Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน เพื่อหารือสถานการณ์ในเมียนมาเมื่อวานนี้ (2 มี.ค.) ลงเอยด้วยการที่ชาติสมาชิกอาเซียนไม่สามารถออกแถลงการณ์ร่วมกันต่อสถานการณ์ในเมียนมา จนบรูไนในฐานะประธานอาเซียนต้องออกแถลงการณ์ในนามประธานอาเซียนแทน ซึ่งสะท้อนถึงความเห็นที่ไม่ตรงกันในหมู่ชาติอาเซียน

อย่างไรก็ตาม มีรัฐมนตรีต่างประเทศจากอย่างน้อย 4 ชาติ ได้แก่ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ที่ออกมาแสดงท่าทีชัดเจนว่า ไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร พร้อมเรียกร้องให้กองทัพเมียนมาปล่อยตัวนางอองซาน ซูจี และนักการเมืองที่ถูกจับกุมไว้ทันที และหาทางเจรจาด้วยกระบวนการประชาธิปไตย

⚫️ ฟิลิปปินส์

นายทีโอโดโร ล็อคซิน รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์ ออกแถลงการณ์หลังเข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน แสดงความกังวลต่อสถานการณ์ในเมียนมา โดยเรียกร้องให้กองทัพเมียนมาคืนอำนาจให้กลับไปเป็นเหมือนก่อนวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นวันที่กองทัพเมียนมาก่อรัฐประหาร

รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์แนะนำว่า อันดับแรกทางการเมียนมาต้องเริ่มต้นจากการปล่อยตัวนางอองซาน ซูจี ขณะเดียวกันรัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์ยืนยันว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในเมียนมาจะส่งผลกระทบต่ออาเซียนอย่างแน่นอน เพราะในท้ายที่สุด เมียนมาก็เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวอาเซียนอยู่ดี

⚫️ สิงคโปร์

สิงคโปร์เป็นหนึ่งในชาติอาเซียนที่มีท่าทีชัดเจนที่สุดว่า ต่อต้านการรัฐประหารในเมียนมา โดยเมื่อวานนี้นายลี เซียน ลุง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ เพิ่งให้สัมภาษณ์กับบีบีซี ประณามกองทัพเมียนมาที่ใช้กำลังรุนแรงจนถึงขั้นมีผู้เสียชีวิต ในการสลายการชุมนุมต่อต้านการรัฐประหาร เช่นเดียวกับนายวิเวียน บารากิสนัน รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์ ที่ย้ำว่า กองทัพเมียนมาต้องปล่อยตัวนางอองซาน ซูจี และผู้ถูกจับกุมคนอื่นๆ ซึ่งเป็นหนทางเดียวในการเริ่มต้นเจรจาบนแนวทางประชาธิปไตย

รายงานระบุว่า ในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศเมื่อวานนี้ (2 มี.ค.) รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์เรียกร้องให้ทางการเมียนมาเปิดทางให้ผู้แทนพิเศษด้านเมียนมาขององค์การสหประชาชาติ เดินทางเข้าไปสังเกตการณ์ และควรเปิดทางให้ผู้แทนสหประชาชาติพบบุคคลสำคัญ รวมทั้งนางอองซาน ซูจี ที่ตอนนี้กำลังถูกควบคุมตัวด้วย

⚫️ มาเลเซีย

นายฮิชามมุดดิน ฮุสเซน รัฐมนตรีต่างประเทศมาเลเซีย ออกแถลงการณ์แสดงจุดยืนให้เมียนมาปล่อยตัวนางอองซาน ซูจีทันที และพร้อมจะสนับสนุนกระบวนการเจรจาเพื่อหลีกเลี่ยงเหตุที่จะเป็นอันตรายต่อชาวเมียนมา โดยย้ำว่า เสถียรภาพในเมียนมาจะส่งผลต่อเสถียรภาพของอาเซียนด้วย และชาติสมาชิกควรต้องหาทางหลีกเลี่ยงสิ่งที่อาจจะทำให้ภูมิภาคอาเซียนไร้เสถียรภาพ

รายงานระบุว่า ระหว่างการประชุม รัฐมนตรีต่างประเทศมาเลเซียเสนอให้ทางการเมียนมาพิจารณาอนุญาตให้เลขาธิการอาเซียน และผู้แทนจากบรูไน ในฐานะประธานอาเซียนในปีนี้เข้าไปเยือนเมียนมา และเปิดทางให้เข้าพบทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

⚫️ อินโดนีเซีย

นางเร็ตโน มาร์ซูดี รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญในการไปพบกับผู้แทนจากหลายชาติ เพื่อให้อาเซียนมีมาตรการต่อเมียนมา รวมทั้งมีโอกาสได้พบกับนายวันนะ หม่อง ลวิน รัฐมนตรีต่างประเทศเมียนมาที่คณะรัฐประหารแต่งตั้งขึ้นด้วย ได้กล่าวว่า สถานการณ์ในเมียนมากำลังน่าวิตก เพราะมีประชาชนบาดเจ็บและเสียชีวิต รวมทั้งมีการจับกุมประชาชนด้วย ซึ่งท่าทีเหล่านี้อาจคุกคามกระบวนการประชาธิปไตย

รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซียแสดงความหวังว่า กลไกอาเซียนน่าจะมีส่วนร่วมคลี่คลายสถานการณ์ในเมียนมา ขณะเดียวกันได้เรียกร้องให้เมียนมาเปิดทางให้อาเซียนเข้าไปมีส่วนร่วม

⚫️ อาเซียน

ขณะที่ท่าทีของอาเซียนที่ออกมาจากบรูไน ในฐานะประธานอาเซียนแสดงความกังวลต่อสถานการณ์ในเมียนมา โดยเรียกร้องให้ทุกฝ่ายยุติการใช้ความรุนแรง หาทางแก้ปัญหาโดยสันติ ท่ามกลางการจับตาว่า รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอาจเห็นไม่ตรงกันในการแสดงท่าทีที่ชัดเจนต่อเมียนมา เห็นได้จากการประชุมลงเอยด้วยแถลงการณ์จากประธานอาเซียน แทนที่จะเป็นแถลงการณ์ร่วม ซึ่งทุกชาติต้องมีฉันทามติเห็นชอบ

⚫️ ไทย

ส่วนท่าทีจากรัฐมนตรีต่างประเทศของไทยมีการเปิดเผยผ่านข่าวสารนิเทศ ของกระทรวงการต่างประเทศเมื่อวันที่ 1 มีนาคมที่ผ่านมาว่า ในฐานะประเทศเพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดและมิตรที่ดีของเมียนมาและส่วนหนึ่งของครอบครัวอาเซียน ประเทศไทยได้ติดตามพัฒนาการในเมียนมาด้วยความกังวล โดยหวังว่าสถานการณ์จะคลี่คลายโดยเร็ว และหวังว่าทุกฝ่ายในเมียนมาจะใช้ความอดทนอดกลั้นมากที่สุดและหารือกันเพื่อหาทางออกโดยสันติและสถานการณ์กลับคืนสู่ปกติเพื่อประโยชน์ของประชาชนเมียนมา

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า