SHARE

คัดลอกแล้ว

‘ชัชชาติ’ ลงพื้นที่ย่านบางบัว พบโครงการทำเขื่อนของกทม. ผู้รับเหมาทิ้งงาน กระทบทำน้ำรอระบายไม่ไหลเข้าอุโมงค์ ย้ำจะมุ่งแก้พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก เน้นโครงการเส้นเลือดฝอย ยอมรับไม่เสร็จใน 100 วัน แต่จะทำให้ดีขึ้น

(นายจักกพันธุ์ ผิวงาม อดีตรองผู้ว่าฯ กทม. (คนข้างหลัง) ร่วมทีมการลงพื้นที่ดูปัญหากับนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ในวันนี้ ซึ่ง จักกพันธุ์ ลาออกจากตำแหน่งรองผู้ว่าฯ เมื่อปี 2562 : ข่าวเก่า )

วันที่ 18 พ.ค. 2565 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้สมัคร ผู้ว่าฯ กทม. หมายเลข 8 ลงพื้นที่สำรวจปัญหาน้ำท่วม บริเวณถนนพหลโยธิน 46 (ย่านบางบัว) ซึ่งเป็นพื้นที่่ต่อเนื่องจากย่านลาดพร้าว เพื่อดูสาเหตุว่าทำไมน้ำจึงไหลจากคลองลาดพร้าวไมได้ ระหว่างลงพื้นที่ยังคงมีน้ำขังในชุมชน และฝนตกโปรบปราย

นายชัชชาติ ให้สัมภาษณ์ว่า ความจริงแล้ว กทม. ต้องเตรียมแผนรับมือตั้งแต่ 6 เดือนก่อนหน้าฝน กทม. ต้องร่วมมือกับกรมอุตุนิยมวิทยา ติดตามการพยากรณ์อากาศให้ละเอียดขึ้น เพื่อช่วยเตรียมแผนจัดการต่างๆ

“ต้องเอาจริงเอาจังทั้งระบบ ไม่ใช่แค่ทำอุโมงค์แล้วจะจบ อย่างที่นี่ปลายคลองก็มีอุโมงค์ แต่ระบบเชื่อมต่อให้น้ำไหลเข้าอุโมงค์ต้องมี จุดที่ท่วมซ้ำซากต้องได้รับการดูแลก่อน จริงๆ แล้ว กทม. มีโครงการจะทำเขื่อน แต่ปรากฏว่า เขื่อนทำแล้วหยุดทิ้ง ก็ต้องเอาจริงเอาจังกับผู้รับเหมาทิ้งงาน ต้องเพิ่มแบล็กลิสต์ไหม ต้องปรับยังไง แล้วก็พยายามทำเขื่อนให้เสร็จ ชาวบ้านเขาอุตส่าห์ขึ้นมาบนบกแล้ว เดิมเขาอยู่ริมคลอง ก็น่าจะทำเขื่อนได้ดี ขุดลอกได้ดี” นายชัชชาติ ระบุ

ผู้สื่อข่าวถามว่าเป็นโจทย์ยากหรือไม่ในการแก้ไข นายชัชชาติ ตอบว่า เป็นโจทย์ที่เห็น ซึ่งก็ต้องจัดสรรงบประมาณ ทบทวนโครงการขนาดใหญ่ที่ยังค้างอยู่บางทีใช้งบประมาณเยอะ แล้วมาทำโครงการย่อย เพื่อเสริมศักยภาพที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นก่อนหรือไม่ เพราะถ้าทำอุโมงค์ยักษ์ทั้งหมดเลย แต่สุดท้ายน้ำไปไม่ถึง อย่างไรก็ตามต้องให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินอีกครั้ง ส่วนผู้ว่าฯ ต้องมาดูภาพรวม แล้วตัดสินใจอีกครั้ง แต่ละอย่างควรจะเป็นแบบไหน

สำหรับถนนลาดพร้าว ส่วนหนึ่งที่มีปัญหาน้ำท่วมขัง เข้าใจว่าเป็นเรื่องการก่อสร้างรถไฟฟ้าด้วย ซึ่งไม่แน่ใจว่ามีผลกระทบกับท่อระบายน้ำอย่างไร ต้องดูรายละเอียดอีกครั้ง สิ่งแรกที่ต้องทำกับปัญหาน้ำท่วม คือ “พื้นที่ความเสี่ยง” แสดงข้อมูลพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม แล้ววิเคราะห์ว่าจุดไหนต้องแก้อย่างไร เข้าใจว่า กทม. ทำได้ดีระดับหนึ่งแต่ยังมีจุดย่อยๆ ประกอบฝนตกมากก็อาจจะระบายไม่ทันจริงๆ ปัญหามันอยู่ที่เส้นเลือดฝอย บางทีมันอุดตัน มันไปไม่ถึง ต้องพยายามดูเอาน้ำไปให้ถึงอุโมงค์ให้ได้ เส้นเลือดใหญ่มีอยู่แล้ว ทั้งนี้น้ำจากถนน ลงท่อระบายน้ำ ลงคลอง แล้วก็ลงแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงไหนที่มีคลอง ก็มีจุดดูดน้ำข้าม หรือก็มีทางด่วนลัดใต้ดินไปเลยก็แค่นี้ระบบ ดังนั้นกระบวนการมันต้องไปได้ รวมทั้งปั้มน้ำก็เป็นเรื่องสำคัญ ต้องดูให้ครบและอย่าให้เป็นความผิดพลาดของคนด้วย

“อย่าเอาตรงนี้มาเป็นคะแนนเสียงเลยนะ ที่ลงมาตรงนี้ก็เป็นระยะสั้น จริงๆ ดูความเข้าใจปัญหาในระยะยาว ดูความเข้าใจดีกว่า เมื่อคืนมันก็ตกหนักจริงๆ นะ มันก็สุดวิสัยระดับหนึ่ง จะบอกว่าถ้าผมอยู่ แล้วตกขนาดนี้ ตรงนี้ไม่ท่วม เราก็ยังพูดไม่ได้เต็มปาก เพราะว่า ฝนตกหนัก ผมว่าลองดูนโยบายภาพรวมดีกว่า แก้ได้ ดีขึ้นได้แน่นอน แต่มันก็สะท้อนหลายอย่าง เวลาตัดสินใจเลือกผู้ว่าฯ คงดูภาพรวม ไม่ใช่ดูเหตุการณ์นี้เหตุการณ์เดียวตัดสินใจเลือกใครถูกไหม ” นายชัชชาติ ตอบ เมื่อถูกถามถึงการดึงคะแนนหลังเกิดปัญหาน้ำท่วม

เมื่อถามว่าได้ตั้งกรอบหรือไม่ หากเข้ามาเป็นผู้ว่าฯ กทม. จะแก้ปัญหาภายในกี่เดือน นายชัชชาติ ตอบว่า ต้องลิสต์จุดให้ดีก่อน เพราะถ้าเราไปพูดก่อน ตนจะไม่พูดในสิ่งที่ยังทำไม่ได้ ย้ำเป็นเรื่องด่วน แต่อาจทำไม่เสร็จภายใน 100 วัน เพราะมีกระบวนการที่ต้องทำ เช่น เขื่อน ลอกคลอง แต่ถ้ารู้แนวทางชัดเจนไม่ต้องกลัว เพราะเราเข้าใจปัญหา มันเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งการลงมาสัมผัสเองก็ทำให้เราเข้าใจมากขึ้น โลกเปลี่ยนไป ฝนตกหนักมาแบบไม่รู้เนื้อรู้ตัว แล้วมาเป็นย่อมๆ ต้องเตรียมตัวให้พร้อมตลอด น้ำท่วมไม่ใช่เตรียมวันนี้ ต้องทำตั้งแต่ 6 เดือนที่แล้ว

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า