SHARE

คัดลอกแล้ว

“รองนายกฯ ประวิตร” ลงพื้นที่ตรวจสถานการณ์น้ำเขื่อนอุบลรัตน์ มอบ สทนช. เป็นหน่วยงานหลักบูรณาการทุกหน่วยงานน้ำ กำชับให้ทำฝนเทียมต่อเนื่องในพื้นที่เหนือเขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น เพื่อเติมน้ำในเขื่อน หลังพบว่าปริมาณน้ำยังน้อย

เมื่อวันที่ 7 ก.ย.62 พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ตรวจราชการในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สถานการณ์น้ำในเขื่อนอุบลรัตน์ และตรวจเยี่ยมโครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบปัญหาภัยแล้ง พร้อมสั่งการให้ความช่วยเหลือพื้นที่ประสบภัยแล้ง รวมทั้งพื้นที่ที่ประสบปัญหาอุทกภัยในช่วงที่ผ่านมา โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมด้วยชาวขอนแก่น ให้การต้อนรับ ณ เขื่อนอุบลรัตน์ ต.เขื่อนอุบลรัตน์ อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลมีความห่วงใยในปัญหาภัยแล้ง และปัญหาน้ำท่วมในหลายพื้นที่ของประเทศเนื่องจากอิทธิพลพายุ “โพดุล” และ “คาจิกิ” ในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การลงพื้นที่ในวันนี้ จึงเป็นการเดินทางมาติดตามสถานการณ์ในพื้นที่จริง รวมทั้งให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานช่วยเหลือประชาชนทุกคน ทั้งนี้ ได้รับรายงานจาก สทนช. ว่า อิทธิพลพายุโซนร้อนโพดุลและคาจิกิที่ทำให้เกิดฝนตกในหลายพื้นที่  ช่วงระหว่างวันที่ 29 ส.ค.-7 ก.ย.62 ส่งผลดีกับปริมาณน้ำเก็บกักในแหล่งน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง

โดยคาดว่าจะมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นกว่า 7 พันล้าน ลบ.ม. แบ่งเป็น ภาคเหนือ 1,890 ล้าน ลบ.ม. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2,760 ล้าน ลบ.ม. ภาคตะวันออก 220 ล้าน ลบ.ม. ภาคตะวันตก 1,800 ล้าน ลบ.ม. ภาคกลาง 200 ล้าน ลบ.ม. และภาคใต้ 270 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งทำให้อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่พ้นวิกฤติน้ำน้อยกว่า 30% ไปแล้ว 2 แห่ง คือ เขื่อนจุฬาภรณ์ จ.ชัยภูมิ และเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก ทั้งนี้ ปริมาณฝนที่เพิ่มขึ้นจากอิทธิพลพายุทำให้พื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้งเริ่มคลี่คลายในบางจังหวัดแล้ว

สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมที่จังหวัดขอนแก่น มีพื้นที่ได้รับผลกระทบที่อำเภอบ้านไผ่ มีน้ำท่วมสูง 1-3 เมตร ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน 1,000 ครอบครัว ส่วนที่ ต.บ้านลาน ต.แคนเหนือ ต.หนองน้ำใส ต.ในเมือง ต.บ้านไผ่  มีน้ำท่วมสูง 2.50–3 เมตร ขณะที่ในบริเวณเขตเศรษฐกิจเมืองขอนแก่น เกิดน้ำท่วมบริเวณผิวถนนมะลิวัลย์และมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัจจุบันระดับน้ำได้ลดลงและเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว

ทั้งนี้ อิทธิพลของพายุส่งผลให้มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ เพิ่มขึ้น โดยพบว่า มีอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง จำนวน 5 แห่ง ที่ยังมีน้ำไหลเข้าอ่างฯ อย่างต่อเนื่องและต้องเฝ้าระวังปริมาณน้ำมาก ได้แก่ อ่างเก็บน้ำแก่งละว้า (109%) อ่างเก็บน้ำละเลิงหวาย (104%) อ่างเก็บน้ำห้วยทราย (100%) อ่างเก็บน้ำห้วยยาง (97%) และอ่างเก็บน้ำหนองกรองแก้ว (84%) ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้ สทนช. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการพร่องน้ำในอ่างเก็บน้ำทั้ง 5 แห่ง ให้สอดคล้องกับเกณฑ์การบริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำ (Rule Curve) และไม่ทำให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่ด้านท้ายอ่างเพิ่มเติม นอกจากนั้น ยังให้เร่งให้ความช่วยเหลือพื้นที่น้ำท่วมเพื่อให้สถานการณ์คลี่คลายและกลับเข้าสู่สภาวะปกติโดยเร็ว

สำหรับที่เขื่อนอุบลรัตน์แม้ว่าอิทธิพลพายุในช่วงที่ผ่านมาจะทำให้มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำราว 159 ล้าน ลบ.ม. แต่ระดับน้ำยังคงต่ำกว่าระดับน้ำต่ำสุด (LRC) โดยมีปริมาณน้ำปัจจุบันอยู่ที่ 602 ล้าน ลบ.ม. (25%) มีปริมาณน้ำใช้การอยู่ที่ 21 ล้าน ลบ.ม. (1%) ทำให้ไม่สามารถระบายน้ำเพื่อการเกษตรได้ และมีความจำเป็นต้องนำน้ำจาก Dead storage มาใช้เพื่อการอุปโภค-บริโภคและรักษาระบบนิเวศ หากน้ำยังคงน้อย ต้นฤดูแล้ง พ.ย. 2562 นี้ อาจมีผลทำให้ไม่สามารถส่งน้ำเพื่อการเกษตรได้ นอกจากนี้ ยังต้องเฝ้าระวังน้ำน้อยในอ่างฯ ขนาดกลางอีก 2 แห่ง ได้แก่ อ่างฯ ห้วยลอมไผ่ (13%) และอ่างฯ ห้วยเตย (30%)

รองนายกรัฐมนตรี กล่าวเพิ่มเติมว่า การแก้ไขปัญหาในเบื้องต้น ได้กำชับให้ สทนช. จะต้องเป็นหลักในการบูรณาการกับทุกหน่วยงานเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัย-ภัยแล้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ จ.ขอนแก่น ซึ่งการบริหารจัดการน้ำจะต้องเพิ่มการคาดการณ์ถึงความเสี่ยงต่อสภาพอากาศที่แปรปรวน พยายามเก็บกักน้ำไว้ให้ได้มากที่สุด แต่ต้องคำนึงถึงศักยภาพการระบายน้ำ สิ่งกีดขวางต่างๆ รวมทั้งความมั่นคงและปลอดภัยของอาคารด้วย หากสภาพอากาศเหมาะสมให้เร่งระดมการปฏิบัติการฝนหลวงในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ เพื่อบรรเทาพื้นที่เกิดภัยแล้งและช่วยเติมน้ำในอ่างฯ และต้องจัดสรรน้ำให้เพียงพอสำหรับการอุปโภคบริโภคและรักษาระบบนิเวศ รวมทั้งต้องประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนเกษตรกรล่วงหน้าให้รับทราบถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และให้ช่วยกันใช้น้ำอย่างประหยัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้ ควรมีการส่งเสริมอาชีพอื่นๆ ทดแทนรายได้ให้กับเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบด้วย

ด้าน นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวว่า สทนช. มีแผนการดำเนินการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ทั้งแผนระยะกลางและระยะยาวโดยการขับเคลื่อนโครงการสำคัญเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งอย่างเป็นระบบ (Area Based) ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 16 พื้นที่ เป้าหมายรวม 12.595 ล้านไร่ ประกอบด้วย 14 พื้นที่ (ท่วม+แล้ง 13 พื้นที่ และแล้ง 1 พื้นที่) 11.81 ล้านไร่ และ 2 พื้นที่พัฒนา 0.785 ล้านไร่ ในส่วนของ จ.ขอนแก่น ประกอบด้วย แผนงานปี 2562 จำนวน 277 โครงการ งบประมาณรวม  1,445 ล้านบาท เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จสามารถเพิ่มความจุเก็บกักรวมทั้งสิ้น 11 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่รับประโยชน์ 23,756 ไร่ พื้นที่ได้รับการป้องกัน 5,125 ไร่ และประชาชนรับประโยชน์ 11,027 ครัวเรือน อาทิ โครงการสถานีสูบน้ำพร้อมระบบส่งน้ำตำบลบ้านดง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ระยะที่ 2 แก้มลิงบึงละหานนาพร้อมอาคารประกอบ และฝายลำน้ำพองเก่า  เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีแผนงานในปี 63 – 65 จำนวน 396 โครงการ วงเงิน 18,536.69 ล้านบาท อาทิ โครงการสำรวจและพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลระดับลึกในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ ประตูระบายน้ำบ้านโนนเขวา และอ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้ เมื่อดำเนินการเสร็จแล้ว สามารถเพิ่มความจุกักเก็บ 46.32 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่รับประโยชน์ 69,315 ไร่ ประชาชนได้รับประโยชน์ 50,063 ครัวเรือน พื้นที่ได้รับการป้องกัน 32,000 ไร่ และป้องกันตลิ่ง 3,380 เมตร

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า