SHARE

คัดลอกแล้ว

วิกฤตการระบาดของโควิด-19 ไม่เพียงแต่นำมาซึ่งความสูญเสียชีวิตของผู้คนทั่วโลกเท่านั้น แต่ยังทำให้ประเด็นด้านสังคมอย่าง “การเหยียดเชื้อชาติ” กลับมาเป็นสนใจอีกครั้ง เมื่อเกิดกรณีที่ชาวเอเชียในประเทศตะวันตกหลายคนต้องเผชิญการถูกทำร้ายทั้งทางร่างกายและคำพูด เพียงเพราะพวกเขาเป็นชาวเอเชีย เพราะชาวตะวันตกหลายคนมองว่าเอเชีย หรือจีน คือต้นกำเนิดของเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ เช่นในกรณีของนักศึกษาเชื้อสายจีน ที่ถูกกลุ่มชายรุมทำร้ายในกรุงลอนดอน ในช่วงกลางวันแสกๆ 

บทความในเว็บไซต์ เดอะ การ์เดียน ได้สำเสนอข้อมูลจากมุมมองของชาวเอเชียที่เคยเผชิญปัญหานี้ และผู้เชี่ยวชาญที่เสนอความคิดเห็นว่า ปัญหาการเหยียดชาวเอเชียเกิดขึ้นมานานมากกว่าที่เราคิด

 

 

เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ ในระหว่างการเดินทางด้วยเครื่องบิน “โรซาลินด์ โจว” เห็นผู้หญิงคนหนึ่งที่นั่งแถวด้านหน้าของเธอ และยกโทรศัพท์ขึ้นสูงคล้ายกับกำลังถ่ายภาพเซลฟี่ เธอถ่ายรูปและส่งไปให้เพื่อน ซึ่งตอบกลับมาว่า “ผู้หญิงคนนั้นเป็นคนจีนใช่ไหม”

 

ใกล้กับเธอเป็นชายคนหนึ่งซึ่งทราบในภายหลังว่าเป็นชาวอเมริกันเชื้อสายเกาหลี และผู้หญิงที่นั่งข้างเขาก็ดูเหมือนเป็นชาวเอเชีย หญิงคนนั้นตอบเพื่อนว่า “มีชาวเอเชียมากมาย ภาวนาให้ฉันด้วย”

 

จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ทำให้โจวรู้ว่านี่ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ เพราะในสหรัฐฯ ชาวอเมริกันเชื้อสายจีนและชาวเอเชียชาติอื่นๆ ต่างต้องใช้ชีวิตอยู่ด้วยความหวาดกลัว ท่ามกลางปัญหาความมีอคติทางเชื้อชาติ และการระบาดของไสรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ที่ถูกมองว่านี่คือความผิดของจีน และกระแสความมีอคตินี้ยิ่งลุกโหมรุนแรงขึ้น หลังประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และที่ปรึกษาของเขา ยืนยันที่จะเรียกไวรัสชนิดนี้ว่า “ไวรัสจีน”

 

โรซาลินด์ โจว รองศาสตราจารย์ด้านสังคมวิทยาประจำมหาวิทยาลัยจอร์เจีย สเตท กล่าวว่า นี่ยิ่งทำให้กระแสความมีอคติแพร่กระจายมากขึ้น “ความกลัวของฉันคือการไอในที่สาธารณะ การไอและการเป็นคนเอเชีย และปฏิกิริยาการแสดงออกของคนอื่น”

 

ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา เกิดกรณีการเหยียดเชื้อชาติบ่อยครั้งขึ้น รวมถึงการแสดงความเห็นต่อชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียที่ผูกโยงกับความกลัวเชื้อไวรัส

 

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผู้นำสหรัฐฯ ได้เรียกโรคโควิด-19 แทนด้วยคำว่า “ไวรัสจีน” โดยทวีตข้อความเมื่อวันที่ 16 มี.ค. ว่า

 

“สหรัฐฯ จะให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างแข็งขัน เช่น ธุรกิจสายการบินและอื่นๆ ซึ่งล้วนแต่ได้รับผลกระทบจากไวรัสจีน เราจะแข็งแกร่งขึ้นกว่าที่เคยเป็น” ซึ่งนี่ถือเป็นครั้งแรกที่ทรัมป์อ้างถึงโรคนี้ว่า “ไวรัสจีน” ทางออนไลน์

 

การใช้ถ้อยความของทรัมป์ได้สร้างเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก เช่นจาก เจเรมี หลิน นักบาสเก็ตบอลอาชีพชาวอเมริกันเชื้อสายจีน ที่บอกกับทรัมป์ทางทวิตเตอร์ว่า เขาควรให้การช่วยเหลือคนที่คนที่ต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ เช่นคนที่ได้รับผลกระทบจากการเหยียดเชื้อชาติที่เกิดจากการใช้คำพูดของเขา

 

ด้านเซเลสต์ อึ้ง นักเขียนชาวอเมริกันเชื้อสายจีน ทวีตข้อความว่า ชาวเอเชียทั่วโลกกำลังเผชิญการถูกคุกคาม เพราะคนที่ยังยืนยันที่จะเรียกโรคนี้ว่าไวรัสจีน

 

อย่างไรก็ดี ในการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 23 มี.ค. ทรัมป์ยืนยันว่าการใช้คำดังกล่าวไม่ได้เป็นการเหยียดเชื้อชาติ “สาเหตุก็เพราะมันมาจากจีน เขาแค่ต้องการให้มันถูกต้อง”

 

ทรัมป์ยังได้รับการสนับสนุนจากนักการเมืองในพรรครีพับลิกัน โดยนายจอห์น คอร์นิน วุฒิสมาชิกจากรัฐเท็กซัส ที่กล่าวปกป้องผู้นำสหรัฐฯ ว่า “นี่เป็นความผิดของจีน เพราะมีวัฒนธรรมการกินค้างคาว งู  สุนัข และสัตว์แปลกๆ จีนจึงเป็นแหล่งรวมของไวรัสหลายชนิด” หลังผู้สื่อข่าวถามว่าชื่อดังกล่าวเหมาะสมหรือไม่

 

การตั้งชื่อของผู้นำสหรัฐฯ เกิดขึ้นหลายสัปดาห์หลังเกิดกรณีการทำร้ายชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียหลายครั้ง โดยเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ หญิงชาวเอเชียในนครนิวยอร์ก ซึ่งสวมหน้ากากอนามัย ถูกทำร้ายและถูกเรียกว่า “เชื้อโรค” จากคนแปลกหน้าในสถานีรถไฟใต้ดิน ส่วนที่นครลอสแองเจลิส ชายคนหนึ่งด่าโดยใช้ถ้อยคำเหยียดเชื้อชาติเพื่อนร่วมขบวนรถไฟใต้ดินซึ่งเป็นชาวเอเชีย เกี่ยวกับโควิด-19

 

ส่วนครอบครัวหนึ่งในเมืองเฟรสโน รัฐแคลิฟอร์เนีย ถูกมือดีพ่นสีสเปรย์รถยนต์ด้วยคำว่า “ไปต**ซะพวกเอเชีย และโคโรนาไวรัส” ส่วนนักเรียนชั้นมัธยมในแคลิฟอร์เนียคนหนึ่ง ได้รับแจ้งจากครูให้ไปห้องพยาบาลหลังจากที่เขาไอ แม้เขาจะยืนยันว่าเขาไอเพราะสำลักน้ำและไม่ได้ป่วย และเมื่อถามครูว่าทำไมจึงไม่บอกให้นักเรียนคนอื่นที่ไม่ใช่ชาวเอเชียไปห้องพยาบาลหลังจากไอ ครูตอบว่า “ช่างมันเถอะ”

 

 

เกรกก์ ออร์ตัน ผู้อำนวยการสมาคมเอเชียแปซิฟิกแห่งอเมริกา (NCAPA) กล่าวว่า เหตุการณ์ลักษณะดังกล่าวที่เริ่มมีความถี่มากขึ้น เป็นสิ่งที่เราต้องรับมืออย่างจริงจัง การหาแพะรับบาปด้วยการเหยียดเชื้อชาติ เป็นสิ่งที่อยู่ตรงข้ามกับการตอบสนองที่เราต้องการเห็นจากผู้นำประเทศ

 

NCAPA ทำหน้าที่เป็นแกนนำขององค์กรด้านสิทธิพลเมืองกว่า 260 แห่ง ในการยื่นคำร้องต่อสภาคองเกรส เพื่อประณามการเหยียดเชื้อชาติชาวเอเชียที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 ต่อมากลุ่มสมาชิกคองเกรสเชื้อสายเอเชีย ได้ยื่นจดหมายไปยังสมาชิกคองเกรสคนอื่นๆ เพื่อเรียกร้องให้พวกเขาเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการระบาดที่ถูกต้อง โดยเฉพาะความเข้าใจที่ผิดเกี่ยวกับประเทศต้นกำเนิดและการแพร่กระจายของไวรัส

 

นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์เอเชีย-อเมริกัน ชี้ว่า ได้เกิดกระแสการเลือกปฏิบัติชาวเอเชียในสหรัฐฯ มาอย่างยาวนาน ที่นำไปสู่การทำร้ายชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชีย ที่เกี่ยวข้องกับการระบาดของไวรัส

 

แคลร์ จีน คิม ศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์และเอเชียอเมริกันศึกษา จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เออร์ไวน์ กล่าวว่า ในช่วงแรกผู้อพยพชาวจีนถูกมองว่าด้อยคุณภาพ สกปรก และเต็มไปด้วยโรคร้าย เมื่อคนเหล่านี้เดินทางมายังอเมริกาเมื่อปี 1870 พวกเขาถูกมองว่าเป็นภัยต่อกลุ่มแรงงานผิวขาว ซึ่งนำไปสู่การเหยียดสีผิว ทำร้ายร่างกาย และเหยียดเชื้อชาติ ย่านไชน่าทาวน์ถูกมองว่าเป็นแหล่งสกปรกและเต็มไปด้วยเชื้อโรค

 

หลายคนคิดว่า “คนที่ใช้ภาษาแบบนี้จะประสบความสำเร็จได้อย่างไร” เราถูกทำให้เข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับสาเหตุของโรคระบาด วิธีการป้องกัน หรือการลดความรุนแรงของโรคในอนาคต ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่ควรมีการพูดถึงในอนาคต

 

ซูซาน เบเนช จากศูนย์เบิร์กแมน ไคลน์ เพื่ออินเตอร์เน็ตและความปลอดภัย มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด กล่าวว่า ยังมีผู้นำในอดีตอีกหลายคนที่พยายามป้ายสีว่ากลุ่มคนนอกเหล่านั้นเป็นเชื้อโรค ซึ่งกระตุ้นให้เกิดความกลัว และนำมาซึ่งความรุนแรง

 

เบเนช ให้คำจำกัดความของคำว่า “ถ้อยแถลงอันตราย” ว่าคือการใช้ถ้อยคำชักจูงโน้มน้าวเพื่อทำให้คนกลุ่มหนึ่งกระทำด้วยความรุนแรงต่อคนอีกกลุ่มหนึ่ง คำพูดที่ว่า “ชาวจีนไม่มีสุขอนามัยและไร้สุขลักษณะ” จึงเป็นถ้อยแถลงอันตรายที่เก่าคร่ำครึ เพื่อใช้ต่อต้านชาวจีนในอเมริกา

 

“ความเกลียดชังจึงไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นจากถ้อยแถลงอันตราย แต่เป็นความกลัว ความกลัวคือสิ่งที่ทำให้คนเราใช้ความรุนแรงต่อคนอีกกลุ่มหนึ่งมากกว่าความเกลียดชัง และระดับของความกลัวที่เกี่ยวกับโรคระบาดครั้งนี้ก็ยิ่งใหญ่มาก”

 

ในขณะที่การระบาดในสหรัฐฯ ยังคงไม่มีทีท่าว่าจะสิ้นสุด กลุ่มเคลื่อนไหวชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียได้เน้นย้ำความสำคัญของการแสดงความคิดเห็นและเรียกร้องในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเหยียดเชื้อชาติ เมื่อสถานการณ์เริ่มมีความปลอดภัยแล้ว

 

โจวกล่าวว่า เราจะเป็นต้องสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่มนุษย์ทุกคนในขณะนี้ เพราะไวรัสไม่สนใจว่าเราจะมีเชื้อชาติและสีผิวใด

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า