SHARE

คัดลอกแล้ว

Technology Disruption ทำให้โลกเปลี่ยนแปลงรวดเร็วและรุนแรง แต่ Creativity ยังคงเป็นเครื่องมือทรงพลังที่สุดในการสร้างโอกาสความสำเร็จให้ทุกธุรกิจ การเรียนการสอนแบบใหม่ที่ผสาน Creativity เข้ากับ Technology ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงทำให้อนาคตของนักศึกษาเปิดกว้างไร้ขีดจำกัด และตอบโจทย์การรับแรงกระแทกจากกระแสดิจิทัลอันเชี่ยวกรากอย่างได้ผล 

อาจารย์เพชร โอสถานุเคราะห์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ให้มุมมองว่า ทุกการเปลี่ยนแปลงคือความท้าทายที่ส่งเสริมให้ทุกคนใช้ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อหาวิธีจัดการแก้ไขปัญหา ล่าสุด มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ประกาศจุดยืนรับเทรนด์ดิจิทัล ด้วยกระบวนการเรียนการสอนสร้างสรรค์ (Creative Education) แล้วเติมทักษะนักศึกษาทุกคณะ ทุกหลักสูตรให้เหนือกว่าใคร ด้วยการเรียนข้ามศาสตร์ ผนวกรายวิชาด้านเทคโนโลยีให้ทุกคนได้เรียนรู้ เป็นการพัฒนาบัณฑิตคุณภาพ สอดรับเศรษฐกิจดิจิทัลตามแผนในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พร้อมกับยกหลักสูตรทั้งหมดมาที่ Main Campus รังสิต ซึ่งมีความพร้อมทั้งเรื่องอุปกรณ์และ Ecosystem เพื่อเสริมสมรรถนะการเรียนรู้ของนักศึกษาอย่างเต็มศักยภาพ

รศ.ดร. ณัฐภพ นิ่มปิติวัน

รศ.ดร.ณัฐภพ นิ่มปิติวัน รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ให้รายละเอียดว่า นอกจากการพัฒนาผู้เรียนจะยังคงสะท้อนอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ คือ มีความคิดสร้างสรรค์ มีจิตวิญญาณความเป็นเจ้าของธุรกิจ และมีความเป็นสากลแล้ว มหาวิทยาลัยกรุงเทพยังต้องการให้นักศึกษาทุกคนมีกระบวนคิดที่ผสมผสานกันของ Creativity และ Technology เพราะผลลัพธ์ที่ตามมาเมื่อบัณฑิตเข้าสู่ธุรกิจและการทำงานจริง ไม่ว่าจะเป็นสาขาอาชีพใด พวกเขาจะสามารถใช้ Creativity เป็นเครื่องมือทรงพลังในการปรับเปลี่ยนแก้ไขปัญหา และสรรค์สร้างนวัตกรรมทุกรูปแบบที่มีเทคโนโลยีเป็นตัวสนับสนุน

“มหาวิทยาลัยกรุงเทพอาจถูกรับรู้ความโดดเด่นในคณะวิชาสายศิลป์ แต่เราก็มีหลักสูตรสายวิทยาศาสตร์ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มากว่า 25 ปีแล้ว โดยนักศึกษาของเราสามารถสร้างหุ่นยนต์ และ AI ตลอดจนเทคโนโลยีทันสมัยอีกหลากหลายได้ไม่ด้อยกว่าที่อื่น แต่ที่ต่างออกไปคือ ความเป็นนักเทคโนโลยีของเราจะมี Creativity เป็นแรงผลักดันเสมอ เราไม่ปล่อยให้เทคโนโลยีมาจำกัดความคิดสร้างสรรค์ แต่เราใช้ความคิดสร้างสรรค์มาผนวกเทคโนโลยี เพื่อสร้างสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาตลอดเวลา” รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมการศึกษา กล่าว

ที่สำคัญและแตกต่างจากที่อื่น คือ การผสมผสานรายวิชาด้านเทคโนโลยีถูกบรรจุเข้าไปในทุกคณะ เพื่อเสริมสร้างความชำนาญเพิ่มเติมในเรื่อง Digital Competency ให้นักศึกษาทุกคนมีความรู้ก่อนจะใช้เทคโนโลยี อาทิ Coding, AI, Cloud service, Block chain, Mobile app, Big data/Data analytics, 5G, Internet of Things, UX UI, AR VR  โดยแต่ละคณะสามารถเลือก 3 – 5 รายวิชา จากทั้งหมดดังกล่าวข้างต้น เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนตามที่แต่ละหลักสูตรพิจารณาว่าเหมาะสม และเป็นประโยชน์ต่อการทำงานของนักศึกษา ไม่จำกัดแค่นักศึกษาที่เรียนวิศวกรรมหรือ เรียน IT เท่านั้น

ตัวอย่างเช่น คณะนิเทศศาสตร์กับรายวิชา AR VR และ Coding ซึ่งนำมาใช้ในการพัฒนานวัตกรรมการสื่อสาร คณะบริหารธุรกิจกับรายวิชา Internet of Things, Block chain หรือ Mobile application คณะการสร้างเจ้าของธุรกิจและการบริหารกิจการกับรายวิชา Big data/data analytics และ UX UI ซึ่งปัจจุบันจำเป็นต้องใช้ความรู้เหล่านี้ในการทำธุรกิจ คณะดิจิทัลมีเดียและศิลปะภาพยนตร์ ผนวกรายวิชาเทคโนโลยี 5G และ Coding ที่นักศึกษาสามารถนำไปพัฒนาผลงานภาพยนตร์ได้

ในขณะที่คณะในสายวิทยาศาสตร์ คือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ก็จะมีรายวิชาที่ช่วยเสริมสร้างกระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์จากคณะในสายศิลป์ มาให้นักศึกษาได้เรียนรู้ เพราะ Creativity ในมุมของวิทยาศาสตร์จะหมายถึง Solution ใหม่ที่ช่วยขับเคลื่อนเทคโนโลยี และทำให้เทคโนโลยีมีความล้ำสมัยมากขึ้น

มหาวิทยาลัยกรุงเทพยังได้นำเสนอผลงานของคณะวิศวกรรมศาสตร์ หนึ่งในนั้นคือ Self-navigatored Robot และปลอกแขนอัจฉริยะ (Muscle Control Robot) เซ็นเซอร์ควบคุมการเคลื่อนไหวของอุปกรณ์ดิจิทัลผ่านกล้ามเนื้อมนุษย์ ซึ่งสามารถต่อยอดไปใช้ในการผลิตสื่ออินเตอร์แอ็กทีฟสำหรับงานอีเวนต์ต่างๆ หรือแม้แต่ยานยนต์ไร้คนขับ

ผศ.ดร.ปกรณ์ ยุบลโกศล

อีกหนึ่งโชว์เคสเพื่ออธิบายให้เห็นตัวอย่างที่มาจากการเรียนการสอนแนวใหม่ Creativity + Technology นั้น สามารถตอบสนองไลฟ์สไตล์ยุคใหม่ได้ไม่จำกัดรูปแบบ Solution นั้น คือ Learn to Move ซึ่งเป็น Service Robot ที่นำไปใช้สำหรับงานบริการเสิร์ฟในร้านอาหาร โรงพยาบาล โรงแรม และคอนโดมิเนียม เป็นแขนกลสั่งงานด้วยซอฟต์แวร์หรือ AI ที่สามารถเรียนรู้จดจำตำแหน่งต่างๆ เพื่อให้เคลื่อนไหวไปในทิศทางที่ผู้ใช้ต้องการ

คิดต่าง คิดกว้าง มองความต้องการที่จะเกิดขึ้นในอนาคตแล้วใช้เทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือสร้างสรรค์สิ่งใหม่ได้ไม่สิ้นสุด ส่งเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) และความรอบรู้เรื่องเทคโนโลยี (Technology) สองปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้เรียนมีทักษะและความสามารถที่จะก้าวล้ำนำหน้าอยู่เสมอ

ผศ.สรรเสริญ มิลินทสูต

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยกรุงเทพยังพัฒนาระบบนิเวศการศึกษาให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภายใต้บรรยากาศที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อม ห้องแล็บ สตูดิโอ หรืออุปกรณ์ปฏิบัติการที่ทันสมัย ปัจจุบันได้ดำเนินการย้ายการเรียนการสอนทุกคณะทุกหลักสูตรไปยัง Main Campus รังสิต เปิดโอกาสให้นักศึกษาเรียนข้ามศาสตร์ ข้ามคณะ เรียนคละชั้นปี หรือเรียนระหว่างหลักสูตรปริญญาตรีและปริญญาโทได้ เพื่อให้นักเรียนทุกคนสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ และการทำงานร่วมกัน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า