SHARE

คัดลอกแล้ว

กรณี “โน้ต พงษ์สรวง” @dudesweetworld เผยแพร่เรื่องราว การจัดแสดงผลงานศิลปะ ภายในหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร หรือ หอศิลป์กรุงเทพฯ (BACC) ผลงานวิดีโอชื่อ Underage (ผู้เยาว์) ของโอม พันธุ์ไพโรจน์ ซึ่งฉายที่ชั้น 7 เป็นงานเก่าจากปี 2010 ความยาว 7.07 นาที พร้อมกับตั้งคำถามถึงความเหมาะสมในการจัดแสดงทั้งสถานที่ และเนื้อหาในวิดีโอนั้น ที่ถือเป็นการละเมิดสิทธิเด็ก เพราะมีการการสัมภาษณ์เด็กชายขายบริการ ย่านวังสราญรมณ์ประมาณสิบคน อายุระหว่าง 13-17 ปี เปิดเผยใบหน้า ไม่มีการเบลอเด็กกลุ่มนั้น

วิดีโอตัวนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการภาพถ่ายของโอมที่ H Gallery เมื่อปี 2010 ที่เขาจัดแสดงภาพถ่ายโสเภณีเด็กชายหลายสิบชีวิต ใต้ภาพมีชื่อ นามสกุลจริงของเด็ก ตามด้วยวันเดือนปีเกิด อาชีพพ่อแม่ ขายตัวมาแล้วกี่เดือน รับแขกมาแล้วกี่คน ความหวังและความฝันของเด็ก

“ผมดูแล้วก็รู้สึกว่านี่คืองานดราม่าราคาถูกที่หากินบนความเดือดร้อนของเยาวชนผู้ไม่มีทางเลือก แล้วบอกว่า “นี่คือศิลปะ” ผู้เขียน ระบุ

อีกทั้งได้มีการตั้งคำถามถึงความรับผิดชอบของเจ้าของผลงาน ต่อการใช้ชีวิตของเด็กกลุ่มนั้นที่เวลาผ่านมา เกือบ 10 ปีแล้ว ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในอนาคตได้

คุณวาสนา เก้านพรัตน์ ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก เปิดเผยกับทีมข่าวเวิร์คพอยท์ออนไลน์ถึงกรณีดังกล่าวว่า เบื้องต้นได้สอบถามไปยังหอศิลป์กรุงเทพฯ แล้ว ล่าสุดได้มีการสั่งระงับการฉายผลงานชิ้นนี้แล้ว และต่อจากนี้จะมีเวทีการพูดคุยเพื่อหาแนวทางในการป้องกันและแก้ปัญหาต่อไป

ส่วนกรณีผู้เขียนบทความ ได้อ้างว่ามีการส่งอีเมลล์แจ้งไปยัง มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก นับตั้งแต่มีผลงาน Underage จัดแสดงครั้งแรกที่ H Gallery ในปี 2010 แล้ว แต่ไม่มีการตอบกลับนั้น ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก ชี้แจงว่าได้สอบถามเจ้าหน้าที่แล้วยังไม่พบอีเมลล์ฉบับดังกล่าว แต่ส่วนตัวก็ไม่เคยเห็นอีเมลล์ฉบับดังกล่าวเช่นกัน

ทั้งนี้ หลังจากได้อ่านบทความนี้แล้ว ยอมรับว่าเห็นด้วยกับผู้เขียนที่สะท้อนถึงการจัดแสดงผลงานศิลปะชิ้นนี้ว่าไม่เหมาะสมนั้นถูกต้องแล้ว ส่วนการนำผลงานมาฉายซ้ำแม้ว่าจะเป็นผลงานเก่าเมื่อ 9 ปีก่อน แต่ก็ถือว่าเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติ คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546

อีกทั้งยอมรับว่า ส่วนตัวแล้วได้เห็นเรื่องราวของผลงานชิ้นนี้เป็นครั้งแรกหลังจากมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์เกิดขึ้น

ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก ยังระบุอีกว่า กรณีการเปิดเผยใบหน้าเด็ก ชื่อ และรายละเอียดการขายบริการของเด็กแต่ละคนนั้น ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 มาตรา 27 ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาหรือเผยแพร่ทางสื่อมวลชนหรือสื่อสารสนเทศประเภทใด ซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็กหรือผู้ปกครอง โดยเจตนาที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่จิตใจ ชื่อเสียง เกียรติคุณ หรือสิทธิประโยชน์อื่นใดของเด็กหรือเพื่อแสวงหาประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ

ซึ่งบทลงโทษจำคุก 6 เดือน ในปัจจุบันนั้น ยังถือว่าน้อยไป อีกทั้งที่ผ่านมาไม่ค่อยมีการบังคับใช้ให้เป็นกรณีตัวอย่าง อาจเป็นเหตุให้คนไม่ตระหนักถึงเรื่องนี้ว่าเป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำได้

คุณวาสนา เก้านพรัตน์ ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก

“ไม่ว่าคุณจะทำงานวิชาการศิลปะ แต่ทั้งนั้นทั้งนี้ คุณต้องไม่ละเมิดสิทธิเขาไง ส่วนจะทำหรือไม่ทำเพราะมีกฎหมายห้ามหรือเปล่า คิดว่ากฎหมายนั้นมาทีหลัง แต่ถ้าใช้หลักเอาใจเขามาใส่ใจเรา คุณก็จะไม่ทำ เพราะมันมีผลกระทบ”  วาสนา เก้านพรัตน์ ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก กล่าว

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก ยังไม่มีแผนว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อกรณีนี้ ซึ่งทุกวันนี้มีหลายหน่วยงานทำงานเรื่องนี้ แต่ไม่มีใครลุกขึ้นมาเอาผิดกับเรื่องนี้ ส่วนตัวแล้วมองกรณีนี้ออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกถ้าเป็นเรื่องผู้ใหญ่ถือเป็นความผิดส่วนตัว แต่ในกรณีภาพเด็กในวันนั้น เติบโตเป็นผู้ใหญ่ในวันนี้ ยังไม่แน่ใจว่าเด็กเหล่านั้นตั้งใจจะเอาเรื่องหรือไม่

พร้อมทั้งขอให้สอบถามทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) เพราะเรื่องผิดกฎหมายไม่จำเป็นต้องมีคนร้องทุกข์กล่าวโทษ ว่าจะดำเนินการอย่างไร ให้เป็นกรณีตัวอย่าง ทั้งผู้เผยแพร่ และการนำเด็กมาแสวงหาประโยชน์ สิ่งที่รัฐต้องตรวจสอบ หากมีคนกล่าวอ้างว่ามีการซื้อบริการจากเด็กถือเป็นความผิดตามกฎหมายอาญา ตำรวจจะเอาผิดเรื่องนี้ไหม

นอกจากนี้ หลังจากเรื่องนี้กลายเป็นกระแสสังคม มีผู้ให้ความสนใจจำนวนมาก ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก จึงขอความร่วมมือสื่อมวลชนระมัดระวังในการนำเสนอ ไม่ติดตามเผยแพร่หรือเจาะชีวิตของเด็กกลุ่มนั้น เพราะมีความละเอียดอ่อน ปัจจุบันเด็กเหล่านั้นได้เติบโตขึ้น อาจมีงานทำ มีครอบครัวแล้ว การไปเปิดเผยชีวิตอีกครั้ง อาจทำให้ได้รับผลกระทบทั้งต่อสภาพจิตใจและการดำเนินชีวิตในอนาคตได้

แต่สิ่งที่น่ากังวล นั่นคือ สถานการณ์การค้าประเวณีของเด็กไทยในปัจจุบัน ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก เปิดเผยว่า จากประสบการณ์ทำงานด้านนี้มานาน 29 ปี ได้เห็นพัฒนาการของปัญหา ซึ่งปัจจุบันนั้นการค้าประเวณีค่อนข้างคาบเกี่ยวกับคำว่าค้ามนุษย์  โดยสิ่งที่น่าเป็นห่วงพบว่าเด็กและเยาวชน ทำงานในลักษณะนี้มากขึ้น มีทั้งเป็นผู้ค้าเอง และเป็นผู้จัดหา ซึ่งปัจจัยสำคัญที่เป็นสิ่งเร้าให้มีการค้าประเวณีมากขึ้น คือการช่องทางในการติดต่อสื่อสารที่ง่ายขึ้น โดยเฉพาะในสื่อโซเชียลมีเดีย ต่างๆ ซึ่งต่างจากสถานการณ์เมื่อกว่า 10 ปีก่อน ที่เด็กจะต้องเอาตัวเองไปอยู่ที่ที่สาธารณะก่อนจะมีการซื้อ-ขายบริการเกิดขึ้น

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า