SHARE

คัดลอกแล้ว

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย (Amnesty International Thailand) เรียกร้อง กสม. ตรวจสอบกรณีผู้ต้องสงสัยคดีความมั่นคงหมดสติเข้ารักษาตัวห้องไอซียู รพ.ปัตตานี หลังถูกคุมตัวเข้าค่ายทหาร

ข้อมูลจากแอมเนสตี้ฯ ประเทศไทย ระบุว่า ปิยนุช โคตรสาร ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ฯ เรียกร้องให้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติตรวจสอบกรณีนายอับดุลเลาะ อีซอมูซอ ถูกส่งตัวเข้ารักษาที่โรงพยาบาลปัตตานี จากอาการหมดสติและสมองบวม ภายหลังจากถูกเจ้าหน้าที่ทหารควบคุมตัวในค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี เป็นเวลาไม่ถึงหนึ่งวัน โดยควรดำเนินการสอบสวนอย่างเป็นอิสระ เป็นกลาง และมีประสิทธิภาพโดยทันที

ปิยนุช โคตรสาร ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชันแนล ประเทศไทย (ถ่ายโดยจิรธัช สิงหะ วันที่ 13 กรกฎคม 2562)

“การสอบสวนต้องนำมาซึ่งผลที่แน่ชัดว่านายอับดุลเลาะถูกเจ้าหน้าที่รัฐทรมานหรือถูกปฏิบัติอย่างโหดร้ายระหว่างถูกควบคุมตัวตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม เวลา 16.00 น. จนถึงวันที่ 21 กรกฎาคม เวลา 03.00 น. หรือไม่” ปิยนุช โคตรสารกล่าว

เบื้องต้นเมื่อเวลา 9.00 น. วันนี้ พันเอก ปราโมทย์ พรหมอินทร์ โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า) ระบุว่า กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ได้สั่งการให้เร่งรัดตรวจสอบข้อเท็จเพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องโดยเร็วที่สุด และยืนยันว่าพร้อมให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายและหากพบเป็นความผิดพลาดจากการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ก็จะทำการลงโทษสถานหนักทั้งทางวินัยและอาญาทหารโดยไม่ละเว้น และได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้แล้ว

พันเอก ปราโมทย์ พรหมอินทร์ โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า

อย่างไรก็ดีผู้อำนวยการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ได้ย้ำว่าการสอบสวนดังกล่าว ควรเป็นภารกิจของหน่วยงานอิสระ “ไม่ใช่ปล่อยให้ทหารสอบสวนกันเอง”

เธอกล่าวต่อว่า “หากการสอบสวนพบว่ามีการทรมานเกิดขึ้น ทางการไทยจะต้องให้การประกันว่าจะมีการดำเนินคดีอาญาในศาลยุติธรรม เพื่อฟ้องร้องดำเนินคดี และลงโทษผู้กระทำผิด”

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้องได้ที่

กอ.รมน.เร่งสอบเหตุผู้ต้องสงสัยคดีความมั่นคงหมดสติในค่าย ผลตรวจไม่มีรอยฟกช้ำ

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า