SHARE

คัดลอกแล้ว

ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ประกาศมาตรการผ่อนคลายในเชิงปริมาณทางการเงิน (Quantitative Easing: QE) ผ่านการรับซื้อพันธบัตรรัฐบาลแบบไม่จำกัดจำนวนจนถึงวันที่ 14 ต.ค. 2565 เพื่อลดความผันผวนของค่าเงิน

นอกจากนี้ ยังมีเป้าหมายเพื่อรักษาเสถียรภาพในตลาดการเงิน หลังจากที่ก่อนหน้านี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรของรัฐบาลอังกฤษ (UK Bond Yield) ปรับขึ้นร้อนแรง สวนทางกับค่าเงินปอนด์ที่อ่อนค่าลงอย่างรุนแรง

หลังอังกฤษประกาศมาตรการ QE ในคืนที่ผ่านมา ส่งผลให้ UK Bond Yield ปรับตัวลดลงทันที เช่นเดียวกับค่าเงินปอนด์ที่กลับมาแข็งค่าขึ้น

นอกจากนี้ มาตรการ QE ของอังกฤษยังส่งผลบวกต่อตลาดการเงินและตลาดการลงทุนโลก โดยเฉพาะ Bond Yield อายุ 10 ปีของสหรัฐที่ลดลงหนักที่สุดในตลาดอยู่ที่ 3.74% จากก่อนหน้านี้เคยพุ่งแตะ 4.00%

ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์ (Dollar Index) พลิกกลับมาอ่อนค่า หนุนให้เม็ดเงินลงทุนกลับเข้าไปซื้อสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น สะท้อนจากตลาดหุ้นสหรัฐที่ปิดบวกกว่า 500 จุด ส่วนตลาดหุ้นเอเชียเช้านี้ก็มีแนวโน้มปรับขึ้นตามดาวโจนส์ เช่นเดียวกับตลาดหุ้นไทยที่เปิดเช้านี้บวกขึ้นไปมากกว่า 12 จุด

สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท แม้ในคืนที่ผ่านมาจะมีจังหวะแข็งค่าต่ำกว่า 38.00 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ ลงมาทดสอบที่ 37.720 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ แต่เช้านี้ยังกลับมายืนเหนือ 38.00 บาทต่อ 1 ดอลลาร์เช่นเดิม

‘กิจพณ ไพรไพศาลกิจ’ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ และนักกลยุทธ์ บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) อธิบายว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา (19-23 ก.ย.) รัฐบาลใหม่ของอังกฤษประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและเยียวยาเงินเฟ้อด้วยการลดภาษีขนาดใหญ่ 4.5 หมื่นล้านปอนด์ (ราว 1.8 ล้านล้านบาท)

ซึ่งส่งผลให้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) มองว่า จะกระทบกับฐานะการคลังของอังกฤษที่ประสบปัญหาขาดดุลอยู่แล้ว และส่งผลให้ตลาดตอบรับด้วยการเทขายพันธบัตรรัฐบาลอังกฤษ จน Bond Yield อายุ 30 ปี ปรับขึ้นไปที่ระดับ 5% จาก 3.5% ซ้ำเติมสถานการณ์ค่าเงินปอนด์

นอกจากนี้ กองทุนบำนาญที่ลงทุนในตราสารหนี้ที่ใช้กลไกของอนุพันธ์ในการบริหารสัดส่วนของตราสารหนี้ระยะยาว ประสบปัญหาขาดทุนหนักจากการดีดตัวของผลตอบแทนพันธบัตร จนเริ่มถูกเรียกวางหลักประกันเพิ่ม

สองปัจจัยข้างต้นทำให้ธนาคารกลางอังกฤษไม่มีทางเลือก จำเป็นต้องประกาศแทรกแซง โดยเข้าซื้อพันธบัตรจนถึง 14 ต.ค. หรือจนกว่าสถานการณ์ของตลาดจะกลับสู่ปกติ

ส่วนสัญญาณแทรกแซงอื่นๆ ได้แก่ ธนาคารกลางเกาหลี (BOK) เริ่มเข้าแทรกแซงค่าเงินและพันธบัตร ผ่านการทำข้อตกลงสวอปค่าเงินกับกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติเกาหลี และประกาศวงเงินซื้อพันธบัตร 2.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 8 หมื่นล้านบาท)

ไต้หวันเริ่มเข้ามาดูแลค่าเงินใกล้ชิด และอาจมีการห้ามใช้มาตรการขายชอร์ตหุ้น ส่วนจีนเริ่มมีความเคลื่อนไหวภาครัฐให้คำแนะนำนักลงทุนสถาบันหลีกเลี่ยงการขายหุ้นปริมาณมากและติดตามดูแลค่าเงินมากขึ้น

ที่มา:

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า