Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยผลการประชุมร่วมกันระหว่าง กนง. และ กนส. วันที่ 4 ก.ค. 2565 เพื่อติดตามและประเมินเสถียรภาพระบบการเงินไทย โดยมีประเด็นสำคัญดังนี้

ที่ประชุมเห็นว่าระบบการเงินไทยโดยรวมมีเสถียรภาพ ตลาดการเงินสามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติแม้มีความผันผวนมากขึ้นตามตลาดการเงินโลก ธนาคารพาณิชย์ (ธพ.) มีเงินกองทุนและเงินสำรองอยู่ในระดับสูง และสามารถกระจายสภาพคล่องเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้ต่อเนื่อง

ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจประกันภัยมีฐานะการเงินมั่นคง แม้บริษัทประกันวินาศภัยบางแห่งได้รับผลกระทบจากการรับประกันภัยโควิดแบบเจอ-จ่าย-จบ แต่ขณะนี้สถานการณ์คลี่คลายโดยกรมธรรม์ส่วนใหญ่หมดอายุ ประกอบกับได้มีมาตรการกำกับดูแลอย่างเข้มข้นแล้ว

นอกจากนี้ ในการทดสอบภาวะวิกฤตระดับมหภาค (macro stress test) พบว่า ระบบการเงินไทยในภาพรวมมีสภาพคล่องเพียงพอและมีฐานะทางการเงินที่สามารถรองรับภาวะวิกฤตได้ ทั้งในกรณีที่เศรษฐกิจไทยต้องเผชิญกับภาวะหดตัวอันเนื่องมาจากการระบาดของไวรัสครั้งใหม่และวิกฤตพลังงาน และในกรณีที่เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้าต่อเนื่อง

ธปท. สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้เพิ่มเติมการจัดทำการทดสอบภาวะวิกฤตแบบย้อนกลับ (reverse stress test) เพื่อประเมินสถานการณ์ที่สามารถส่งผลกระทบรุนแรงต่อความมั่นคงของสถาบันการเงิน ตลาดทุน และเสถียรภาพของระบบการเงิน

รวมถึงระบุจุดเปราะบางและตัวชี้วัดความเสี่ยงที่ระดับวิกฤตเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการติดตามความเสี่ยงและพิจารณามาตรการเชิงป้องกัน โดยพบว่า สถานะของตัวชี้วัดความเสี่ยงในปัจจุบันยังอยู่ห่างจากระดับที่จะทำให้ ธพ. กองทุนรวม บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทประกันภัย ประสบปัญหาอย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งโอกาสเกิดเหตุการณ์ที่จะส่งผลกระทบต่อการทำหน้าที่ของตัวกลางทางการเงินเหล่านี้อยู่ในระดับต่ำ

ในระยะต่อไป เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องหลังการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดและการเดินทางระหว่างประเทศ แต่เผชิญความท้าทายจากหลายปัจจัย อาทิ การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ค่าครองชีพและต้นทุนที่สูงขึ้นจากปัญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ และภาวะตลาดการเงินที่ผันผวนจากความไม่แน่นอนของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในประเทศเศรษฐกิจหลักและปัญหาเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ (emerging markets)

ซึ่งที่ประชุมได้ประเมินผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวต่อภาคส่วนต่าง ๆ ในระบบการเงินอย่างรอบด้าน โดยให้ความสำคัญกับ (1) ปัญหาสภาพคล่องและความสามารถในการชำระหนี้ของภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจจากค่าครองชีพและต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับเพิ่มขึ้น รวมถึงนัยของแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อยึดเหนี่ยวคาดการณ์เงินเฟ้อต่อภาคครัวเรือนและธุรกิจ ระบบสถาบันการเงิน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจประกันภัย

และ (2) การสะสมความเสี่ยงจากพฤติกรรมแสวงหาผลตอบแทนที่สูงกว่า (search for yield behavior) ในบริบทที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่แท้จริงมีแนวโน้มติดลบต่อเนื่อง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของระบบการเงิน จึงเป็นประเด็นที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด

จากประเด็นความเสี่ยงข้างต้น หน่วยงานกำกับดูแลได้มีการออกมาตรการและเครื่องมือรองรับ และยกระดับการกำกับดูแลความเสี่ยงในมิติต่าง ๆ ในช่วงที่ผ่านมา อาทิ มาตรการเฉพาะจุดเพื่อดูแลความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้กลุ่มเปราะบาง การยกระดับเครื่องมือบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องของกองทุนรวมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การเสริมสร้างระบบนิเวศของตลาดตราสารหนี้ รวมไปถึงการยกระดับการกำกับดูแลบริษัทประกันภัยอย่างครบวงจร เป็นต้น

มองไปข้างหน้า หน่วยงานกำกับดูแลทั้ง ธปท. ก.ล.ต. และ คปภ. จะร่วมกันติดตามและประเมินความเสี่ยงต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด รวมทั้งเตรียมพร้อมในการประสานนโยบายและออกมาตรการดูแลที่ตรงจุดเพิ่มเติมหากจำเป็น เพื่อให้การฟื้นตัวของภาคเศรษฐกิจจริงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และลดความเสี่ยงต่อเสถียรภาพระบบการเงินไทยในระยะต่อไป

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า