SHARE

คัดลอกแล้ว

21 กันยายนของทุกปี ถูกประกาศให้เป็น วันอัลไซเมอร์โลก โดยองค์การอัลไซเมอร์ระหว่างประเทศ (Alzheimer’s Disease International; ADI) กระทรวงสาธารณสุข พบว่า ในประเทศไทย ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปเสี่ยงภาวะสมองเสื่อม กรมการแพทย์ โดยสถาบันประสาทวิทยา จึงแนะนำประชาชนให้เข้ารับการคัดกรองสมองเสื่อม การออกกำลังกายสมอง เพื่อให้ห่างไกลจากโรคอัลไซเมอร์

ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า โรคอัลไซเมอร์เป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของอาการสมองเสื่อมในวัยสูงอายุ โดยประมาณทุก ๆ 68 วินาทีจะมีผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้น 1 คนบนโลกใบนี้ ในขณะที่ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้สูงอายุประมาณ 7 ล้านคน จากข้อมูลของสมาคมผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยพบว่าร้อยละ 10 ของผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีอาการสมองเสื่อม จะเห็นได้ว่าโรคนี้นับเป็นปัญหาที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ทำให้มีแนวโน้มที่จะพบมากขึ้น เมื่อคนในครอบครัวเป็นโรคสมองเสื่อมนับเป็นเรื่องใหญ่ เนื่องจากโรคนี้ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การดูแลผู้ป่วยจึงไม่ใช่เรื่องง่ายจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งการดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคสมองเสื่อมนั้นเป็นภาระสำคัญสำหรับญาติผู้ดูแลที่ต้องให้การดูแลอย่างต่อเนื่องและตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเวลาผ่านไปภาระในการดูแลยิ่งเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากภาวะเสื่อมถอยของสมองที่มากขึ้น และเมื่อบุตรหลานต้องออกไปทำงานนอกบ้าน ทิ้งให้ผู้สูงอายุอยู่บ้านเพียงลำพัง อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บกะทันหันได้นำไปสู่ภาวะการติดเตียงต้องพึ่งพา ดังนั้นเมื่อผู้สูงอายุ มีอาการที่สงสัยว่าจะมีภาวะสมองเสื่อมควรรีบนำผู้สูงอายุไปพบแพทย์ เพื่อทำการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า โรคอัลไซเมอร์ คือ สภาวะของสมองเสื่อมลงไม่เพียงเฉพาะเรื่องความจำอย่างเดียว ยังรวมถึงความคิด การตัดสินใจ และพฤติกรรม ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ซึ่งพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ แต่ไม่ใช่ภาวะปกติที่พบในผู้สูงอายุเสมอไป ทั้งนี้โรคอัลไซเมอร์เป็นสาเหตุของภาวะสมองเสื่อมชนิดที่พบมากที่สุด คือ ร้อยละ 50-70 ผู้ป่วยจะมีอาการ หลงๆ ลืมๆ จำความไม่ได้ จำเรื่องที่เพิ่งพูดไปได้ไม่นานก็ลืม ชอบเล่าเรื่องเดิมซ้ำไปซ้ำมา เดินหลงทิศทาง ไม่สามารถแก้ปัญหาง่ายๆ อารมณ์และพฤติกรรมเปลี่ยนไป

สาเหตุเกิดจากการตายของเซลล์สมอง สาเหตุให้การทำงานของสมองเสื่อมลงจนกระทั่งส่งผลกระทบต่อกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย ความเครียดก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำลายสมองได้โดยตรง และเร่งให้สมองเสื่อมได้รวดเร็วเร็วขึ้น สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญได้แก่ พฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่ไม่เหมาะสม เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา ความดันโลหิตสูง ไขมันสูง โรคเบาหวาน ขาดการออกกำลังกาย และกรรมพันธุ์ สถาบันประสาทวิทยาเห็นความสำคัญของโรคอัลไซเมอร์

โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้จัดกิจกรรมให้ความรู้แก่ประชาชนเพื่อให้รับรู้ถึงอาการเริ่มแรกของภาวะสมองเสื่อมในวันอัลไซเมอร์โลก โดยมีกิจกรรมต่างๆ เช่น ฝึกออกกำลังสมอง ตรวจคัดกรองภาวะสมองเสื่อม แสดงตัวอย่างอาหารป้องกันสมองเสื่อม บรรยายเรื่อง “การนอนหลับในผู้สูงอายุและปัญหาการนอนหลับ ในผู้ป่วยสมองเสื่อม” โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งงานดังกล่าวจะจัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 27ก.ย. 62 ณ ห้องประชุมอาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา สถาบันประสาทวิทยา

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า