Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว
ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเกิดกระแสรณรงค์จากบรรดานักการเมืองและนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยทั่วโลก เรียกร้องให้คนทั่วโลกแสดงพลังเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ด้วยการไปซื้อไวน์ที่ผลิตจากประเทศออสเตรเลียมาดื่มให้มากขึ้น
แม้จะฟังดูเป็นการรณรงค์ที่แปลก แต่ในข้อเท็จจริงแล้ว ฝ่ายที่รณรงค์เรื่องนี้ให้เหตุผลว่า นี่คือการต่อสู้ครั้งสำคัญ เพื่อต่อต้านการกระทำของรัฐบาลจีนที่ถูกมองว่า ใช้ข้ออ้างทางการค้ากดดันไม่ให้ออสเตรเลียวิพากษ์วิจารณ์ประเด็นสิทธิมนุษยชนในจีน
เรื่องราวทั้งหมดเป็นอย่างไร วันนี้ workpointTODAY จะอธิบายให้อ่านกันดังนี้
🍷 เมื่อวันที่ 28 พ.ย. กระทรวงพาณิชย์ของจีนประกาศจัดเก็บภาษีไวน์นำเข้าจากออสเตรเลีย โดยอาจเก็บภาษีสูงสุดได้ถึง 212.1% ซึ่งการเก็บภาษีที่เพิ่มสูงขึ้นจะส่งผลโดยตรงต่อราคาไวน์ที่อาจเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 2 เท่าตัว เช่นจากเดิมไวน์ออสเตรเลียที่ขายในจีนมีราคา 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ หลังการปรับภาษีใหม่ ไวน์ขวดเดิมอาจมีราคาพุ่งไปที่ 300 ดอลลาร์สหรัฐฯ ทีเดียว
🍷 รัฐบาลจีนให้เหตุผลว่า การเก็บภาษีไวน์ออสเตรเลียที่เพิ่มสูงขึ้น เพื่อเป็นการต่อต้านการทุ่มตลาด (Dumping) ของบรรดาผู้ผลิตไวน์จากออสเตรเลีย
การทุ่มตลาด (Dumping) ที่รัฐบาลจีนอ้างถึง มีความหมายว่าการที่ผู้ผลิตกำหนดราคาขายสินค้าที่ต่ำกว่าราคาปกติที่ขายในประเทศ เพื่อเป็นการกำจัดคู่แข่งในประเทศที่ส่งออกไป
🍷 การขึ้นภาษีไวน์ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อผู้ผลิตไวน์ในออสเตรเลีย เนื่องจากในปัจจุบันออสเตรเลียส่งออกไวน์ไปยังประเทศจีนมากที่สุดในโลก โดยข้อมูลล่าสุดชี้ว่า มูลค่าการส่งออกไวน์ออสเตรเลียไปยังประเทศจีนคิดเป็นเกือบ 40% ของการส่งออกไวน์ทั้งหมด มีมูลค่ากว่า 24,100 ล้านบาท
🍷 สำหรับผู้ผลิตไวน์ในออสเตรเลีย มาตรการขึ้นภาษีของจีนจะส่งผลให้พวกเขาสูญเสียรายได้ไม่ต่ำกว่า 20-30% ขณะเดียวกันยังมีความเสี่ยงที่ไวน์ที่ส่งออกไปแล้วอาจถูกตีกลับ ทำให้เกิดภาวะสินค้าล้นตลาดในประเทศด้วย

🍷 แต่หลายคนมองว่า การขึ้นภาษีไวน์ออสเตรเลียไม่ใช่เรื่องการค้า แต่เป็นผลจากการความสัมพันธ์ที่ย่ำแย่ระหว่างออสเตรเลียกับจีนโดยตรง โดยมีจุดเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2561 ที่รัฐบาลออสเตรเลียประกาศคว่ำบาตรเทคโนโลยี 5G ของหัวเว่ย (Huawei) เป็นชาติแรกๆ ของโลก
🍷 จนกระทั่งในปีนี้ที่รัฐบาลออสเตรเลียออกมาวิพากษ์วิจารณ์จีนอย่างตรงไปตรงมาในหลายเรื่อง เช่น การที่มีรายงานว่ารัฐบาลจีนละเมิดสิทธิมนุษยชนชาวมุสลิมอุยกูร์ การออกกฎหมายความมั่นคงที่ถูกมองว่าจะมีส่วนทำลายการปกครองแบบ 1 ประเทศ 2 ระบบในฮ่องกง แม้กระทั่งท่าทีที่แข็งกร้าวของจีนต่อไต้หวัน ซึ่งจีนมองว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีน
🍷 แต่กรณีที่ดูเหมือนจะสร้างความไม่พอใจให้จีนอย่างรุนแรงที่สุด คือการที่ออสเตรเลียออกมาเรียกร้องให้ประชาคมโลกสอบสวนต้นตอการระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศจีน ซึ่งเป็นการตั้งคำถามที่ดูเหมือนจะชี้ว่า รัฐบาลจีนผิดพลาดในการควบคุมโรคโควิด-19 จนทำให้เกิดเป็นโรคระบาดหนักไปทั่วโลก
🍷 ศาสตราจารย์จอห์น บลัซแลนด์ อดีตเจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรอง ซึ่งปัจจุบันเป็นอาจารย์ด้านความมั่นคงประจำมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย (ANU) มองว่า ท่าทีของจีนเป็นความตั้งใจที่ต้องการสั่งสอนรัฐบาลออสเตรเลียต่อหน้าประชาคมโลก
🍷 นักวิเคราะห์บางส่วนยังมองด้วยว่า แม้ที่ผ่านมารัฐบาลออสเตรเลียจะวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลจีนอยู่เสมอ แต่การวิจารณ์ก็ไม่เคยส่งผลกระทบต่อการค้าระหว่างสองประเทศ จนกระทั่งในปีนี้ที่ความไม่พอใจลุกลามเป็นมาตรการกีดกันทางการค้าโดยตรง ซึ่งผู้ที่ติดตามสถานการณ์ของทั้งสองประเทศชี้ว่า ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะรัฐบาลจีนมองว่า ออสเตรเลียกำลังทำตัวเป็นหุ่นเชิดของสหรัฐฯ ในการเป็นคู่ขัดแย้งกับจีน ซึ่งกำลังเร่งขยายอิทธิพลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
🍷 มาตรการทางภาษีของจีนต่อไวน์ออสเตรเลีย ทำให้นักการเมืองใน 19 ประเทศ รวม 200 คน ออกมารณรงค์ภายใต้แฮชแท็ก #SolidarityWithAustralia โดยชี้ว่าจีนกำลังใช้กลไกทางการค้ากีดกันการวิพากษ์วิจารณ์การกระทำที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน
🍷 การรณรงค์ดังกล่าวยังถูกพูดถึงในหมู่นักกิจกรรมเพื่อประชาธิปไตยในฮ่องกง ซึ่งที่ผ่านมาเป็นคู่ขัดแย้งกับรัฐบาลจีนแผ่นดินใหญ่โดยตรง เช่น นาธาน ลอว์ นักเคลื่อนไหวชาวฮ่องกงที่ลี้ภัยไปอังกฤษ ได้ทวีตข้อความระบุว่า จะสนับสนุนแคมเปญนี้ด้วยการไปซื้อไวน์ออสเตรเลีย แม้จะเป็นคนที่ไม่ได้ดื่มไวน์เท่าไหร่นัก
🍷 เช่นเดียวกับบรรดาอดีตสมาชิกสภาฮ่องกงฝ่ายประชาธิปไตยที่เพิ่งประท้วงด้วยการลาออกเมื่อต้นปี ได้ออกมายืนยันว่าจะซื้อไวน์จากออสเตรเลียเป็นของขวัญให้เพื่อนๆ ในช่วงเทศกาลหยุดยาว เพื่อแสดงพลังเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับรัฐบาลออสเตรเลีย
🍷 ขณะที่บรรดาผู้ผลิตไวน์ในออสเตรเลียยังคิดไม่ตกว่า จะทำอย่างไรต่อไป โดยบางส่วนเรียกร้องให้รัฐบาลออสเตรเลียพิจารณาขอโทษรัฐบาลจีนอย่างเป็นทางการ เพราะมองว่าการออกมาขอโทษต่อสิ่งที่เกิดขึ้นอาจเปลี่ยนใจรัฐบาลจีนต่อกรณีนี้ได้
🍷 ขณะที่ท่าทีจากรัฐบาลออสเตรเลียล่าสุดเมื่อวันจันทร์ (30 พ.ย.) นายสก็อตต์ มอริสัน นายกรัฐมนตรีออสเตรเลียยังมีท่าทีที่แข็งกร้าว โดยออกมาเรียกร้องให้ทางการจีนขอโทษจากการใช้รูปภาพที่ไม่เป็นความจริง กล่าวถึงกรณีที่ทหารออสเตรเลียสังหารเด็กระหว่างไปทำภารกิจสู้รบในอัฟกานิสถาน อย่างไรก็ตาม ผู้นำออสเตรเลียได้เรียกร้องให้จีนกับออสเตรเลียสานความสัมพันธ์ต่อกันใหม่ โดยหวังให้สถานการณ์ผ่อนคลายลง
🍷 รายงานระบุว่า ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา รัฐมนตรีของออสเตรเลียหลายคนพยายามโทรศัพท์ไปทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของจีน แต่จนถึงตอนนี้ฝ่ายจีนยังไม่ยอมแม้แต่จะรับโทรศัพท์เพื่อปรับความเข้าใจต่อกัน

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า