SHARE

คัดลอกแล้ว

“อเมซอนเป็นแหล่งผลิตก๊าซออกซิเจนร้อยละ 20 ของปริมาณก๊าซออกซิเจนบนโลก”  เป็นประโยคที่ผู้ที่ติดตามข่าวเหตุการณ์ไฟไหม้ป่าอเมซอนครั้งรุนแรงที่สุดในรอบ 5 ปี น่าจะได้ยินหรือได้อ่านกันเกือบทุกคนผ่านสื่อ ในช่วงข่าววิกฤตเพลิงไหม้อเมซอนที่บราซิล

นักวิทยาศาสตร์หลายคนออกมาระบุว่า อเมซอนผลิตออกซิเจนให้โลกเพียงร้อยละ 0 เท่านั้น และยังระบุว่าตัวเลขที่ถูกเผยแพร่ในสื่อและเป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปว่า ต้นไม้ในป่าอเมซอนผลิตออกซิเจนให้โลกมากถึงร้อยละ 20 นั้น เป็นตัวเลขที่สูงเกินไป 

“เราควรรักษาอเมซอนเอาไว้ แต่เรื่องการผลิตออกซิเจ็นไม่ใช่เหตุผลหลัก” ไมเคิล โคล นักวิทยาศาสตร์ด้านระบบโลก ผู้อำนวยการโครงการอเมซอนแห่งศูนย์วิจัยวู้ดสโฮลในรัฐแมสซาชูเซตส์ให้สัมภาษณ์ผ่านบทความของ National Geographic

ความเข้าใจผิดที่ว่าป่าอเมซอนเป็นแหล่งผลิตออกซิเจน 20% ของโลก ยังคงปรากฏอยู่บนสื่อต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น CNN ABC News Sky News และอื่น ๆ รวมทั้งในสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ที่ความเข้าใจผิดดังกล่าวถูกโพสต์โดยนักการเมืองและผู้ที่มีชื่อเสียง เช่น เอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส คามาลา แฮร์ริส สมาชิกวุฒิสภาของสหรัฐอเมริกา และผู้ชิงตำแหน่งประธานาธิบดี พรรคเดโมแครต รวมถึง ลีโอนาร์โด ดิคาปริโอ นักแสดงและนักสิ่งแวดล้อมชื่อดัง

ภาพจากมุมบน แสดงให้เห็นถึงปัญหาไฟป่า ที่ลุกลามอเมซอนจนกลายเป็นข่าวใหญ่ช่วงเดือนสิงหาคม 2562

เหตุผลทางด้านกายภาพ 

นักวิทยาศาสตร์หลายคนได้ระบุถึงเหตุผลว่าทำไมอเมซอนถึงไม่ใช่แหล่งออกซิเจนของโลกโดยเฉพาะเหตุผลทางกายภาพ 

ไมเคิล โคล ชี้ให้เห็นว่าเป็นไปไม่ได้เลยที่อเมซอนจะผลิตออกซิเจนสำหรับหายใจได้ถึงร้อยละ 20 เพราะในชั้นบรรยากาศของโลกนั้นมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่มากเพียงพอสำหรับต้นไม้เพื่อใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสง ให้ออกมาเป็นออกซิเจนได้มากถึง 1 ใน 5 ของโลก

โคลอธิบายเพิ่มเติมว่าเมื่อต้นไม้ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาจากอากาศเพื่อใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงต้นไม้ก็จะปล่อยก๊าซออกซิเจนคืนสู่อากาศในปริมาณที่เท่ากัน  แต่เนื่องจากในชั้นบรรยากาศนั้นมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่าครึ่งหนึ่ง จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่อเมซอนจะสามารถผลิตออกซิเจนได้ถึงร้อยละ 20 ของโลก

นอกจากนี้ยาดวินเดอร์ มาลฮ์อี (Yadvinder Malhi) นักนิเวศวิทยาแห่งสถาบันการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมแห่งมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ดได้อ้างอิงผลการคำนวณจากการศึกษาของเขาในปี 2010 โดยมีการประเมินว่าป่าเขตร้อนทั่วโลกมีกระบวนการณ์สังเคราะห์ด้วยแสงและผลิตออกซิเจนได้ร้อยละ 34 ของจำนวนออกซิเจนที่ถูกผลิตขึ้นบนบกทั้งหมด

เมื่อพิจารณาถึงขนาดของป่าอเมซอนที่มีขนาดใหญ่เป็นครึ่งหนึ่งของป่าเขตร้อนบนโลกทั้งหมดนั่นหมายความว่าอเมซอนมีการสังเคราะห์ด้วยแสงและผลิตออกซิเจนให้โลกได้ร้อยละ 16 ของปริมาณออกซิเจนที่ผลิตขึ้นบนบกทั้งหมดและจะเหลือเพียงร้อยละ 9 หากนำไปคำนวณรวมกับปริมาณออกซิเจนที่ผลิตขึ้นในมหาสมุทร

แต่หากอ้างอิงจากการคำนวณของ โจนาธาน โฟลีย์ นักวิทยาศาตร์ด้านสภาพภูมิอากาศ อเมซอนจะสามารถผลิตออกซิเจนให้โลกได้เพียงร้อยละ 6 เท่านั้น

มากกว่านั้นการศึกษาพบว่าต้นไม้ไม่ได้แค่เพียงปล่อยออกซิเจนออกมาแต่ต้นไม้ดูดซับก๊าซออกซิเจนเพื่อใช้ในกระบวนการหายใจระดับเซลล์ (cellular respiration) หรือการเปลี่ยนน้ำตาลที่สะสมไว้ระหว่างวันมาเป็นพลังงานดังนั้นในเวลากลางคืนที่ไม่มีแสงอาทิตย์เพื่อทำการสังเคราะห์แสงต้นไม้จะดูดซับออกซิเจนไปใช้แทน

ทีมวิจัยของมาลฮ์อียังระบุอีกว่าต้นไม้ดูดซับก๊าซออกซิเจนไปมากกว่าครึ่งหนึ่งของออกซิเจนที่ต้นไม้ผลิตออกมาส่วนออกซิเจนที่เหลืออยู่ในอากาศก็อาจจะถูกใช้โดยจุลินทรีย์จำนวนมหาศาลที่อาศัยอยู่ในอเมซอน 

“โดยสุทธิแล้วต้นไม้และสิ่งมีชีวิตอื่นๆในอเมซอนผลิตออกซิเจนได้ประมาณ 0%” มาลฮ์อีกล่าว

สก็อตต์ เด็นนิ่ง นักวิทยาศาสตร์ด้านบรรยากาศ มหาวิทยาลัยโคโรราโด อธิบายว่า ระบบนิเวศในปัจจุบันแทบจะไม่มีผลต่อระดับออกซิเจนในอากาศ เพราะมีความสมดุลระหว่างการผลิตออกซิเจนและการบริโภคออกซิเจน โดยออกซิเจนที่พวกเราใช้หายใจในทุกวันนี้มาจากแพลงก์ตอนพืชในมหาสมุทรเป็นหลัก ซึ่งแพลงก์ตอนได้สะสมออกซิเจนมาเป็นเวลามากกว่าพันปีอย่างต่อเนื่อง และทำให้อากาศมีออกซิเจนไว้หายใจ

สภาพป่าอเมซอนวันที่ 21 สิงหาคม 2562

อุดมไปด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ 

ความเข้าใจผิดว่าอเมซอนผลิตออกซิเจนให้โลกร้อยละ 20 นั้นมีมานานหลายทศวรรษ ซึ่งไม่อาจรู้ได้ว่าความเข้าใจผิดนี้มาจากไหน โดยโคล และ มาลฮ์อี คาดว่าอาจจะเป็นความเข้าใจผิดจากข้อเท็จจริงที่ว่า อเมซอนผลิตออกซิเจนโดยการสังเคราะห์แสงได้ 20 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณออกซิเจนที่ถูกผลิตบนบก เป็น อเมซอนผลิตออกซิเจนได้ 20 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณออกซิเจนทั้งหมด ที่ถูกผลิตขึ้นทั้งบนบกและในมหาสมุทร 

อย่างไรก็ตามทั้งหมดที่อธิบายมาข้างต้นไม่ได้หมายความว่าอเมซอนไม่มีความสำคัญแรกเริ่มเดิมทีอเมซอนมีส่วนสำคัญในการช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากชั้นบรรยากาศโลกซึ่งโคลระบุว่าอเมซอนไม่ได้เปรียบเป็นปอดคู่ของโลก แต่เปรียบเป็น เครื่องปรับอากาศ ที่ช่วยให้อุณหภูมิของโลกเย็นขึ้น ซึ่งเป็นอาวุธที่ทรงพลังในการต่อสู้กับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 

นอกจากนี้อเมซอนยังมีบทบาทสำคัญในการรักษาเสถียรภาพของวัฏจักรของการเกิดฝนในทวีปอเมริกาใต้อีกทั้งยังเป็นที่อยู่อาศัยของชนพื้นเมืองสัตว์และพืชพันธุ์จำนวนมหาศาล

“มีคนน้อยมากพูดถึงความหลากหลายทางชีวภาพแต่อเมซอนเป็นป่าที่มีระบบนิเวศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดบนบกและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศการตัดไม้ทำลายป่ากำลังทำให้เกิดความเสี่ยงอย่างมาก” คาร์ลอสโนเบร์ (Carlos Nobre) นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพอากาศที่ทำงานร่วมกับสถาบันการศึกษาขั้นสูงของมหาวิทยาลัยเซาเปาโลกล่าว

ทั้งนี้นอกจากอเมซอนแล้วป่าร้อนชื้อในแอฟริกากลางและในเอเชียกำลังถูกไฟป่าลุกลามในหลายพื้นที่เช่นป่าในประเทศแองโกลาคองโกแซมเบียเป็นต้นซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าไฟป่าที่เกิดขึ้นในอเมซอนถึง 5 เท่าจากการเปิดเผยของนาซา 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า