SHARE

คัดลอกแล้ว

การแพร่ระบาดของโควิดส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกอย่างหนักหน่วง โดยในเดือน ม.ค. 2020 ที่เริ่มมีรายงานการระบาดของโควิด ธนาคารโลกคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัว 2.5% ในปีนั้น

กระทั่งในเดือน ม.ค. 2021 ที่โควิดยังระบาดไปทั่วโลก ธนาคารโลกคาดว่าเศรษฐกิจโลกในปี 2020 หดตัว 4.3% หรือต่ำกว่าที่ประมาณการไว้ถึง 6.8 จุด

ไม่เพียงเท่านั้น ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำนี้ยังส่งผลให้เทรนด์ที่คนทั่วโลกจะหลุดพ้นจากความยากจน และก้าวไปสู่ชนชั้นกลางนั้นต้องหยุดชะงัก

โดยสถาบันวิจัยอย่าง Pew Research Center เผยผลวิเคราะห์ที่ออกมาในเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา ระบุว่า ในปี 2020 มีจำนวนชนชั้นกลางน้อยกว่าที่ประมาณการไว้ 54 ล้านคน ขณะที่จำนวนคนยากจนเพิ่มขึ้น 131 ล้านคน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย

ทั้งนี้ งานวิจัยดังกล่าวประเมินว่า ในปี 2020 ประชากรโลก 17% ถูกจัดอยู่ในกลุ่มชนชั้นรายได้ปานกลาง (คือมีค่าครองชีพอยู่ที่ 330-660 บาทต่อวัน), 51% เป็นกลุ่มรายได้ต่ำ (66-330 บาท), 10% เป็นคนยากจน (น้อยกว่า 66 บาท), 15% เป็นกลุ่มระดับกลาง-บน (660-1,642 บาท) และ 7% เป็นกลุ่มคนรายได้สูง (มากกว่า 1,642 บาทต่อวัน)

งานวิจัยชิ้นนี้ยังเผยโปรแกรมคำนวณ ที่ช่วยให้เห็นว่าสถานภาพของเราว่าจัดอยู่ในกลุ่มไหน เพียงแค่กรอกประเทศและข้อมูลรายได้


Rakesh Kochhar นักวิจัยอาวุโส กล่าวว่า โปรแกรมคำนวณนี้ได้รับการออกแบบให้เป็น “คู่หูในการวิจัยเรื่องขนาดและสวัสดิภาพของคนชั้นกลางทั่วโลก”

ทั้งยังอาจเป็นประโยชน์และเป็นวิธีที่ง่าย สำหรับคนที่อยากรู้ว่าตัวเองอยู่ตรงจุดไหนในเชิงเศรษฐกิจ เมื่อเทียบกับคนอื่นๆ ทั่วโลก

งานวิจัยนี้ยังแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงไปจากการคาดการณ์ และการย้อนกลับในแนวโน้มของทศวรรษที่ผ่านมา

กล่าวคือ ตั้งแต่ปี 2011-2019 Pew พบว่าจำนวนประชากรชนชั้นกลางทั่วโลกมีขนาดการเติบโตที่แข็งแกร่ง คือ เพิ่มขึ้น 436 ล้านคน (ซึ่งส่วนใหญ่มาจากประเทศจีน) และโลกกำลังเคลื่อนตัวออกจากความยากจนอย่างต่อเนื่อง (จากจำนวนประชากรคนยากจนที่ 390 ล้านคน)

อย่างไรก็ตาม Kochhar ระบุว่า การแพร่ระบาดได้ทำลายแนวโน้มนี้ลงไป และที่น่าสนใจคือ จำนวนคนยากจนที่เพิ่มขึ้น กับจำนวนชนชั้นกลางที่น้อยกว่าคาดการณ์ มีความเชื่อมโยงกันในทางภูมิศาสตร์

โดยจากจำนวนคนยากจนที่เพิ่มขึ้น 131 ล้านคน ส่วนใหญ่อยู่ในเอเชียใต้ โดยเฉพาะอินเดียและทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮารา ส่วนชนชั้นกลางที่น้อยกว่าประมาณการ 54 ล้านคนนั้น ส่วนใหญ่อยู่ในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออก

ทั้งนี้ จำนวนชนชั้นกลางทั่วโลกเป็นตัวเลขสำคัญอย่างยิ่งในการใช้วัดความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของคนกลุ่มนี้ แสดงให้เห็นถึงการก้าวไปอีกขั้นของกลุ่มคนจนหรือผู้มีรายได้น้อย

Kochhar กล่าวอีกว่า ในเชิงเศรษฐศาสตร์ยังสะท้อนถึงความไม่เท่าเทียมกันของโลก กล่าวคือ หากชนชั้นกลางมีขนาดใหญ่กว่า ก็สะท้อนถึงมาตรฐานการครองชีพที่ไม่ต่างกันนัก แต่หากชนชั้นกลางมีขนาดเล็กกว่า ก็จะสะท้อนให้เห็นถึงช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวยที่ใหญ่ขึ้นนั่นเอง

อ้างอิง:

https://www.pewresearch.org/global/2021/03/18/the-pandemic-stalls-growth-in-the-global-middle-class-pushes-poverty-up-sharply/

https://www.fastcompany.com/90660364/are-you-in-the-global-middle-class?partner=rss&utm_source=twitter.com&utm_medium=social&utm_campaign=rss+fastcompany&utm_content=rss

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า