Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ธนาคารกสิกรไทย มองกรอบค่าเงินบาทสัปดาห์หน้า (26-30 ก.ย.) ระหว่าง 37.00-37.80 บาทต่อดอลลาร์ หลังสัปดาห์ที่ผ่านมาทำสถิติอ่อนค่าสุดในรอบเกือบ 16 ปีครั้งใหม่

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สรุปความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา (19-23 ก.ย. 2565) เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบเกือบ 16 ปี นับตั้งแต่เดือน ต.ค. 2549 โดยยังคงอ่อนค่าสอดคล้องกับเงินหยวนและสกุลเงินเอเชียอื่นๆ ท่ามกลางสัญญาณเร่งขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐ

โดยเงินบาทปรับตัวในกรอบแคบ ก่อนจะพลิกกลับมาอ่อนค่าลงอีกครั้งในช่วงหลังการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ซึ่งยังคงส่งสัญญาณเร่งปรับขึ้นดอกเบี้ยในช่วงที่เหลือของปี ต่อเนื่องจากการประชุมในรอบนี้ (20-21 ก.ย.) ที่ปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.75% ไปที่กรอบ 3.00-3.25%

พร้อมปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อและมุมมองต่อระดับดอกเบี้ยนโยบายใน Dot Plots นอกจากนี้ การอ่อนค่าของเงินบาทยังสอดคล้องกับสกุลเงินเอเชีย และสถานะขายสุทธิพันธบัตรไทยของต่างชาติด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม เงินบาทมีจังหวะที่สามารถลดช่วงอ่อนค่าลงบางส่วนในระหว่างสัปดาห์ตามการดีดกลับของค่าเงินเยน หลังจากที่ทางการญี่ปุ่นเข้าแทรกแซงตลาดด้วยการซื้อเงินเยนเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2541

ถึงอย่างนั้น เงินบาทกลับไปอ่อนค่าอีกครั้งในช่วงปลายสัปดาห์ท่ามกลางความกังวลต่อทิศทางเศรษฐกิจโลก ขณะที่เงินดอลลาร์ ยังมีแรงหนุนอย่างแข็งแกร่งจากการปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Bind Yield) ของสหรัฐ ตามแนวโน้มการคุมเข้มนโยบายการเงินของ Fed

ในวันศุกร์ที่ 23 ก.ย. 2565 เงินบาทปิดตลาดที่ระดับ 37.55 บาทต่อดอลลาร์ หลังแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบเกือบ 16 ปีที่ 37.57 บาทต่อดอลลาร์ เทียบกับระดับ 37.07 บาทต่อดอลลาร์ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (16 ก.ย.)

ขณะที่ระหว่างวันที่ 19-23 ก.ย. นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทย 1,563 ล้านบาท และมีสถานะเป็นขายสุทธิ (Net Outlow) ออกจากตลาดพันธบัตรประมาณ 7,930 ล้านบาท (แบ่งเป็น ขายสุทธิพันธบัตร 7,925 ล้านบาท และตราสารหนี้ที่หมดอายุ 5 ล้านบาท)

สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาทในสัปดาห์ถัดไป (26-30 ก.ย.) ธนาคารกสิกรไทยมองกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ระดับ 37.00-37.80 บาทต่อดอลลาร์

ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) โดยเฉพาะเรื่องดอกเบี้ยและมุมมองต่อสถานการณ์เงินบาท ตัวเลขส่งออกเดือน ส.ค.ของไทย รวมถึงกระแสเงินทุนต่างชาติและสถานการณ์ค่าเงินในภูมิภาค

ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่สำคัญระหว่างสัปดาห์ ได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ก.ย. ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน ยอดขายบ้านใหม่ ยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย และอัตราเงินเฟ้อ (PCE/Core PCE Price Index) เดือน ส.ค. ดัชนีราคาบ้านเดือน ก.ค. และตัวเลขจีดีพีไตรมาส 2 ปี 2565 (Final)

นอกจากนี้ ตลาดยังรอติดตามผลการประชุมธนาคารกลางอินเดีย อัตราเงินเฟ้อเดือน ก.ย.ของยูโรโซน และข้อมูลเศรษฐกิจจีน อาทิ กำไรภาคอุตสาหกรรมเดือน ส.ค. และดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เดือน ก.ย.

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า