SHARE

คัดลอกแล้ว

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลส่งจดหมายเปิดผนึกถึงพล.ต.อ. จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เรียกร้องให้

1.เจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติหน้าที่ในระหว่างที่มีการชุมนุมในพื้นที่ต่างๆ โดยเคารพและคุ้มครองสิทธิในเสรีภาพการแสดงออกและการชุมนุมโดยสงบของประชาชน

2.ดูแลให้การชุมนุมสามารถเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิผล รับประกันความปลอดภัยและมั่นคงของผู้ชุมนุม

3.งดเว้นการฟ้องร้องดำเนินคดีทางอาญาต่อผู้เข้าร่วมการชุมนุม

4.ยุติการคุกคามและข่มขู่ประชาชนเพียงเพราะไปเข้าร่วมการชุมนุม และหยุดการคุกคามฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง

มิง ยู ฮา รองผู้อำนวยการ สำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก เผยว่าทางการไม่ควรแทรกแซงหรือจำกัดสิทธิเหล่านี้ตามอำเภอใจ เจ้าหน้าที่ตำรวจมีหน้าที่รับรองและอำนวยให้เกิดการเคารพสิทธิมนุษยชน รวมถึงสิทธิในเสรีภาพการแสดงออกและการชุมนุมโดยสงบด้วย

นอกจากหลักสิทธิมนุษยชนแล้ว ที่ประเทศไทยต้องเคารพสิทธิหน้าที่เหล่านี้อย่างเคร่งครัด เพราะประเทศไทยเองก็เป็นรัฐภาคีของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ทำให้ต้องเคารพ คุ้มครอบ และสนับสนุนสิทธิในเสรีภาพการแสดงออกและการชุมนุมโดยสงบ โดยปราศจากการแบ่งแยกทุกประเภท รวมถึงในเรื่องความคิดเห็นทางการเมือง

“มีการรายงานจากผู้ชุมนุมว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้าพบผู้ชุมนุมและครอบครัวถึงที่พักของพวกเขา พร้อมทั้งตักเตือนไม่ให้พวกเขาเข้าร่วมการชุมนุม” ข้อมูลจากแอมเนสตี้ระบุ สอดคล้องกับตัวเลขจากศูนย์ทนายเพื่อสิทธิมนุษยชนที่ชี้ว่าจากกิจกรรมแฟลชม็อบที่เกิดขึ้นอย่างน้อย 76 กิจกรรม มีอย่างน้อย 5 กิจกรรมที่ถูกแทรกแซงจากเจ้าหน้าที่รัฐจนต้องยกเลิกกิจกรรม

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ย้ำว่าองค์กรตระหนักถึงการระบาดของโรคโควิด-19 ว่าเป็นเหตุการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระดับโลก ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการตอบรับในรูปแบบที่มีการประสานเชื่อมต่อและอยู่ในระดับที่กว้างขวาง เพื่อคุ้มครองสุขภาพของประชาชน แต่หากทางการไทยดำเนินมาตรการใดๆ ที่จำกัดสิทธิมนุษยชนในช่วงวิกฤตินี้ “ควรทำเท่าที่จำเป็นและได้สัดส่วนเท่านั้น”

“เราขอเรียกร้องให้ท่านรับรองว่าสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาระเบียบและคุ้มครองสุขภาพของประชาชนในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 โดยดำเนินการตรวจตราดูแลให้การชุมนุมโดยสงบสามารถเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิผล การปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวหมายรวมถึงให้งดเว้นการฟ้องร้องดำเนินคดีทางอาญาต่อผู้เข้าร่วมการชุมนุมอย่างสงบ รับประกันความปลอดภัยและมั่นคงของผู้ชุมนุม และให้พวกเขาสามารถใช้สิทธิในเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมโดยสงบได้”

ทั้งนี้ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ยังขอให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติถอนฟ้องคดีอาญาต่าง ๆ ที่ยื่นเพื่อเอาผิดประชาชน ทั้งนักเรียน นักศึกษาและนักกิจกรรมทางการเมือง ที่เข้าร่วมการชุมนุมโดยสงบ

รวมถึงการฟ้องร้องโดยบังคับใช้มาตราที่ 9 (2) ของพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เนื่องจาก “ผู้เข้าร่วมการชุมนุมโดยสงบได้ปฏิบัติตามมาตรการเพื่อคุ้มครองสุขภาพของประชาชน รวมถึงใส่หน้ากากและเว้นระยะห่างทางกายภาพระหว่างกันและกัน”

“ในกรณีที่ต้องสลายการชุมนุมซึ่งผิดกฎหมายแต่ไม่ใช้ความรุนแรง เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายต้องหลีกเลี่ยงการใช้กำลัง หรือหากเป็นไปไม่ได้ต้องงดเว้นเอาไว้ หรือใช้ให้น้อยที่สุดในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น” แอมเนสตี้ชี้

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า