SHARE

คัดลอกแล้ว

ชื่อว่าหลายคนที่กดเข้ามาอ่านบทความนี้ น่าจะเคยเจอเหตุการณ์ที่ว่า พ่อค้า-แม้ค้า มาแนะนำสินค้าให้เราโดยบอกว่าเป็น “สินค้าขายดี”  ก่อนที่เราจะหลวมตัวซื้อสินค้าชิ้นนั้นง่ายๆ เพียงเพราะว่า “คนอื่นๆ ก็ซื้อกัน” แล้วทำไมแค่บอกว่าเป็น “สินค้าขายดี”  ถึงทำให้เรามีโอกาสซื้อสินค้าชิ้นนั้นได้ง่ายขึ้น ? 

บทความนี้ TODAY Bizview จะอธิบายเรื่องนี้ให้ฟังแบบเข้าใจง่ายๆ 

ในมุมจิตวิทยามีแนวคิดที่ชื่อว่า “Brand wagon Effect” บอกว่ามนุษย์เรา จะมีแนวโน้มมีพฤติกรรมทำตามคนหมู่มาก ยกตัวอย่างเช่น ร้านอาหาร A และร้านอาหาร B ทั้งคู่ตั้งร้านอยู่ติดกัน ขายอาหารแบบเดียวกัน มีรสชาติและราคาพอ ๆ กัน  

แต่ถ้าร้านอาหาร A มีคนในร้านเยอะกว่า หรือมีคิวที่หน้าร้านเยอะกว่า ร้านอาหาร B เราจะมีแนวโน้มจะเดินเข้าร้านอาหาร A มากกว่า เพราะเลือกตามคนส่วนมาก โดยสาเหตุของการเกิด Brand wagon effect ก็มีคำตอบจากหลายๆ มุมมอง 

บางมุมมองก็บอกว่าเกิดจากการที่สมองมนุษย์ พยายามลัดขั้นตอนในการประมวลผลให้เร็วและใช้พลังงานให้น้อยที่สุด การเห็นคนหมู่มากทำอะไรเหมือนๆ กัน หรือเห็นการตัดสินใจบางอย่างซ้ำๆ จนมากพอ จะส่งผลให้สมองของเราประมวลผลแบบไวๆ ว่านี่คือ “ทางเลือกที่ดีที่สุด” 

หรือในบางมุมมองก็บอกว่า Brand wagon effect เกิดจากความเป็นสัตว์สังคม ของมนุษย์ที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มอยู่เสมอ ถ้าคนหมู่มากทำอะไร คนเราก็มักจะมีพฤติกรรมแบบเดียวกัน เพราะไม่อยากดูแปลกแยกจากกลุ่ม

โดยในปัจจุบันก็มีหลายๆ แบรนด์เอาหลักการแบบนี้ไปปรับใช้กับธุรกิจด้วยการทำให้ลูกค้า รู้สึกว่าคนส่วนมากซื้อสินค้า หรือใช้บริการของแบรนด์ มากระตุ้นให้อยากซื้อตาม ยกตัวอย่างเช่น 

        •  ธุรกิจโรงภาพยนต์ ชอบโปรโมตหนังด้วย “จำนวนรายได้” เช่น หนังทำเงินสูงสุด หรือ หนัง 100 ล้าน เพื่อแสดงให้เห็นว่าคนส่วนใหญ่ดูหนังเรื่องนี้ กระตุ้นให้คนอยากดู
        • Netflix จัดอันดับคอนเทนต์ด้วยยอดผู้ชมประจำสัปดาห์ เพื่อสร้างความรู้สึกว่าเราควรกดเข้าไปดูเรื่องนี้ เพราะคนอื่นๆ ก็ดูกัน  
        • หลายๆ แบรนด์ ยอมจ่ายเงินเพื่อทำ “Seeding” หรือการตลาดผ่านหน้าม้า ให้มารีวิวสินค้าหรือบริการของแบรนด์เยอะๆ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ 

สำหรับการติดป้ายว่า “สินค้าขายดี” ก็จะเป็นการใช้ประโยชน์จากหลักการแบบนี้เช่นเดียวกัน คือจะทำให้เรารู้สึกว่า “คนส่วนใหญ่เลือกซื้อสินค้านี้” และมีโอกาสซื้อสินค้ามากขึ้นโดยไม่รู้ตัว

ตัวอย่างใกล้ๆ ตัว ก็อาจจะเป็นร้านเบอเกอรี “Yamazaki” ที่ชอบจัดอันดับเบอเกอรี ว่าชิ้นไหนขายดี พร้อมติดป้ายบอกว่าเป็นสินค้าขายดีอันดับ 1, 2, 3, 4 ไล่ไปเรื่อยๆ คนที่เข้ามาในร้านแล้วไม่รู้จะซื้อสินค้าอะไร จะมีทางเลือกให้ซื้อเบเกอรีตามคนส่วนมาก ซึ่งอาจจะทำให้แบรนด์ขายสินค้าได้มากขึ้นนั่นเอง

ถ้ามองเรื่องนี้ในมุมธุรกิจ การเอากลยุทธ์แบบนี้ไปปรับใช้ก็น่าสนใจไม่น้อยเลย เพราะลงทุนน้อย แค่หาป้ายมาบอกว่าสินค้าขายดี ก็เพิ่มโอกาสที่ลูกค้าจะซื้อสินค้าได้แล้ว และด้วยความง่ายแถมยังลงทุนน้อย มันจึงไม่แปลกเลยที่เราเลยเห็นกลยุทธ์แบบนี้ได้บ่อยๆ จากทั้งร้านค้าบ้านๆ ไปจนถึงห้างค้าปลีกขนาดใหญ่มาจนถึงตอนนี้..

อ่านมาถึงตรงนี้ขอปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการติดป้าย “สินค้าขายดี” โดยบนแพลตฟอร์ E-Commerce บางแพลตฟอร์มมีข้อมูลว่าการติดป้ายว่าสินค้าขายดีจะทำให้สินค้าชิ้นนั้นมีอัตรา Conversion Rate ดีขึ้นด้วย.. 

ที่มา :

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า