจากโควิด-19 จะทำให้เด็กไทย มีระดับความเหลื่อมล้ำต่อความรู้ระหว่าง กลุ่มเด็กรวย และกลุ่มเด็กยากจน สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเป็นผลมาจากการเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาที่แตกต่างกัน

ปัจจัยอันดับหนึ่งคือ สภาวะการเงินของครอบครัว ที่จะเป็นตัวบ่งชี้ว่าเด็กในกลุ่มที่บ้านมีเงิน จะมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาในช่วงวิกฤตการณ์โควิด-19 ได้มากกว่า นอกจากนี้ สถานการณ์โควิด-19 ยังส่งผลให้เกิดปัญหาด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาตามมาด้วย เช่น ปัญหาด้านอารมณ์ จิตใจ พบว่ามีเด็กและวัยรุ่น ร้อยละ 40 จากทั่วโลก ที่มีปัญหาทางอารมณ์ จิตใจ จากการล็อกดาวน์ การไม่ได้ไปเจอเพื่อน การต้องอยู่กับความเครียด เนื่องจากโรคและวิกฤตเศรษฐกิจสูงขึ้น เป็นต้น

จากปัญหาดังกล่าว กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หรือ กสศ. ร่วมกับ กระทรวงศึกษาธิการ, กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, กระทรวงมหาดไทย, UNESCO, UNICEF และ savethechildren จัดประชุมวิชาการนานาชาติ “เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ปวงชนเพื่อการศึกษา” เนื่องในโอกาสครบรอบ 30 ปี ปฏิญญาจอมเทียน ซึ่งเป็นการระดมความคิดของผู้เชี่ยวชาญที่มีอิทธิพลต่อวงการศึกษาทั่วโลก มาร่วมกันหาทางออกถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา หลังวิกฤตโควิด-19

ประธานอนุกรรมการกำกับทิศทางโครงการการจัดประชุม วิชาการนานาชาติเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา: ปวงชนเพื่อการศึกษา ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ระบุว่า การประชุมครั้งนี้เป็นความท้ายทายครั้งใหม่ของวงการศึกษาทั่วโลกที่ทำให้เห็นว่า จริงๆ แล้วความเหลื่อมล้ำทางการศึกษายังมีอยู่มากในโลกใบนี้ โดยเฉพาะหลังวิกฤตการณ์โควิด-19 ยิ่งทำให้เห็นว่าช่องว่างทางการศึกษาเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ดังนั้น ทุกฝ่ายทั่วโลกต้องช่วยกันเปลี่ยนแปลง ร่วมกันยกระดับความเสมอภาคทางการศึกษาด้วยการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ การปรับปรุงแก้ไขกรอบกฎหมาย นำเทคโนโลยี นวัตกรรมการเงินการคลัง และการเก็บข้อมูลสารสนเทศช่วยให้เด็กๆ เข้าถึงการศึกษามากขึ้น

ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานอนุกรรมการกำกับทิศทางโครงการการจัดประชุมวิชาการนานาชาติฯ

“แนวทางใหม่ที่สำคัญคือ เราต้องช่วยกันทำให้การศึกษาไปถึงเด็ก ไม่ว่าพวกเขาจะมีปัญหาและความต้องการอะไรในทุกสภาพสังคม ไม่ใช่ให้เด็กต้องเข้าหาการศึกษาอย่างในอดีต หรือต้องไปโรงเรียนเท่านั้นถึงจะได้รับการศึกษา นี่เป็นการเปลี่ยนมโนทัศน์ครั้งใหม่ที่จะช่วยสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาให้เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลาเช่นกัน” ดร.กฤษณพงศ์ กล่าว

นายอิชิโร่ มิยาซาวะ ตัวแทนองค์กรยูเนสโกประจำประเทศไทย อธิบายข้อมูลเกี่ยวกับการที่เด็กหลุดออกจากระบบการศึกษาในระดับชั้นประถมฯ และมัธยมฯ ต้น ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมาว่า ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้น ถึงแม้จะมีความพยายามของทุกภาคส่วนในการแก้ปัญหา ยิ่งเมื่อได้รับผลกระทบจากโควิด-19  ยิ่งพบว่ามีอัตราเด็กหลุดออกจากระบบการศึกษามากขึ้นไปอีก การแก้ปัญหานี้จึงต้องหยุดทำงานในรูปแบบเดิมที่เคยทำมา ต้องคิดใหม่และทำใหม่เพื่อให้เด็กๆ ได้รับการช่วยเหลืออย่างดีที่สุด

นายอิชิโร่ มิยาซาวะ ตัวแทนองค์กรยูเนสโกประจำประเทศไทย

“การพูดคุยกันอย่างเดียวก็ไม่เพียงพอ จะต้องมีกฎหมาย มีพระราชบัญญัติที่ออกมาอย่างชัดเจน และที่สำคัญต้องมีงบประมาณที่ลงทุนกับเรื่องนี้อย่างคุ้มค่า มีความคิดสร้างสรรค์และเป็นนวัตกรรมด้วย ซึ่งเครือข่ายความร่วมมือต้องช่วยกันคิดว่า ถ้างบประมาณไม่มาก จะทำอย่างไรให้เกิดนวัตกรรมที่สร้างสรรค์ได้จริง ต้องวัดผลได้ว่ามีความสำเร็จอะไรเกิดขึ้น ต้องสร้างความเสมอภาคและสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เห็นผ่านฐานข้อมูลและสถิติให้ได้” ตัวแทนองค์กรยูเนสโกประจำประเทศไทย กล่าว

รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นางสาวดุริยา อมตวิวัฒน์ เปิดเผยว่า ที่ประชุมมีความเห็นร่วมกันเรื่องการศึกษาเพื่อปวงชน ความเสมอภาคทางการศึกษา ถือเป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วมพัฒนาคุณภาพการศึกษา รวมถึงพัฒนาครู ซึ่งการแพร่ระบาดของโควิด-19 ไม่มีผลกระทบต่อการประกาศเจตนารมณ์ แต่กลับจะเป็นตัวเร่งให้เห็นภาพการแก้ไขปัญหาความเสมอภาคทางการศึกษาให้ตรงจุดมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องเทคโนโลยีที่บีบให้ทุกคนต้องปรับตัวในอนาคต ไม่ว่าจะมีผลกระทบจากโควิด-19 รอบสองหรือไม่ กระทรวงศึกษาธิการเตรียมรับมือไว้แล้ว

นางสาวดุริยา อมตวิวัฒน์ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

“การได้แบ่งปันข้อมูลด้านต่างๆ ร่วมกัน ก่อให้เกิดพันธมิตรใหม่ สามารถร่วมมือกันแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในระยะยาวได้ ส่วนผลสรุปจากการประชุมวิชาการจะเป็นกลไกสำคัญที่จะนำไปเสนอในที่ประชุมการศึกษาโลก (Asia and Pacific Regional Bureau for Education) ที่จะเกิดขึ้นในปี 2564 ซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุม” รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าว

ขณะที่ นายโธมัส ดาวิน ผู้แทนองค์การยูนิเซฟประจำประเทศไทย ยอมรับว่า หากจะแก้ไขปัญหาทั้งหมดนี้ เราต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการทางการศึกษา เพราะรูปแบบในปัจจุบันนี้ไม่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงในเวลาอันรวดเร็วตามที่เราต้องการ เพื่อให้ถึงเป้าหมายของ SDG4 ได้ โดยต้องยอมรับว่าเราไม่สามารถให้คำตอบได้กับทุกปัญหา ต้องทำงานร่วมกันเป็นเครือข่าย เพื่อช่วยหาคำตอบไปพร้อมๆ กัน

นายโธมัส ดาวิน ผู้แทนองค์การยูนิเซฟประจำประเทศไทย

“สถานการณ์โควิด-19 จะมีผลกระทบกับเศรษฐกิจ และกระทบต่อการหางานของคนรุ่นใหม่ ยูนิเซฟตระหนักว่าการลงทุนในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลหรือทรัพยากรมนุษย์ เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นมากกว่าสิ่งอื่นใด ไม่มีห้วงเวลาไหนสำคัญไปกว่าตอนนี้แล้ว ที่เราจะต้องทำงานร่วมกัน เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในระบบการศึกษา”

ด้าน นายชิเงรุ อาโอยากิ ผู้อำนวยการยูเนสโกประจำประเทศไทย กล่าวว่า จากสถิติที่ผ่านมาพบว่าเด็กเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาน้อยลง ยิ่งเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ยิ่งทำให้เด็กเหล่านี้หลุดออกนอกระบบการศึกษามากยิ่งขึ้น จากปัญหาทั้งหมด ขอเสนอแนวทางแก้ปัญหา จาก 4 ปัจจัยหลัก ได้แก่

  1. มีกฎหมายหรือข้อบังคับเพื่อให้เด็กทุกคนได้เข้าถึงการศึกษาอย่างเสมอภาค
  2. มีทุนการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำโดยเฉพาะ
  3. มีสื่อการสอนที่มีประสิทธิภาพ
  4. มีฐานข้อมูลที่ถูกต้อง มีคุณภาพและแม่นยำ เพื่อนำเงินทุนที่มีไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

นายชิเงรุ อาโอยากิ ผู้อำนวยการยูเนสโกประจำประเทศไทย

ขณะนี้มีภาคีเครือข่ายร่วมทำงานกับยูเนสโกแล้ว 9 ประเทศ ได้แก่ ฟินแลนด์ เกาหลีใต้ อเมริกา นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น ไทย อังกฤษ แคนาดา มาเลเซีย และยังมีองค์กรระดับนานาชาติที่ร่วมทำงานเพื่อแก้ปัญหาการศึกษาที่ไม่เท่าเทียม

นพ.สุภกร บัวสาย ผู้จัดการ กสศ. กล่าวว่า การประชุมนี้ถือเป็นจุดเริ่มสำคัญที่เครือข่ายและบุคลากรทางการศึกษาจะนำข้อมูลไปใช้พัฒนาการศึกษาของประเทศตน เพราะหากย้อนไป 10 ปีที่แล้ว ไทยมีปัญหาเรื่องการศึกษาที่ไม่เท่าเทียม เราจึงพยายามใช้ข้อมูลและนวัตกรรมในการแก้ปัญหามาโดยตลอด โดยมุ่งช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายที่เข้าไม่ถึงการศึกษาเป็นกลุ่มแรก จนสามารถช่วยเหลือเด็กๆ ให้เข้าถึงการศึกษาได้จำนวนมาก

นพ.สุภกร บัวสาย ผู้จัดการ กสศ.

“วันนี้หลายประเทศเริ่มแก้ปัญหาความเสมอภาคทางการศึกษาได้ดีขึ้น แต่ผมมองว่า หากในอนาคต ทุกคนต่างมุ่งหวังที่จะให้ความเสมอภาคทางการศึกษาเกิดทั่วทั้งโลก จึงควรนำฐานข้อมูลที่แต่ละประเทศมีอยู่แล้วมาพัฒนา แลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน สร้างเครือข่ายในระดับนานาชาติ ซึ่ง กสศ.เองได้ร่วมกับกลุ่มประเทศอาเซียน จัดตั้งเป็นกองทุนกลางเพื่อทำงานร่วมกัน และเชื่อมโยงเครือข่ายในประเทศอื่นๆ ได้ในอนาคต” ผู้จัดการ กสศ. กล่าว

การประชุมวิชาการนานาชาติ “เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ปวงชนเพื่อการศึกษา” เนื่องในโอกาสครบรอบ 30 ปี ปฏิญญาจอมเทียน ถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญ ที่เครือข่ายและบุคลากรทางการศึกษาจะนำข้อมูลไปใช้พัฒนาการศึกษาของประเทศตัวเอง กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หรือ กสศ. ตั้งเป้าหมายไว้จะเป็นหนึ่งในองค์กรที่ร่วมแบ่งปันความรู้การทำงาน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำให้กับอีกหลายประเทศ เพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของเด็กทั่วโลก

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า