SHARE

คัดลอกแล้ว

นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายเศรษฐกิจ

ครม. รับทราบและอนุมัติให้ รฟท. ร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินกับกลุ่มกิจการร่วมการ ซีพี วงเงิน 149,650 ล้านบาท รัฐแบ่งจ่าย 10 ปี ปีละ 14,965 ล้านบาท

เมื่อวันที่ 28 พ.ค.62 นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายเศรษฐกิจ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.)  ครั้งที่ 4/2562  เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2562 เรื่อง โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ตามที่เสนอกระทรวงคมนาคมเสนอ และให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ร่วมลงทุนกับนิติบุคคลเฉพาะกิจ ซึ่งเอกชนที่ได้รับคัดเลือกจะจัดตั้งขึ้น เพื่อประกอบกิจการการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน หากไม่มีข้อทักท้วงหรือไม่มีความเห็นเป็นอย่างอื่นถือว่าคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหรือเห็นชอบตามมติ กพอ.

พร้อมกับ เห็นชอบให้ รฟท. ร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินกับเอกชนที่ได้รับคัดเลือกตามที่ กพอ. ได้เห็นชอบไว้  เพื่อให้เป็นการปฏิบัติตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494

นอกจากนี้ เห็นชอบให้สำนักงบประมาณ (สงป.) จัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีเพื่อชำระเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินตามที่คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2561 ได้มีมติอนุมัติ โดยการจัดสรรงบประมาณดังกล่าวจะอยู่ในลักษณะการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณมากกว่าหนึ่งปี งบประมาณสำหรับรายการงบประมาณที่มีวงเงินตั้งแต่1,000 ล้านบาทขึ้นไป  ตามนัยมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 และอนุมัติให้ รฟท. ดำเนินการก่อหนี้ผูกพันเกินกว่าหรือนอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายได้ ตามนัยมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561

สำหรับดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน วงเงิน 149,650 ล้านบาท

ทั้งนี้ รฟท. จะชำระเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินแก่เอกชนที่ได้รับคัดเลือก  ด้วยการแบ่งจ่ายเป็นรายปี ปีละไม่เกิน 14,965 ล้านบาท เป็นเวลา 10 ปี หลังจากเริ่มการให้บริการโครงการเกี่ยวกับรถไฟ  ตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่กำหนดในสัญญาร่วมลงทุน

“มูลค่าลงทุนโครงการนี้เมื่อรวมส่วนของเอกชนแล้วจะอยู่ที่ 224,500 ล้านบาท อายุสัมปทาน 50 ปี เมื่อครบกำหนดแล้วทรัพย์สินทั้งหมดจะตกเป็นของรัฐมูลค่าคิดเป็นประมาณ 3 แสนล้านบาท สำหรับกำหนดการเปิดใช้คาดว่าจะเริ่มให้บริการได้ในปี 2567 เป็นต้นไป” นายณัฐพร กล่าว

สำหรับบริษัทเอกชนที่ได้รับการคัดเลือกประกอบกิจการการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน คือ กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ซึ่งประกอบด้วย ประกอบด้วย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (ประเทศไทย), บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD, China Railway Construction Corporation Limited (สาธารณรัฐประชาชนจีน), บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย), บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM

แนวเส้นทางโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน

 

แนวเส้นทางโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โดยให้เอกชนเข้าร่วมทุน

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง:

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า