Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

หลังมีการจัดการกรรมรำลึกวันเปลี่ยนระบอบการปกครองไทยในวันที่ 24 มิถุนายน 2563 ทั้งช่วงเช้าตรู่ 05.00 น. ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยถนนราชดำเนิน ช่วง 10.30 น.ที่รัฐสภา และช่วงเย็น 18.00 น. บริเวณสกายวอล์กปทุมวัน และกิจกรรมอื่น ๆ กระจายตามจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ ผู้จัดกิจกรรมหลายคนออกมาเปิดเผยว่าตนถูกคุกคามโดยกลุ่มคนไม่ทราบฝ่าย

เริ่มตั้งแต่ช่วงเช้า หลังกิจกรรมฉายโฮโลแกรมคณะราษฎรที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถ.ราชดำเนิน กรุงเทพมหานคร โตโต้ ปิยรัฐ จงเทพ นักกิจกรรมทางการเมือง อดีตผู้ลงสมัครส.ส.พรรคอนาคตใหม่ และปัจจุบันเป็นประสานงานคณะก้าวหน้า โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวเปิดเผยว่ามีกลุ่มชายไม่ทราบฝ่ายพยายามบังคับให้เขาขึ้นรถไปด้วย โดยกล่าวว่า “นายอยากคุยด้วย” แต่ด้วยความช่วยเหลือจากกลุ่มเยาวชนที่มาร่วมกิจกรรมทำให้เขาเอาตนเองออกมาจากสถานการณ์ดังกล่าวได้อย่างปลอดภัย

ภาพกิจกรรมในช่วงย่ำรุ่งที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

6.30 น.  “โตโต้” กล่าวว่าได้รับแจ้งจากนายตำรวจนครบาลนายหนึ่งว่าสิ่งที่พบเจอเมื่อช่วงเช้าว่า “เป็นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่ต้องจับกุมตัวผม ตามหมายจับ” ทราบภายหลังว่าเป็นหมายจับจากกรณีจัดงาน “วิ่งไล่ลุง” ที่จ.กาฬสินธุ์ จากสภ.เมืองกาฬสินธุ์ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563

“ผมไม่รู้ว่าตัวเองมีหมายนี้มาก่อน ที่ผ่านมาก็อยู่กาฬสินธุ์มาโดยตลอด ทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามปกติ พอมากรุงเทพถึงได้รู้ว่าตนมีหมายแล้ว” โตโต้กล่าวที่หน้าสน.ชนะสงครามซึ่งเขาเข้ามอบตัวในช่วงเที่ยงวันเดียวกันโดยมีปิยบุตร แสงกนกกุล หนึ่งในแกนนำคณะก้าวหน้าเข้าให้กำลังใจ ก่อนช่วงบ่ายเขาขึ้นรถของเจ้าหน้าที่ไปสภ.เมืองกาฬสินธุ์ท้องที่เจ้าของเรื่อง

โตโต้-ปิยรัฐ จงเทพ นักกิจกรรมและปิยบุตร แสงกนกกุล แกนนำคณะก้าวหน้า บริเวณหน้าสน.ชนะสงคราม วันที่ 24 มิ.ย. 2563 (ภาพโดย วศินี พบูประภาพ)

เขาเปิดเผยเมื่อได้รับการปล่อยตัวหลังเดินทางถึงกาฬสินธุ์ว่าแม้เวลาผ่านไปเกือบหนึ่งวันก็ยังไม่ทราบว่ากลุ่มชายที่เข้ามาพยายามหน่วงเหนี่ยวเขาเอาไว้เมื่อย่ำรุ่งวันที่ 24 มิถุนายน 2563 คือใคร “ถามใครก็ไม่ได้รับคำตอบ ไม่ว่าจะถาม ผู้กำกับฯในพื้น สน.ที่รับผิดชอบ บริเวณนั้น ก็ไม่ได้คำตอบ ถามไปยัง สืบ นครบาล ก็ยังบอกอะไรไม่ได้ ทุกหน่วยปฏิเสธ ว่าไม่รู้จักกลุ่ม ชุดปฏิบัติการกลุ่มนั้น ”

เหตุการณ์ของปิยรัฐไม่ใช่เหตุการณ์เดียวที่ผู้จัดกิจกรรมรำลึก 24 มิถุนาถูกติดตาม “เพนกวิน” พริษฐ์ ชิวารักษ์ และปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล จากสหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษา แห่งประเทศไทย (สนท.) ก็ให้สัมภาษณ์สื่อว่าถูกติดตามถึงบ้านตั้งแต่ก่อนจัดงาน หลังจัดงานระหว่างทางกลับบ้าน เขาให้สัมภาษณ์แก่ผู้สื่อข่าว workpointTODAY ว่าถูกรถยนต์ฟอร์จูเนอร์หลายคันขับประกบตลอดทาง บรรยายระยะห่างว่าถ้าถูกยิงก็คงไม่รอด

“เหมือนช่วง 14 นศ. คือตามให้รู้ว่าตาม เอาให้กลัว แสดงอำนาจ” พริษฐ์กล่าว

กิจกรรมรำลึก 24 มิถุนา วันที่ 24 มิถุนายน 2563 บริเวณด้านหน้ารัฐสภา

นอกจากผู้จัดกิจกรรมในกรุงเทพมหานคร กลุ่มคนรักษ์ประชาธิปไตยจังหวัดยโสธรถูกกดดันจาก “เจ้าหน้าที่รัฐ” โทรศัพท์มาบอกห้ามจัดกิจกรรมรำลึกครบรอบ 88 ปี วันอภิวัฒน์สยามที่ลานหน้าอนุสาวรีย์พระสุนทรราชวงศา สวนสาธารณะบุ่งน้อยบุ่งใหญ่ เขตเทศบาลเมืองยโสธร

ขณะที่ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิเพื่อสิทธิมนุษยชนระบุว่า เพจเยาวชนสุรินทร์เพื่อประชาธิปไตยประกาศยกเลิกจัดกิจกรรม #24มิถุนารำลึก #88ปี2475 ที่อนุสาวรีย์อนุสรณ์รัฐธรรมนูญ เย็นวันที่ 24 มิถุนายนนี้ หลังสมาชิกกลุ่มถูกตำรวจ 3 นาย และผู้ใหญ่บ้านไปพบที่บ้าน คุยว่าไม่อยากให้จัดกิจกรรมและยกเหตุการณ์ 6 ตุลาที่นักศึกษาถูกฆ่ามาพูดทำนองข่มขู่ พร้อมแจ้งว่า หากมีการละเมิดกฎหมายก็จะดำเนินคดี

คืนวันที่ 24 มิถุนายน 2563  “Headache Stencil” ศิลปินกราฟฟิตี้แนวการเมืองโพสต์เฟสบุ๊กพร้อมภาพกล้องวงจรปิด กล่าวว่ามีชายสี่คนที่เขาเชื่อว่าเป็นตำรวจนอกเครื่องแบบดักพบ

 

ไม่มีข้อมูลเปิดเผยว่า “Headache Stencil” เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมใด แต่มีการโพสต์รำลึกวันสำคัญของประวัติศาสตร์การเมืองไทยในหน้าเพจของเขา คาดว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เขาตกเป็นเป้าของการคุกคามคล้ายกับกรณีของบุคคลอื่น ๆ

แอมเนสตี้ร้องรัฐ ประชาชนต้องมีเสรีภาพทางการแสดงออก

หลังมีรายงานข่าวเรื่องการคุกคามผู้จัดกิจกรรมรำลึก 24 มิถุนา ตลอดทั้งวัน ปิยนุช โคตรสาร ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย แถลงว่าทางการไทยต้องยุติการดำเนินการใดๆ เพื่อคุกคามหรือสร้างความหวาดกลัวในการทำงานของนักกิจกรรมและนักปกป้องสิทธิมนุษยชน พร้อมทั้งสนับสนุนให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและส่งเสริมนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและบุคคลอื่น ๆ ให้สามารถใช้สิทธิในเสรีภาพการแสดงออก และการชุมนุมอย่างสงบ โดยปราศจากการข่มขู่ คุกคามและการฟ้องร้องดำเนินคดี

“รัฐบาลต้องทำให้ประชาชนมั่นใจว่าจะเคารพและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของทุกคนในประเทศ รวมถึงผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลและผู้มีความเห็นต่างทางการเมืองด้วย เสรีภาพในการแสดงออกและสิทธิในการชุมนุมโดยสงบของประชาชนจะต้องได้รับการคุ้มครองอย่างถ้วนหน้า”

แอมเนสตี้กล่าวเจาะจงถึงความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินมาตรการป้องกันโควิด-19 และการจำกัดสิทธิในการชุมนุมว่า “การดำเนินการตามมาตรการเพื่อรับกับการระบาดของไวรัสโควิด-19 ต้องเป็นไปอย่างได้สัดส่วนและเมื่อมีความจำเป็นเท่านั้น รัฐบาลต้องหลีกเลี่ยงการสร้างข้อจำกัดต่อการชุมนุมอย่างสงบในที่สาธารณะใด ๆ เมื่อผ่านพ้นช่วงการกักตัว โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้ชุมนุมจัดให้มีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดในระหว่างการประท้วง”

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลยังระบุเพิ่มเติมว่า ขอให้ทางการไทยประกันให้เกิดสภาพแวดล้อมที่บุคคลทุกคนสามารถรวมตัว แสดงออกและแลกเปลี่ยนความเห็นได้อย่างสงบ พร้อมทั้งหยุดดำเนินคดีต่อนักกิจกรรมและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เคลื่อนไหวอย่างสงบ และยังเรียกร้องทางการไทยให้ปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่จะไม่ควบคุมตัว คุกคาม หรือลงโทษบุคคลเพียงเพราะการใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกหรือการชุมนุมอย่างสงบ

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า