Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

หลายท่านอาจสงสัยและแปลกใจว่า ระยะหลังพ่อค้าแม่ค้าคนจีนที่ขายของออนไลน์ ถึงได้เริ่มเข้ามามีในตลาดมากขึ้นและส่งเร็วมากยิ่งขึ้น ทำให้พ่อค่าแม่ค้าไทยที่ขายของออนไลน์ (เรียกกันภาษาติดปากว่า “ยี่ปั๊วะ” หรือ “ซาปั๊วะ”) เกิดอาการกลืนไม่เข้า คายไม่ออก และบางรายถึงขั้นขาดทุน ต้องพับเสื่อเลิกกิจการกันไป เพราะเจอพ่อค้าแม่ค้าจีน ขายโดยตรงถึงผู้ซื้อชาวไทย บ้างก็มองว่านี่เป็นการทุ่มตลาด หรือการเอื้อประโยชน์ให้กับพ่อค้าชาวจีนโดยรัฐบาลปิดตาข้างหนึ่ง เป็นต้น

บทความชิ้นนี้ นำเสนอว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นผลจากแรงผลักสามประการ ประกอบไปด้วย การเปลี่ยนแปลงวิธีการกระจายสินค้า การได้ประโยชน์ทางภาษีของ ASEAN-China FTA และประโยชน์ที่ได้จากระบบไปรษณีย์ของประเทศจีน ซึ่งอย่างหลังสุดกำลังเป็นปัญหาใหญ่มาก และมีกระแสเรียกร้องให้เลิกสิทธิประโยชน์กับจีนในเรื่องเหล่านี้ด้วย

ทั้งหมดนี้ทำให้พ่อค้าชาวจีน มีพลังเหนือกว่าพ่อค้าชาวไทยที่ไปรับของจากประเทศจีนมาขาย และในท้ายที่สุดก็ทำให้มีข้อได้เปรียบในการแข่งขันที่มากกว่าด้วย

เปลี่ยนวิธีกระจายสินค้า สู่การถูกลง ส่งเร็ว

ประการแรกที่คงไม่กล่าวถึงไม่ได้ คือการเปลี่ยนแปลงวิธีกระจายสินค้า ซึ่งมีส่วนสำคัญมาก

แต่เดิม การกระจายสินค้าก็ยังคงเป็นไปแบบดั้งเดิม คือสั่งสินค้า หลังจากนั้นก็ส่งสินค้าออกจากประเทศจีน คนซื้อและคนขายก็ต้องมานั่งสวดมนต์ภาวนาให้ของไม่หายกลางทาง เพราะถ้าของหายกลางทาง นั่นก็แปลว่าคนซื้อก็มีความเสี่ยงที่จะไม่ได้ของ คนขายถ้าไม่ส่งซ้ำไปให้ก็อาจจะต้องคืนเงิน ไม่ก็เสี่ยงที่รีวิวสินค้าและร้านตัวเองบนแพลตฟอร์มขายของออนไลน์จะได้คะแนนต่ำ

ไม่นับว่ากระบวนการส่งสินค้าแบบนี้ จะต้องส่งสินค้าจากจุดต่อจุด (บางทีไปวนกันรอบโลก) กว่าจะมาถึงปลายทาง ก็ใช้เวลานานมาก และมีโอกาสที่จะแตกหัก หรือเสียได้ง่ายด้วย

สิ่งที่เกิดขึ้น วิธีแรก คือการมีพ่อค้าแม่ค้าชาวไทย เลือกดำเนินการเป็นการกระจายสินค้า (distribution point) คือรับสินค้าเข้ามาขาย แล้วก็คิดส่วนต่างเป็นทั้งกำไรและต้นทุนค่าดำเนินการบนสินค้านั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายคนอาจจะคุ้นเคย เพราะเป็นวิธีซื้อขายของกันเป็นปกติ

ต่อมา ก็มีกวิธีเกิดขึ้น คือการสั่งของจำนวนหนึ่งที่มีอุปสงค์ (demand หรือ ความต้องการ) เอามาวางไว้ในโกดังของประเทศปลายทาง ซึ่งก็ต้องเก็บสถิติกันว่าของชิ้นไหนยอดนิยมบ้าง จากนั้นเมื่อลูกค้าต้องการ ก็จัดการส่งของออกจากคลังสินค้าปลายทางได้ทันที (ภาษาอังกฤษเรียกว่า Last-mile delivery) ระหว่างนั้น สินค้าที่นำเข้ามาวางไว้ในคลัง ก็จะถูกเติมจากการส่งมาครั้งละมากๆ จากประเทศต้นทาง (ในที่นี้คือประเทศจีน) ทำให้ค่าส่งเมื่อคำนวนแล้วแต่ละชิ้นจะมีราคาที่ถูกลง เพราะเป็นการประหยัดต้นทุนเชิงขนาด (เทียบง่ายๆ คือ ซื้อเยอะๆ ถูกกว่า ในกรณีนี้ ส่งเยอะชิ้น ค่าส่งเมื่อหารออกมาต่อชิ้นแล้ว ถูกกว่า)

ในแง่นี้ ลูกค้าก็ได้สินค้าที่เร็วขึ้น ค่าส่งถูกลง กำไร (margin) มากขึ้นสำหรับคนขายโดยตรง แถมตัดผ่านตัวกลาง ทำให้กำไรที่ได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย และเมื่อสินค้าไม่พอก็รอรอบเรือหรือเครื่องบิน มาขนสินค้าตัวเองเอาไปไว้ในคลังสินค้าเพื่อรอการกระจาย

วิธีการนี้ แพลตฟอร์มซื้อขายของออนไลน์หลายแห่งก็เริ่มนำมาใช้ และนี่คือเหตุผลว่าทำไมระยะหลัง การกระจายสินค้าถึงเป็นไปได้รวดเร็ว รวมถึงเราเห็นแพลตฟอร์มเหล่านี้เริ่มส่งสินค้าเอง นอกเหนือไปจากผู้ให้บริการภายนอกที่คอยกระจายสินค้าให้ (แบบเดียวกับคลังสินค้าของ Amazon ที่บางครั้งบริษัท จะนำไปส่งเองบ้าง ให้คนอื่นส่งบ้าง)

แม้ลูกค้าจะได้สินค้าเร็วขึ้นก็ตาม แต่คนที่เสียประโยชน์โดยตรงคือพ่อค้าแม่ค้าชาวไทยที่กินส่วนต่าง (Margin) นั่นเอง ทำให้กำไรลดลงและแข่งขันไม่ได้ จนกระทั่งต้องเลิกกิจการไปในที่สุด

ASEAN-CHINA FTA (ACFTA) นำเข้าเสรีภายใต้กติกาอาเซียน

นอกเหนือไปจากการกระจายสินค้าแล้ว อีกประการหนึ่งคือการกำเนิดขึ้นของเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน ซึ่งเป็นข้อตกลงการค้าที่กลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งไทยเป็นหนึ่งในภาคีสมาชิก และลงนามรวมถึงให้สัตยาบันไปเมื่อปี 2545 และเริ่มบังคับใช้เมื่อปี 2547 (ปรับปรุงอีกครั้งเมื่อปี 2562)

ข้อตกลงนี้ ทำให้รายการสินค้าหลายประเภท มีภาระทางภาษีนำเข้าเป็น 0% (ไม่รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่ม) บางตัวได้ลด 25% (อยู่ในบัญชีสินค้าอ่อนไหว) หรือลดลง 50% (อยู่ในบัญชีสินค้าอ่อนไหวมาก) โดยจะต้องยื่นแบบฟอร์มพิสูจน์ที่มาของสินค้าว่ามาจากประเทศต้นทางจริง (ไม่เช่นนั้นจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี) ประกอบการนำเข้า

ปกติแล้ว การคิดคำนวณภาษีนำเข้า จะมาจากราคาศุลกากร คือ ราคาสินค้า + ราคาประกัน + ค่าส่ง (ชื่อย่อ C.I.F. – Cost Insurance Freight) หลังจากนั้นจะคูณด้วยอัตราภาษีศุลกากร และภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนั้นแล้วหากสินค้าที่เป็นข้อตกลงการค้าเสรีนำเข้า และอยู่ในบัญชีรายชื่อยกเว้น ก็จะทำให้ภาษีศุลกากรไม่มี คงเหลือแต่ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ 7% เท่านั้น (ซึ่งพ่อค้าแม่ขายของไทยก็ต้องเสีย) ปกติแล้วภาระส่วนนี้โดยมากก็จะเป็นหน้าที่ของผู้รับปลายทาง (หรือผู้นำเข้า) ซึ่งถ้าเป็นคลังกระจายสินค้าตามข้อแรก จึงอาจจะถูกคิดรวมไปจากค่าบริการเลย ทำให้คนที่เป็นเจ้าของคลังสินค้านั้นยินดีแบกรับภาระในส่วนนี้ไปโดยตรง

จุดนี้ จึงกลายเป็นสิ่งที่ได้เปรียบอีกอย่างหนึ่งของพ่อค้าแม่ค้าชาวจีน ที่เวลามาจำหน่ายสินค้าในลักษณะวางสินค้าและกระจายสินค้าผ่านคลังสินค้า จีงจ่ายค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการมีพ่อค้าและแม่ค้า รับของไปขายต่ออีกทอดหนึ่งอย่างแน่นอน เพราะภาษีศุลกากรไม่ต้องเสียในสินค้าหลายประเภท

ระบบไปรษณีย์โลก กับความได้เปรียบของจีน

แม้จะเจอสองขยักแรกแล้ว แต่ถ้าสมมติเป็นสินค้าที่คนไม่นิยม (อย่างเช่นปากกาหมึกซึม) แล้วถูกสั่งเข้ามา ไม้ตายสุดท้ายของพ่อค้าแม่ค้าจีน คืออะไร?

คำตอบอยู่ที่ ระบบไปรษณีย์สากล

ปกติแล้ว ระบบไปรษณีย์สากล จะมีสหภาพไปรษณีย์สากล อังเป็นองค์การชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ (แบบเดียวกับ ITU หรือสหภาพโทรคมนาคมโลก) ซึ่งระบบนี้ ค่าส่งของไปรษณีย์ข้ามประเทศ จะถูกชดเชยจากประเทศปลายทางที่ส่ง เช่น สมมติส่งไปรษณีย์จากไทยไปออสเตรเลีย ไปรษณีย์ออสเตรเลีย (Australia Post: AusPost) จะออกค่าใช้จ่ายในการส่งให้กับไปรษณีย์ไทยบางส่วน

คราวนี้ แต่ละประเทศก็จะมีระดับของการจ่ายอยู่ แล้วแต่ว่าประเทศนั้นอยู่ในสถานะไหน ในกรณีของประเทศจีน ติดอยู่ในกลุ่มประเทศ “transitional” (แปลเป็นไทยว่า “กำลังเปลี่ยนผ่าน”) ทำให้อัตราค่าส่งถูกกว่า และต้องถูกชดเชยด้วยไปรษณีย์ปลายทางที่ต้องจ่ายให้กับไปรษณีย์ต้นทางนั่นเอง

นี่จึงเป็นคำอธิบายว่าทำไม ผู้ค้าชาวจีน จึงสามารถส่งสินค้าจากจีนไปยังทั่วโลก ด้วยค่าส่งที่แสนถูก (บางทีก็น้อยมากจนฟรีนั่นเอง)

เรื่องเช่นนี้ก็เกิดขึ้นที่สหรัฐอเมริกา หนังสือพิมพ์อย่าง South China Morning Post หรือ Financial Times ออกมารายงานรัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้การนำของประธานาธิบดี Donald Trump ก็ไม่พึงพอใจอย่างมาก เพราะนโยบายเช่นนี้ทำให้ไปรษณีย์สหรัฐฯ ขาดทุนในด้านการขนส่งอย่างหนัก และถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ไปรษณีย์สหรัฐ (USPS) มีหนี้สินมากระดับล้นพ้นตัว

ดังนั้นแล้ว ประเทศจีน จึงมีข้อได้เปรียบในเชิงกลไกไปรษณีย์ระหว่างประเทศเสริมเข้าไปด้วย

ทางออกสำหรับคนไทย?

เมื่อเป็นเช่นนี้ ทางออกสำหรับพ่อค้าแม่ค้าไทย หรือผู้ประกอบการไทย จะทำอย่างไรได้บ้าง?

ประการแรก ต้องยอมรับว่ากลไกการขนส่งคือหัวใจที่สำคัญที่สุด ดังนั้นแล้วอาจต้องเปลี่ยนวิธีคิด มาเป็นคลังสินค้าโดยตรงให้กับผู้ผลิตชาวจีน ซึ่งวิธีคิดนี้ก็มีบ้างแล้ว บางคลังสินค้าก็มีบริการครบวงจร คือจัดการให้จนกระทั่งการส่งขั้นสุดท้าย (last-mile delivery) ซึ่งสิ่งนี้คือชัยชนะของบริษัทอย่าง Amazon, Alibaba เป็นต้น

ประการที่สอง หน่วยงานราชการไทยอาจจะต้องไปเจรจาเพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนเงื่อนไขของ UPU ซึ่งน่าจะเป็นเรื่องที่ยาก เพราะการปรับเปลี่ยนเหล่านี้มักมีการเมืองระหว่างประเทศที่ซับซ้อน และกินระยะเวลายาวนาน

ประการสุดท้าย อาจเป็นเรื่องของการเจรจาข้อตกลงทางการค้าใหม่ ซึ่งในกรณีของไทยที่ไปผ่าน ACFTA นั้น ก็ไม่น่าจะใช้เรื่องง่ายเช่นเดียวกัน

ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับผู้ประกอบการหลายคน อาจจะต้องหาวิธีคิดในการทำธุรกิจใหม่ เพื่อให้รอดพ้นข้อจำกัดที่กำกับเหล่านี้

ข้อมูลอ้างอิง

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า