SHARE

คัดลอกแล้ว

หลายคนคงรู้ว่า นับตั้งแต่เริ่มต้นสงครามการค้าระหว่าง ‘สหรัฐอเมริกา’ และ ‘จีน’ ในปี 2018 ปัญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างสองประเทศนี้ก็ยังคงดำเนินอยู่ ทำให้ผู้ผลิตทั่วโลกจำเป็นจะต้องมองหา ‘แหล่งผลิตใหม่’ จากพื้นที่อื่นๆ ในเอเชีย แทนที่ ‘จีน’ ที่มีความสามารถในการเป็นศูนย์กลางการส่งออกแบบที่ไม่มีประเทศใดในเอเชียเทียบได้

แต่หากนับหลายประเทศรวมกันก็มีกลุ่มประเทศในเอเชียที่มีความสามารถในการแข่งขันทัดเทียมจีนได้

โดยกลุ่ม ‘ฐานการผลิตทางเลือก’ ในเอเชียถูกเรียกว่า ‘Altasia’ หรือ ‘อัลเทเชีย’ ที่ย่อมาจาก the alternative Asian supply chain หรือ ‘ห่วงโซ่อุปทานทางเลือกของเอเชีย’

อันหมายถึง กลุ่มประเทศที่เป็นแหล่งผลิตที่มีศักยภาพในเอเชีย ซึ่งถูกจับตามองว่า เมื่อนับรวมกันแล้วจะมีความสามารถในการแข่งขันหรือทดแทนการผลิตจากจีนได้ โดยนับรวม 14 ประเทศในเอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียใต้

ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน อินเดีย บังคลาเทศ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และบรูไน

โดยทาง The Economist ได้เปรียบเทียบศักยภาพในการแข่งขันในฐานะประเทศฐานการผลิตทางเลือกกับจีน

ด้านการส่งออก กลุ่มประเทศ ‘อัลเทเชีย’ ส่งออกสินค้ามูลค่า 6.34 แสนล้านดอลลาร์ไปยังสหรัฐอเมริกา มากกว่าจีนที่ส่งออกสินค้ามูลค่า 6.14 แสนล้านดอลลาร์ไปยังสหรัฐฯ แต่ ‘จีน’ โดดเด่นด้านการส่งออก ‘สินค้าอิเล็กทรอนิกส์’ ที่กลุ่มประเทศอัลเทเชียทำได้ไม่ดีเท่า

ด้านจำนวนกำลังแรงงาน กลุ่มประเทศ ‘อัลเทเชีย’ มีจำนวนกำลังแรงงาน 1,403 ล้านคน มากกว่า ‘จีน’ ที่มีกำลังแรงงาน 950 ล้านคน ขณะที่หากเปรียบเทียบผู้ใหญ่วัยทำงานที่จบระดับอุดมศึกษาหรือกลุ่มแรงงานมีฝีมือ จะอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน กลุ่มประเทศ ‘อัลเทเชีย’ มีจำนวน 155 ล้านคน ส่วน ‘จีน’ มีจำนวน 145 ล้านคน

ด้านดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์ (ล่าสุดจากธนาคารโลกในปี 2018) ที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพในงานที่เกี่ยวข้องกับการขนส่ง อย่างเช่นงานศุลกากร โครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง และกฎระเบียนด้านโลจิสติกส์ โดย ‘จีน’ ได้คะแนน 3.61 จากคะแนนเต็ม 5 อยู่ในอันดับที่ 27 จาก 160 ประเทศ

ขณะที่ประเทศในกลุ่มอัลเทเชียอยู่ในช่วงคะแนนระหว่าง 2.58-4.06 คะแนน โดยญี่ปุ่นและสิงคโปร์จะอยู่ใน 10 อันดับแรกของโลกด้วยคะแนน 4.03 และ 4.00 ส่วนบังคลาเทศและกัมพูชามีคะแนน 2.58 อยู่ในครึ่งล่างของการจัดอันดับดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์โลก

ด้านต้นทุนแรงงานในการผลิต ถือเป็นอีกสิ่งที่ทำให้ผู้ผลิตหลายเจ้าเลือกย้ายฐานการผลิตออกจากจีน เพราะต้นทุนแรงงานในจีนพุ่งสูงตามความเจริญที่เพิ่มขึ้น และสูงกว่าบางพื้นที่ในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดย ‘จีน’ มีต้นทุนแรงงานในภาคการผลิต 8.31 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง (ประมาณ 290 บาทต่อชั่วโมง)

ขณะที่ ต้นทุนแรงงานในภาคการผลิตในหลายประเทศในกลุ่มอัลเทเชียจะต่ำกว่า 3 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง (ประมาณ 100 บาทต่อชั่วโมง) อย่างเช่นในอินเดีย ไทย และเวียดนาม แม้ว่าสิงคโปร์และญี่ปุ่นที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มประเทศอัลเทเชียจะมีต้นทุนแรงงานสูงมากก็ตาม

ถึงยังแม้ว่าศักยภาพของกลุ่มประเทศอัลเทเชียจะดูสามารถเทียบเคียงจีนได้ แต่ต้องบอกว่าความสามารถในการผลิตของจีนเลียนแบบได้ยาก เพราะยังไงกลุ่มประเทศอัลเทเชียก็มีเศรษฐกิจที่แยกต่างหากออกจากกัน ไม่เหมือนกับจีนที่อยู่ภายใต้ระบบเศรษฐกิจเดียวกัน แต่ยังไงหลายบริษัทก็ยังเดินหน้าคงสำรวจความเป็นไปได้ในอัลเทเชีย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า