SHARE

คัดลอกแล้ว

“ในอนาคตจะมีการศึกษาในอนาคต ว่าต้องมีภูมิคุ้มกันเท่าไหร่ ถึงจะป้องกันการติดเชื้อในอนาคตได้ และเมื่อลดลงแล้ว ต้องฉีดกระตุ้นเข็ม 2 เข็ม 3 เมื่อไหร่ แต่ตอนนี้ยังไม่มีการศึกษาตัวเลขที่ชัดเจน การตรวจก็ทำได้แค่รู้ว่าเท่าไหร่เฉยๆ เท่านั้น”

ศ.นพ.มานพ พิทักษ์ภากร หัวหน้าศูนย์วิจัยการแพทย์แม่นยำ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายกับ workpointTODAY ถึงการตรวจหาภูมิคุ้มกันเชื้อโควิด-19 ในร่างกาย ที่มีประชาชนบางส่วนหาซื้อชุด Rapid Antibody Test Kit ที่เจาะเลือดกลายนิ้วมาใช้เอง แม้ปัจจุบันไม่มีการอนุญาตให้บุคคลที่ไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์ซื้อมาใช้เอง

พร้อมอธิบายวัตถุประสงค์ในการตรวจหาภูมิคุ้มกันร่างกายว่ามีอย่างเดียวคือ การหาภูมิคุ้มกันร่างกายต่อเชื้อโควิด-19 เพื่อดูว่าติดเชื้อหรือไม่ติดเชื้อหรือเคยติดเชื่อมาก่อนหรือไม่เท่านั้น ส่วนการตรวจหลังฉีดวัคซีน ไม่แนะนำให้ตรวจ เพราะถือว่าไม่มีประโยชน์ในการที่จะบอกอะไรเลย เนื่องจากระดับภูมิคุ้มกันในวัคซีนแต่ละตัวหลังฉีดแล้ว จะมีระดับไม่เท่ากันในแต่ละบุคคลแน่นอน และสิ่งเหล่านี้เรารู้กันอยู่แล้วว่า วัคซีน mRNA อย่าง ไฟเซอร์ โมเดอร์นา ฉีดแล้วภูมิคุ้มกันจะขึ้นสูงมาก วัคซีนไวรัลเวกเตอร์ แอสตร้าเซนเนก้าก็จะรองลงมา วัคซีนเชื้อตาย อย่างซิโนแวค ซิโนฟาร์ม ก็จะรองลงมาอีก

ศ.นพ.มานพ ระบุว่า ปัจจุบันยังไม่มีตัวเลขหรือเกณฑ์ของระดับภูมิคุ้มกันที่ชัดเจนว่าเท่าไหร่ถึงจะป้องกันการติดเชื้อได้ เชื่อว่าหลังจากนี้จะมีการศึกษาว่าต้องมีภูมิคุ้มกันเท่าไหร่ ถึงจะป้องกันการติดเชื้อในอนาคตได้ รวมทั้งค่าที่จะบอกว่าภูมิคุ้มกันลดลงแล้ว ต้องฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 2 เมื่อไหร่ เข็มที่ 3 เมื่อไหร่ แต่ตอนนี้ยังไม่มีการศึกษาตัวเลขที่ชัดเจน

“สำหรับภูมิคุ้มกันร่างกายที่ทางการแพทย์ให้ความสนใจ คือ ภูมิคุ้มกันที่จะป้องกันไม่ให้เราติดเชื้อต่อไปในอนาคต เราฉีดวัคซีน เราก็เพื่อป้องกันการติดเชื้อต่อไปในอนาคต หรือติดเชื้อและหายแล้ว ภูมิคุ้มกันนั้นก็จะป้องกันไม่ให้เราติดเชื้อต่อไปในอนาคต เราสนใจตรงนี้มากกว่า” ศ.นพ.มานพ กล่าว

นอกจากนี้ยังระบุว่าการตรวจ Rapid Antibody Test Kit เป็นการตรวจเพื่อที่จะดูว่าเรามีภูมิคุ้มกันหรือไม่ ซึ่งภูมินั้นอาจจะเป็นภูมิจากการฉีดวัคซีน หรือภูมินั้นอาจจะมาจากการติดเชื้อมาก่อนและหายแล้ว เพราะฉะนั้นชุดตรวจที่เรียนว่า Rapid test  ต้องดูให้ดี เพราะคนมักจะสับสน ระหว่าง Rapid Antigen test kit ที่แยงจมูก กับ Rapid Antibody Test Kit ที่เจาะปลายนิ้ว เป็นคนละอย่างกัน ที่สำคัญการตรวจหาภูมิคุ้มกันร่างกาย ว่าหลังฉีดวัคซีนมีภูมิหรือไม่ รือร่างกายมีการติดเชื้อหรือไม่ แต่ก็แยกไม่ได้ จึงไม่เกิดประโยชน์ใดๆ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า