SHARE

คัดลอกแล้ว

อลิอันซ์เผยแพร่ “Allianz Global Wealth Report” ฉบับที่ 14 วิเคราะห์สถานการณ์สินทรัพย์และหนี้สินของครัวเรือนในเกือบ 60 ประเทศ ระบุปี 2566 เป็นปีที่ย่ำแย่

โดยในปี 2565 เป็นปีที่ไม่ดีสำหรับผู้มีเงินออม ราคาสินทรัพย์ลดลงทุกกลุ่มภายใต้ในสถานการณ์ที่อาจเรียกได้ว่า “ทุกอย่างตกต่ำ” สินทรัพย์ทางการเงินของครัวเรือนทั่วโลกลดลงถึง 2.7% ซึ่งถือว่าลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่วิกฤตการณ์การเงินโลกในปี 2551

อัตราการเติบโตของสินทรัพย์หลักทั้งสามประเภทแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็น หลักทรัพย์ (-7.3%) และประกันภัย/บำนาญ (-4.6%) หดตัวอย่างมาก ในขณะที่เงินฝากธนาคารเติบโตอย่างแข็งแกร่งที่ 6.0% ความสูญเสียโดยรวมเท่ากับสินทรัพย์ทางการเงินมูลค่า 6.6 ล้านล้านยูโร สินทรัพย์ทางการเงินรวมอยู่ที่ 233 ล้านล้านยูโร ณ สิ้นปี 2565 63.9 ล้านล้านยูโรหรือ 27% อยู่ในภาคครัวเรือนในเอเชียส่วนประเทศไทยมีการเติบโตในระดับปานกลาง

สินทรัพย์ทางการเงินรวมของครัวเรือนไทยเพิ่มขึ้นเพียง 2.1% ในปี 2565 ซึ่งต่ำกว่าการเพิ่มขึ้น 9.7% ในปีก่อนอย่างเห็นได้ชัด สาเหตุหลัก คือ การลดลงของสินทรัพย์ต่างๆ อาทิ สินทรัพย์ประกัน/บำนาญ ซึ่งสูญเสียมูลค่ากว่า 3.5% เป็นการลดลงครั้งแรกในศตวรรษนี้ หลักทรัพย์ก็น่าผิดหวังเช่นกัน โดยเติบโตลดลงจาก 26.4% (2564) เป็น 3.1% ในปีที่แล้ว

อย่างไรก็ตาม เงินฝากธนาคารซึ่งมีส่วนแบ่งพอร์ตการลงทุนมากกว่า 50% และเป็นประเภทสินทรัพย์หลักในประเทศไทยยังทรงตัว โดยเติบโตขึ้น 3.6% (2564: 4.0%) เมื่อเทียบกับปีก่อนเกิดโรคระบาดในปี 2562 สินทรัพย์ทางการเงินสูงขึ้น 20.8% แต่เป็นในเชิงตัวเลขเท่านั้น เมื่อปรับตามอัตราเงินเฟ้อแล้ว การเพิ่มขึ้นจะลดลงเฉลี่ย 13.5% ในสามปี

ในขณะที่การเติบโตของหนี้สินชะลอตัวลงเล็กน้อยเป็น 3.7% เทียบกับ 3.9% ในปี 2564 จึงทำให้อัตราส่วนหนี้สินต่อ GDP ลดลง 3 จุด อยู่ที่ 87% ซึ่งยังคงสูงกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคที่ 26 จุด โดยสินทรัพย์ทางการเงินสุทธิเกือบจะทรงตัว (+0.5%) ด้วยสินทรัพย์ทางการเงินสุทธิต่อหัวที่ 5.11 พันล้านยูโร ทำให้ประเทศไทยวันนี้ยังคงอยู่ในอันดับที่ 45 ในการจัดอันดับประเทศที่ร่ำรวยที่สุด

ด้านอเมริกาเหนือมีอัตราการเติบโตลดลงมากที่สุด หรือลดลง 6.2% ตามมาด้วยยุโรปตะวันตก (4.8%) ในทางกลับกัน เอเชียยังคงมีอัตราการเติบโตที่ดี โดยค่าเฉลี่ยของภูมิภาคอยู่ที่ 4.6% ในปี 2565 เทียบกับ 10.2% ในปี 2564 แม้แต่ญี่ปุ่นยังมีอัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าจะเล็กน้อยมาก (0.2%)

ในทางตรงกันข้าม ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่อย่างอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์มีการเติบโตเป็นเลขสองหลัก สินทรัพย์ทางการเงินของจีนเติบโตอย่างแข็งแกร่งเช่นกัน โดยสูงถึง 6.9% แต่ในปีที่แล้วสูงขึ้น 13.3% และมีค่าเฉลี่ยระยะยาวในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 15.9% ถือเป็นการเติบโตที่ค่อนข้างน่าผิดหวัง โดยเป็นผลจากการล็อกดาวน์หลายครั้ง

แม้จะขาดทุนอย่างหนัก แต่สินทรัพย์ทางการเงินในครัวเรือนทั่วโลกยังคงสูงกว่าช่วงก่อนโควิด 19 เกือบ 19% ณ สิ้นปีที่แล้ว ในเชิงตัวเลข เมื่อปรับตามอัตราเงินเฟ้อ เกือบสองในสามของการเติบโต (เชิงตัวเลข) ได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของราคา และส่งผลให้การเติบโตที่แท้จริงลดลงเหลือเพียง 6.6% ภายในสามปี

ในขณะที่ภูมิภาคส่วนใหญ่ของโลกสามารถรักษาอัตราการเติบโตได้อย่างแท้จริง ยุโรปตะวันตกไม่ได้เป็นเช่นนั้น โดยกำไรที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยไม่ได้มีความหมายอะไรเลย และความมั่งคั่งที่แท้จริงลดลง 2.6% เมื่อเทียบกับปี 2563 เอเชียมีการเติบโตที่แท้จริงเกือบ 20% ในช่วงสามปี จากอัตราเงินเฟ้อที่ลดลง ไม่เว้นแม้กระทั่งในจีนและญี่ปุ่น

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า