SHARE

คัดลอกแล้ว

‘หอการค้า’ คาดส่งออกไทยปี 64 ขยับโต 3.4% โดยมีกำลังผลิตวัคซีนโลกชี้ชะตา ถ้าวัคซีนผลิตตามแผนทั่วถึง 40% ของประชากรโตตามเป้า แต่หากไม่เป็นตามคาด อาจสูญ 3 แสนล้านบาท ผลักส่งออกติดลบ 0.8%

วันที่ 14 ม.ค. 2564 นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลวิเคราะห์การส่งออกประจำปี 2564 ว่า ถ้าหากสถานการณ์ดำเนินไปตามปกติและโลกสามารถผลิตวัคซีนต้านโควิด-19 ออกมาเพียงพอต่อความต้องการ ณ จำนวน 40% ของประชากรโลกภายในปีนี้ ภาคการส่งออกไทยจะเติบโต 3.6% จากปี 2563 มีมูลค่า 237,200 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีกรอบการผันผวนตามสถานการณ์อยู่ระหว่าง -1.8% จนถึง 5.8%

แต่ถ้าหากว่าโลกไม่สามารถผลิตวัคซีนต้านโควิด-19 ออกมาเพียงพอต่อความต้องการ ณ จำนวน 40% ของประชากรภายในปีนี้ พร้อมทั้งมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 7-8 แสนคนต่อวัน จะทำให้ภาคการส่งออกหดตัว -0.8% มีมูลค่า 227,165 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีกรอบการผันผวนตามสถานการณ์อยู่ระหว่าง -6.2% จนถึง 1.4%

โดยมีปัจจัยบวกเป็นสถานการณ์เศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้าเริ่มพื้นตัว ประเทศต่างๆ เริ่มฉีดวัคซีนตั้งแต่ปลายปี 2563 ราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มปรับตัวขึ้นสูงกว่าปี 2563 ไปจนถึงการลงนามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ในขณะที่ปัจจัยเสี่ยงสำคัญคือ ไม่สามารถผลิตวัคซีนโควิด-19 ครอบคลุมประชากรโลก ค่าเงินบาทที่มีทิศทางแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง ปัญหาตู้สินค้าขาดแคลนและต้นทุนค่าขนส่งสูงขึ้น รวมถึงผลกระทบจากกรอบความตกลง EVFTA

ในรายละเอียดปี 2564 IMF, World Bank และ OECD คาดว่าเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว 5.2%, 4.0% และ 4.2% ตามลำดับ โดย World Bank คาดการณ์สถานการณ์แย่ที่สุด เศรษฐกิจโลกจะขยายตัวเพียง 1.6% หากการแพร่ระบาดยังลุกลามและการฉีควัคซีนล่าช้า ในขณะที่เศรษฐกิจจีนฟื้นตัวดี ส่วนสหรัฐอเมริกา ยูโรโซน และญี่ปุ่นก็เริ่มขยับฟื้นตัวบ้างแล้ว

ส่วนการผลิตวัคซีนเริ่มใช้ได้แล้วในหลายแห่งและคาดว่ากลุ่มประเทศอาเซียนจะเริ่มฉีดได้ทุกประเทศภายในปลายปีนี้ เพียงแต่ไม่ใช่ทั้งหมดของจำนวนประชากร ในขณะที่ภาพรวมทั่วโลกคาดว่าทั้งปีจะสามารถผลิตวัคซีนได้ 6,000 ล้านโดส สามารถฉีด 3,000 ล้านคน หรือราว 42% ของประชากรโลก โดยการฉีควัคซีนเป็นปัจจัยสำคัญ ถ้าหากไม่สามารถฉีดครบจำนวนประชากรจะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกไทยในแต่ละกรณีลดลง 10,035 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (301,049 ล้านบาท) หรือ -4.38%

โดยผลกระทบของการขาดแคลนวัคซีนจะส่งผลกระทบในแง่ความไม่มั่นใจต่อสินค้าของตลาดโลกจากประเทศไทยที่ยังมีโควิด แต่มีวัคซีนไม่เพียงพอ โดยจะมีการตรวจเข้มในสินค้าจากประเทศไทย นอกจากนั้น กำลังซื้อจากตลาดต่างประเทศจะไม่ฟื้นตัว 100% รวมถึงจะทำให้ต้นทุนในการขนส่งยังคงสูง จึงเสนอให้ตลาดสินค้าเกษตรไทยจัดทำมาตรการเปิดให้สามารถตรวจสอบสินค้าย้อนกลับได้ เปิดประกันภัยผู้บริโภคต่างประเทศ (ติด 1 แสน เสียชีวิต 1 ล้าน) จัดทำสติกเกอร์ Covid Free และล็อกดาวน์พื้นที่สินค้าเกษตรส่งออก ใน 1 เดือน

ในขณะที่ค่าเงินบาทที่ทวีความแข็งค่าก็เป็นปัจจัยสำคัญที่อาจจะทำให้ภาคการส่งออกไทยเติบโตน้อยลง ในกรอบค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น 1% มูลค่าส่งออกลดลง 0.11% เช่นเดียวกับปัญหาต้นทุนการขนส่งที่เพิ่มขึ้นจากการขาดแคลนตู้สินค้าส่งผลให้ต้นทุนค่าขนส่งสูงขึ้น 3-5 เท่าและการส่งออกลดลง -2.2% ในปี 2564

โดยมีประเด็นสำคัญที่ต้องติดตามผลกระทบต่อไปคือ นโยบายของโจ ไบเดน ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐ ข้อตกลงเบร็กซิต และการแบนสินค้าจีนของอังกฤษและแคนาดา

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า