SHARE

คัดลอกแล้ว

สำนักข่าวบลูมเบิร์กเผยผลสำรวจที่ระบุว่า ชาวมิลเลนเนียลอเมริกัน หรือคนอเมริกันที่อายุ 40 ปี เป็นกลุ่มคนที่ไม่มีบ้านของตัวเอง มีหนี้สินเยอะ และไม่มีเวลาที่จะไปสร้างความร่ำรวยให้กับชีวิต

โดยหากเทียบกันแล้ว คนมิลเลนเนียลที่มีบ้านเป็นของตัวเองแล้ว มีสัดส่วนน้อยกว่าคนรุ่นพ่อแม่ตอนที่อายุเท่ากันด้วยซ้ำ นอกจากนี้ คนมิลเลนเนียลวัย 40 ยังมีหนี้มากกว่า (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนี้การศึกษา) และไม่รวยเท่าคนรุ่นพ่อแม่ด้วย

และหากเชื่อว่าเศรษฐกิจหลังสถานการณ์โควิด-19 จะบูมอย่างที่บางคนคาดการณ์ นี่ก็อาจเป็นโอกาสสุดท้ายที่คนรุ่นนี้ต้องสร้างความมั่งคั่งก่อนที่จะเข้าสู่วัยเกษียณ

ทั้งนี้ จากการสัมภาษณ์คนในวัย 40 ปีของบลูมเบิร์กพบว่า บางคนมีหนี้สินจากบัตรเครดิตมหาศาล และจากสถานการณ์โควิดก็ทำให้เพิ่งรู้ว่าจะต้องปรับเปลี่ยนอุปนิสัยการใช้เงิน

ขณะที่บางคนเพิ่งซื้อบ้านหลังแรกของตัวเองได้ตอนอายุ 40 ปี เนื่องจากไม่สามารถเก็บเงินดาวน์ได้เร็วกว่านี้ เพราะที่ผ่านมาต้องใช้เงินไปเพื่อชำระหนี้ที่กู้ยืมมาเพื่อการศึกษา

โดยคนอเมริกันวัยมิลเลนเนียลที่อายุมากที่สุด หรือเป็นผู้ที่เกิดในปี 1981 ซึ่งจะมีอายุครบ 40 ปีในปีนี้ นับเป็นรุ่นที่เติบโตมาช่วงทศวรรษที่ 1990 ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศมีความรุ่งเรืองเฟื่องฟู โดยเป็นช่วงที่เศรษฐกิจขยายตัวยาวนานมากเป็นอันดับ 2 ในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ

ถามว่าเศรษฐกิจดีอย่างไร – ต้องบอกว่าในยุคนั้นอัตราการว่างงานลดลงอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีช่วงภาวะเศรษฐกิจถดถอยในช่วงที่ชาวมิลเลนเนียลยังเด็กๆ แต่ก็เป็นการถดถอยในช่วงเวลาสั้นๆ และเศรษฐกิจหดตัวน้อยกว่า 2% ด้วยซ้ำ

แต่เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ คนกลุ่มนี้กลับได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ในช่วงราวปี 2008-2009 ซึ่งส่งผลต่อการเติบโตของรายได้ของพวกเขา คือบางคนที่เพิ่งตั้งธุรกิจกลับล้มละลาย, บางคนตกงาน, ค่าจ้างไม่ขยับไปไหน และทำให้สร้างความมั่งคั่งได้ยากยิ่งขึ้น

จากนั้น คนรุ่นมิลเลนเนียลก็ค่อยๆ ขยับมาถึงจุดที่การงานมั่นคง เริ่มเข้าไปทำงานในตำแหน่งที่มีรายได้สูงกว่าเดิม แต่ก็เกิดการระบาดของโควิดขึ้น

ซึ่งนั่นส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยปี 2020 เศรษฐกิจสหรัฐฯ หดตัว 3.5% ขณะที่ตอนที่ชาวเบบี้บูมอายุ 40 หรือในปี 1986 เศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวในอัตรา 3.5%

แม้ในปัจจุบันเศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังกลับมาคึกคักอีกครั้ง โดยภาคส่วนต่างๆ เช่น ค้าปลีกและภาคการผลิตก็กลับมาแข็งแกร่งกว่าช่วงก่อนการระบาด หุ้นหลายตัวทำสถิติพุ่งสูงสุด และความมั่งคั่งก็เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะเศรษฐีชาวอเมริกัน

แต่ต้องจับตาดูกันต่อไปว่า ตำแหน่งงานและค่าแรงจะเพิ่มขึ้นตามไปด้วยหรือไม่

หนี้การศึกษาสูง

ปฏิเสธไม่ได้ว่าสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนแต่ละรุ่นรวยไม่เท่ากัน อาจมาจากหนี้เพื่อการศึกษา

ทั้งนี้ คนมิลเลนเนียลกู้เงินไปเรียนมหาวิทยาลัยมากกว่าคนรุ่นก่อนๆ โดยปริมาณเงินที่ยืมก็มากขึ้นด้วย

คนมิลเลนเนียลที่เริ่มเรียนในมหาวิทยาลัยในปี 1999 มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 15,604 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี เพื่อเป็นค่าเล่าเรียนในระดับปริญญาตรี, ค่าธรรมเนียม, ค่าเช่าห้องพัก และค่าอาหาร

ขณะที่ชาวเจน X และเบบี้บูมมีค่าใช้จ่ายเริ่มต้นสำหรับเรียนมหาวิทยาลัยราวปีละ 10,300 ดอลลาร์เท่านั้น

เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาเหล่านี้สร้างภาระทางการเงินให้กับชาวมิลเลนเนียลเป็นเวลาหลายปี ที่น่าสลดใจก็คือ บางคนต้องดร็อปกลางคันเพื่อไปทำงาน เนื่องจากเจอวิกฤตการเงิน และแม้จะผ่านมาแล้ว 20 ปีก็ยังต้องจ่ายหนี้ก้อนนั้นอยู่ทั้งที่ไม่ได้ใบปริญญาด้วยซ้ำ

อย่างไรก็ตาม สำหรับคนอายุ 40 ปีนั้น การจบมหาวิทยาลัยถือว่ามีความจำเป็นมากกว่า โดยผลสำรวจพบว่าชาวมิลเลนเนียลที่เรียนจบปริญญาตรีขึ้นไป มีรายรับมากกว่าคนที่จบมัธยมปลายถึง 113% แต่สำหรับชาวบี้บูมเมอร์ คนที่จบมหาวิทยาลัยมีรายได้มากกว่าคนจบมัธยมปลาย 57%

ไม่มีบ้านเป็นของตัวเอง

อัตราการเป็นเจ้าของบ้านของชาวมิลเลนเนียลนั้นต่ำกว่าคนรุ่นอื่นๆ หากเทียบตอนที่คนแต่ละรุ่นมีอายุเท่ากัน

ริชาร์ด ฟราย นักวิจัยอาวุโสที่ศูนย์วิจัย Pew Research Center กล่าวว่า วิธีง่ายๆ ที่ครัวเรือนอเมริกันใช้สร้างความมั่งคั่งก็คือการซื้อบ้านเป็นของตัวเอง แต่ชาวมิลเลนเนียลเหมือนจะมีบ้านเป็นของตัวเองน้อยกว่าคนรุ่นก่อนๆ

สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากราคาบ้านที่พุ่งสูงขึ้น โดยชาวมิลเลนเนียลต้องซื้อบ้านในราคาเฉลี่ย 328,000 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ชาวเบบี้บูมใช้เงินราว 216,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเป็นเจ้าของบ้านสักหลังในปี 1989 แต่ในขณะที่ราคาบ้านพุ่งสูงขึ้นมาก รายได้เฉลี่ยกลับเพิ่มขึ้นเพียง 20% เท่านั้น

ไม่เพียงเท่านั้น แต่รายงานจาก Apartment List ในปี 2020 ยังระบุอีกว่า 18% ของชาวมิลเลนเนียลที่เช่าที่พักอยู่บอกว่าพวกเขาวางแผนจะเช่าอยู่ไปตลอดชีวิต ซึ่งเป็นสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นปีที่ 3 แล้ว ขณะที่มิลเลนเนียลกลุ่มที่วางแผนจะซื้อบ้าน 63% บอกว่าพวกเขาไม่มีเงินดาวน์

นอกจากนี้ สัดส่วนของชาวมิลเลนเนียลที่อาศัยอยู่กับพ่อแม่ก็เพิ่มสูงขึ้นกว่าเจเนอเรชั่นก่อนอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งตามคอนเซ็ปต์อาจมองได้ว่าคนมิลเลนเนียลก็ต้องมีเงินเก็บเยอะขึ้นเพราะประหยัดได้มากกว่า แต่ในความเป็นจริง นี่เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงสถานะทางการเงินที่ย่ำแย่ได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว

ไม่ได้สะสมความรวย

หากลองเปรียบเทียบกันระหว่างชาวเบบี้บูมกับมิลเลนเนียลก็จะพบว่า ในปี 1989 ที่ชาวเบบี้บูมเมอร์มีอายุ 40 ปีนั้น พวกเขามีทรัพย์สินคิดเป็นมูลค่า 113,000 ดอลลาร์ (เทียบกับค่าเงินในปัจจุบัน) ขณะที่ในปี 2019 ชาวมิลเลนเนียลรุ่นปลายๆ มีทรัพย์สินอยู่ราว 91,000 ดอลลาร์เท่านั้น

Gale of Brookings นักเขียนร่วมในรายงาน NBER ระบุว่า ชาวมิลเลนเนียลมีความหลากหลายทางเชื้อชาติมากกว่ารุ่นก่อนๆ และหากดูตามโครงสร้างก็จะพบว่า เชื้อชาติที่เป็นประชากรส่วนน้อยมักมีทรัพย์สินและค่าแรงต่ำเฉลี่ยกว่าเชื้อชาติที่เป็นประชากรส่วนมาก โดยครอบครัวชาวผิวขาวร่ำรวยกว่าชาวผิวดำโดยเฉลี่ย 8 เท่า และรวยกว่าชาวฮิสแปนิก 5 เท่า

ที่น่าสนใจก็คือ การระบาดของโควิดยังขยายความไม่เท่าเทียมในสหรัฐอเมริกาให้เพิ่มสูงขึ้นไปอีก โดยอัตราการว่างงานของคนอเมริกันผิวสี ฟื้นตัวช้ากว่าและยังคงสูงกว่าอัตราของคนอเมริกันผิวขาวมาก

ในขณะเดียวกัน ชาวอเมริกันผิวสียังมีแนวโน้มที่จะถูกว่าจ้างในอุตสาหกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วด้วยระบบอัตโนมัติ, อีคอมเมิร์ซ รวมถึงการค้าปลีกและการขนส่ง

ยังไม่สายเกินไปที่จะไล่ให้ทัน

และถึงแม้จะดูตามหลังคนรุ่นอื่นอยู่ แต่ผู้เชี่ยวชาญทางการเงินบางรายระบุว่า นี่ยังไม่ใช่เรื่องที่สายจนเกินไปนัก โดยอย่างแรกที่ชาวมิลเลนเนียลควรทำคือกำหนดเป้าหมายของตัวเองขึ้นมา จากนั้นกำหนดบัดเจ็ตที่จะต้องใช้ แล้วทำให้ได้ โดยควรกระจายการลงทุน รวมไปหารายได้จากหลายๆ ช่องทาง

ชาวมิลเลนเนียลรุ่นปลายๆ ควรจะเบนเข็มทางการเงินสักหน่อย เช่น อาจเริ่มจากการเปิดบัญชีเงินฝากที่ไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน หรือแบบอื่นๆ ที่จะช่วยได้ หรือมุ่งโฟกัสไปที่การเก็บเงินไว้ใช้ยามเกษียณ หรือการซื้อและบำรุงรักษาบ้าน

ที่มา https://www.bloomberg.com/features/2021-millennials-are-running-out-of-time/?utm_source=facebook&cmpid=socialflow-facebook-business&utm_content=asia&utm_campaign=socialflow-organic&utm_medium=social&fbclid=IwAR3Mebd8zpKRDpHUfPsiObqp_hiIJ7s6JIramQTAEYbdnagX5UglwrviBT0

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า