อภิสิทธิ์-คุณหญิงสุดารัตน์ แนะรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ รับร่างรัฐธรรมนูญ ทั้ง 7 ฉบับที่จะเข้าสู่การพิจารณาวาระแรก 17 พ.ย. นี้ ‘ส.ว.คำนูน’ ระบุเตรียมอภิปรายร่างกฎหมายที่เสนอโดยไอลอว์
วันที่ 13 พ.ย. 2563 เครือข่ายภาคประชาชนกว่า 30 องค์กร จัดเวทีสภาที่สาม เวทีสาธารณะภาคประชาชน บทบาทรัฐสภาในการโหวตแพ้ไขรัฐธรรมนูญ 7 ญัตติ กับจุดเปลี่ยนของประเทศไทย เพื่อเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
จากกรณีวันที่ 17 พ.ย.นี้ รัฐสภามีกำหนดการประชุมพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 7 ร่างซึ่งรวมถึงร่างของภาคประชาชนที่นำเสนอ โดยไอลอว์ (ilaw) สภาที่ 3 ภาคประชาชน ครป. และ 30 องค์กรประชาธิปไตย จึงจัดการประชุมทางการเมือง เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญและความขัดแย้งทางการเมือง เรียกร้องให้รัฐสภา ทั้ง ส.ส. และ ส.ว. โหวตแก้ไขรัฐธรรมนูญและความขัดแย้งเพื่อเป็นทางออกให้ประเทศไทย ผ่านเวทีสาธารณะภาคประชาชน ในหัวข้อ “บทบาทรัฐสภาในการโหวตแก้รัฐธรรมนูญ 7 ญัตติ กับจุดเปลี่ยนประเทศไทย” โดยมีผู้ร่วมอภิปราย อาทิ รศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ประธาน ครป., อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี, คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานก่อตั้งสถาบันสร้างไทย และนายคำนูญ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวโดยสรุปว่า เมื่อปี 2559 ตนเป็นคนหนึ่งที่ออกมาแสดงความเห็นไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน แม้ว่ามีคนบอกว่าเป็นรัฐธรรมนูญปราบโกง แต่ส่วนตัวมองว่า มีอำนาจตรวจสอบเบาบาง และเป็นรัฐธรรมนูญไม่ให้สิทธิประชาชน เป็นจุดสร้างความขัดแย้ง โดยเฉพาะปมที่มาของ ส.ว ส่วนตัวจับตาดูเหตุการณ์การชุมนุมซึ่งขณะนี้มองสถานการณ์ข้างหน้า 3 ทาง คือ ถ้าปล่อยไปแบบนี้ จะจบที่ความรุนแรง ต้องมีเวทีให้พื้นที่สองฝ่ายมาหารือร่วมกัน ถ้าทำได้จะคลี่คลายสถานการณ์กับรัฐบาลแกก้ไขเอาตัวรอดไปเฉพาะหน้า
สำหรับในวันที่ 17-18 พ.ย. นี้ เชื่อว่า จะเริ่มมีคำตอบที่ชัดเจนขึ้นว่าจะมีทางออกอย่างไร ถ้ารัฐบาลเลือกที่จะปฏิเสธแก้ไขรัฐธรรมนูญ การคลี่คลายความขัดแย้งแทบไม่เหลือ ประเทศไปต่อไม่ได้ ดังนั้นเสนอให้รัฐบาลต้องรับหลักการรัฐธรรมนูญ ทั้ง 7 ฉบับ ต้องปลดล็อกมาตรา 256 ต้องมีกระบวนการเขียนรัฐธรรมนูญแทนฉบับนี้ขึ้นมา ยกตัวอย่าง ร่างของไอลอว์ที่มีการเสนอตั้ง ส.ส.ร.
โดยเนื้อร่างของไอลอว์ครึ่งหนึ่งคาบเกี่ยวกับร่างฝ่ายค้าน 4 ฉบับ แต่ข้อเท็จจริง ในกระบวนการผ่านมาตรา 256 และเพิ่มการยกร่างรัฐธรรมนูญ แต่หากรัฐบาลปฏิเสธร่างรัฐธรรมนูญของประชาชนจะทำให้เกิดความตึงเครียด ซึ่งอาจจะทำให้รัฐบาลใช้วิธีการเดิม เกิดปัญหาวังวนเดิม และมองว่าหากรัฐบาลรับหลักการไว้ก่อน จะทำให้มองว่าผู้มีอำนาจรับรู้ถึงปัญหา และเสนอให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แสดงบทบาทให้มากขึ้นเพื่อรับผิดชอบกับสถานการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น เพื่อแสดงสปิริตให้ ส.ว. และพรรคร่วมรัฐบาลได้เห็น
ด้านคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานก่อตั้งสถาบันสร้างไทย กล่าวว่า ปัญหาความขัดแย้งนี้ครั้งนี้มีความรุนแรงมากที่สุด โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นศูนย์กลางแห่งความขัดแย้ง จากการเขียนรัฐธรรมนูญสืบทอดอำนาจให้ตนเองและพวกพ้องเสนอทางออก ด้วยการ สร้างพื้นที่ปลอดภัย แก้ไขรัฐธรรมนูญและ คืนอำนาจให้กับประชาชน ทั้งนี้เสนอบันได 3 ขั้น คือ
1. ตั้งคณะกรรมการเพื่อการแสวงหาทางออกให้กับประเทศไทย ซึ่งคณะกรรมการต้องมีกฎหมายรับรอง มีช่วงเวลาชัดเจน ต้องจบใน 3-5 เดือน ต้องมีคนที่เป็นกลางและผู้เห็นต่างหลากหลาย โดยเฉพาะนักเรียน นักศึกษาต้องนั่งเป็นกรรมการ และต้องยุติการดำเนินคดีผู้มีความเห็นต่าง
2. แก้รัฐธรรมนูญอย่างเร่งด่วน ให้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน รัฐสภาจำดป็นต้องผ่านร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งร่างที่เสนอโดยพรรคฝ่ายค้านพรรครัฐบาลและร่างจองประชาชนหรือ iLaw เร่งให้พิจารณาให้แล้วเสร็จทั้ง 3 วาระภายในต้นเดือนธันวาคม เร่งให้มีการเลือก ส.ส.ร. เพื่อให้ประชาชนมีตัวแทนไปร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนให้เสร็จใน 8 เดือน และตัดสิทธิ์อำนาจสว.เลือกนายกรัฐมนตรี
3. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีต้องลาออกหลังสภาผ่างร้างแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือต้นเดือนธันวาคม เพื่อเปิดทางให้เลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ในกลไกรัฐสภา เพื่อเกินหน้าร่างระฐธรรมนูญและจะดการเลือกตั้งใหม่ไม่เกินปลายปี 2564
ทั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ และคุณหญิงสุดารัตน์ มีความเห็นสอดคล้องกันว่า ในวันที่ 17 -18 พ.ย. นี้ รัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ควรจะต้องรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทุกฉบับ ไม่ใช่เฉพาะบางร่าง จึงจะเป็นโอกาสทางออกของสถานการณ์
ด้านนายคำนูน สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา แสดงความเห็นว่า จากการอ่านร่างรัฐธรรมนูญของพรรครัฐบาลและฝ่ายค้าน6 ฉบับ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มแรก ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่เสนอแก้มาตรา 256 และแก้รัฐธรรมนูญเป็นฉบับใหม่กลุ่มสอง ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา อย่างไรก็ตามส่วนตัวเห็นด้วยในหลักการร่างรัฐธรรมนูญที่1, 2และ 4
นายคำนูน ระบุว่า ในวันที่ 17 พ.ค. นี้ จะใช้สิทธิอภิปรายจุดอ่อนของร่างรัฐธรรมนูญไอลอว์ในรายละเอียดที่มีข้อเสนอ 9 ประเด็น ซึ่งตนมองว่า มีปัญหา 2 ประเด็น จากการให้มีการยกเลิกกฎหมาย 7 ฉบับ จากทั้งหมด 10 ฉบับ โดยการยกเลิกกฎหมายใน 7 ฉบับ มีพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ซึ่งหากมีการบังคับใช้ร่างฉบับนี้จริง จะมีผลเสียกับคดีที่ต่อสู้ในชั้นศาลและคดีที่มีการใช้กฎหมายไปแล้ว เสมือนเป็นการนิรโทษกรรมกับคนที่กระทำผิดทุจริต ซึ่งหากมีการยกเลิกพระราชบัญญัติประกอบฉบับนี้ จะทำให้บ้านเมืองตกอยู่ในสูญญากาศของการตรวจสอบทุจริตนาน 5 – 6 เดือน เพราะไม่มีส.ว. ทำหน้าที่ ขณะที่ในการทำหน้าที่ของชั้นกรรมาธิการสามารถหน้าที่ได้เพียงแค่ครึ่งเดียวไม่สามารถร่างกฎหมายได้ ขณะที่กฎหมายอาญาไม่เพียงพอ