Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

วันที่ 7 ก.พ.63 สื่อต่างประเทศรายงานว่า ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์หัวหนาน (South China Agricultural University) นครกว่างโจว มณฑลกวางตุ้ง โดยนายหลิว หย่าหง อธิการบดีมหาวิทยาลัยฯ เปิดเผยว่าคณะนักวิจัยวิเคราะห์ตัวอย่างเมตาจีโนม (metagenome) ของสัตว์ป่าหลายชนิดมากกว่า 1,000 ตัวอย่าง ก่อนพบว่าตัวนิ่มเป็นโฮตส์ตัวกลางที่มีความเป็นไปได้สูงสุด

การศึกษาแบบเมตาจีโนมิกส์ที่นักวิจัยใช้นั้นเป็นวิธีศึกษาจีโนมของจุลินทรีย์ทั้งหมดที่มีในตัวอย่างธรรมชาติด้วยการสกัดดีเอ็นเอ (DNA) จากตัวอย่างที่ต้องการศึกษาโดยตรงโดยไม่ต้องเพาะเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์ การตรวจสอบทางอณูชีววิทยา (Molecular biological detection) หรือการศึกษาระดับโมเลกุลในการวิจัยครั้งนี้ เปิดเผยว่าอัตราบวก (Positive rate) ของไวรัสโคโรนากลุ่มเบตา หรือ เบตาโคโรนาไวรัส (Betacoronavirus) ในตัวนิ่มนั้นอยู่ที่ร้อยละ 70 ต่อจากนั้นนักวิจัยทำการแยกไวรัสออกมา และศึกษาโครงสร้างด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนซึ่งเป็นกล้องกำลังขยายสูง ก่อนพบว่าลำดับจีโนมของไวรัสดังกล่าวคล้ายคลึงกับไวรัสที่ติดในมนุษย์ถึงร้อยละ 99

ทั้งนี้ เบตาโคโรนาไวรัส คือไวรัสโคโรนากลุ่มที่ก่อโรครุนแรงในมนุษย์ ซึ่งข้ามสายพันธุ์มาจากสัตว์ อาทิ ไวรัสโคโรนาโรคซาร์ส (SARS-CoV) ไวรัสโคโรนาโรคเมอร์ส (MERS-CoV) และไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (2019-nCoV) โดยนายหลิว หย่าหง ระบุว่าผลการวิจัยจึงชี้ว่าตัวนิ่มเป็นโฮสต์ตัวกลางที่เป็นไปได้ของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ พร้อมเสริมว่างานวิจัยฉบับนี้จะช่วยสนับสนุนการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสฯ ตลอดจนเป็นแหล่งอ้างอิงเชิงวิทยาศาสตร์สำหรับนโยบายเกี่ยวกับสัตว์ป่าได้ด้วย

ด้านศาสตราจารย์เสิ่น หย่งอี้ หนึ่งในสมาชิกทีมนักวิจัย ระบุว่างานวิจัยก่อนหน้านี้ชี้ว่าไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่มีต้นกำเนิดจากค้างคาว แต่เนื่องจากการแพร่ระบาดครั้งนี้เกิดขึ้นในฤดูหนาว มนุษย์จึงไม่น่าติดเชื้อจากค้างคาวโดยตรงได้ เพราะค้างคาวยังอยู่ในช่วงจำศีล

โดยทาง ศ.เสิ่น หย่งอี้ กล่าวว่า “ภารกิจของเราคือการตามหาโฮสต์ตัวกลางที่ ‘เชื่อม’ ระหว่างค้างคาวกับมนุษย์ ซึ่งตามปกติสิ่งมีชีวิตที่เป็นโฮสต์ตัวกลางของปรสิตจะมีหลายตัว และตัวนิ่มอาจเป็นแค่เพียงหนึ่งในนั้น และเราก็หวังว่าผลการวิจัยนี้จะเป็นสิ่งย้ำเตือนให้มนุษย์อยู่ห่างจากสัตว์ป่า และในอีกทางหนึ่งเราก็อาจจะแบ่งปันผลการวิจัยนี้แก่บรรดานักวิจัย จะได้ใช้โอกาสนี้ร่วมกันศึกษาหาโฮสต์ตัวกลางที่เป็นไปได้อื่นๆ เพื่อเสริมแนวทางป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดต่อไป”

 

 

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า