Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ธนาคารแห่งประเทศไทยส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง สวนทางกับที่ตลาดคาดการณ์เอาไว้ เพราะยังมีความเสี่ยงจากเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ หลังเศรษฐกิจกลับมา การท่องเที่ยวฟื้นตัวดีกว่าคาด

‘ปิติ ดิษยทัต’ เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) และผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้ข้อมูลหลังประชุม กนง.ว่า

เศรษฐกิจไทยกลับมาเท่าก่อนเกิดโควิด-19 แล้ว แม้ว่า ธปท.จะมีการปรับประมาณการจีดีพีในครั้งนี้ลงเหลือ 3.6% จากเดือน พ.ย. 3.7% แต่ยังเป็นระดับที่ใกล้เคียงเดิม

ทั้งนี้ เป็นผลจากที่จีดีพีไตรมาส 4 ปี 2565 ของไทยออกมาต่ำกว่าที่คาดการณ์เอาไว้ ส่งผลให้มีการปรับประมาณการลงเล็กน้อย แต่แรงส่งในระยะข้างหน้ายังดีกว่าที่คาดการณ์

ส่วนส่งออกที่ปรับประมาณการลงเหลือ 6.8% จากเดิม 7.0% มาจากความเสี่ยงที่เศรษฐกิจโลกครึ่งหลังอาจปรับตัวลง

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังได้ปัจจัยหนุนจากการท่องเที่ยว หลังจำนวนนักท่องเที่ยวช่วง 2 เดือนแรกออกมาดีกว่าคาด ส่งผลให้ ธปท.ปรับประมาณการนักท่องเที่ยวปีนี้เพิ่มเป็น 28 ล้านคน จากเดิม 22 ล้านคน

[ เงินเฟ้อต่ำกว่าคาด แต่ยังต้องระวัง ]

ส่วนเงินเฟ้อช่วง 2 เดือนแรก ออกมาต่ำกว่าที่คณะกรรมการฯ คาดการณ์เอาไว้ โดยเฉพาะเงินเฟ้อในหมวดพลังงาน แต่ด้วยเงินเฟ้อพื้นฐานยังทรงตัวสูง ส่งผลให้แบงก์ชาติปรับประมาณการเงินเฟ้อเพียงเล็กน้อย

ทั้งนี้ คาดว่าเงินทั่วไปปีนี้จะลดลงเหลือ 2.9% จากเดิมที่ 3.0% ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐาน คาดว่าจะอยู่ที่ 2.4% จากเดิมที่ 2.5%

อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อยังมีความเสี่ยงจากช่วงที่ผ่านมา ผู้ประกอบธุรกิจส่วนใหญ่ยังไม่ได้ส่งผ่านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นไปยังผู้บริโภคมากนัก จึงมีความเสี่ยงจะเห็นการส่งผ่านเพิ่มขึ้นในระยะข้างหน้า

ขณะที่การส่งผ่านดอกเบี้ยของธนาคาร พบว่ามีการปรับตัวอัตราดอกเบี้ยขึ้นพอสมควร โดยลูกค้ารายใหญ่ เห็นการส่งผ่านสูงกว่าในอดีตประมาณ 68% ส่วนลูกค้ารายย่อย เห็นการส่งผ่านประมาณ 44% สะท้อนว่าธนาคารมีการแยกแยะตามสถานการณ์ลูกหนี้

เมื่อถามถึงผลกระทบต่อภาคครัวเรือนและธุรกิจ หลังแบงก์ชาติเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง ผู้ช่วยผู้ว่าการระบุว่า ธปท.มีการติดตามผลกระทบอย่างใกล้ชิดเสมอ โดยพบว่าภาพรวมยังรองรับได้

ขณะที่กลุ่มลูกหนี้เปราะบาง ซึ่งถูกผลกระทบต่อเนื่องมาตั้งแต่ช่วงโควิด-19 แบงก์ชาติก็มีมาตรการช่วยเหลือออกมารองรับ ทั้งในส่วนของครัวเรือนและธุรกิจที่

[ ปัญหาแบงก์ล้มกระทบไทยน้อยมาก ]

ขณะที่ปัญหาธนาคารต่างประเทศล้ม พบว่ากระทบเศรษฐกิจและสถาบันการเงินไทยค่อนข้างจำกัด โดยตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงต่ำกว่าประเทศที่เกิดปัญหา เช่นเดียวกับหุ้นธนาคารของไทยที่ปรับตัวลงน้อยกว่าหุ้นธนาคารในประเทศที่มีปัญหา

โดย ธปท.ยังคงติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ทั้งช็อกที่อาจเกิดขึ้นกับระบบธนาคารและตลาดทุน อย่างไรก็ตาม ธนาคารไทยมีความแข็งแกร่งค่อนข้างมามาก ทั้งฐานทุนและเงินสำรอง ขณะที่มีสัดส่วนการถือครองสินทรัพย์ของธนาคารที่มีปัญหาค่อนข้างน้อย

ที่ผ่านมา แบงก์ชาติมีการกำกับดูแลความเสี่ยงของสถาบันการเงินค่อนข้างเข้มงวดอยู่แล้ว มีการทำแบบทดาสอบความเสี่ยง (Stress Test) ซึ่งทดสอบในกรณีเลวร้ายที่สุดด้วย (Worst Case Scenario)

ผลปรากฎว่า ภาพรวมธนาคารพาณิชย์ค่อนข้างเข้มแข็ง พร้อมรับช็อกที่เข้ามากระทบ ซึ่งปัญหาสถาบันการเงินต่างประเทศที่เกิดขึ้น ถือเป็นช็อกหนึ่ง แต่เป็นช็อกที่กระทบน้อยมากๆ เพราะความข้องเกี่ยว (Exposure) กับสถาบันการเงินที่มีปัญหาค่อนข้างน้อย

นอกจากนี้ โครงสร้างงบดุลของธนาคารพาณิชย์ค่อนข้างกระจายตัวดี ไม่ได้กระจุกตัวอยู่ในสินทรัพย์ใดสินทรัพย์หนึ่งที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยง จึงไม่ต้องมีมาตรการพิเศษมาดูแล ณ ตอนนี้

[ ยืนยันว่ายังขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง ]

มองไปข้างหน้าคณะกรรมการฯ มองว่าเงินเฟ้ออาจอยู่ในระดับที่สูงนานกว่าคาด ตัวแปรสำคัญคือการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ภาคบริการ และนักท่องเที่ยวที่เข้ามา ซึ่งอาจส่งผ่านไปยังเงินเฟ้อ จึงต้องจับตาแรงกดดันฝั่งอุปสงค์

เมื่อถามถึง Terminal Rate หรืออัตราเงินเฟ้อเป้าหมายปลายทาง ผู้ช่วยผู้ว่าการระบุว่า หลัง กนง.ทยอยขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องตั้งแต่เดือน ส.ค. 2565 โดยปรับนโยบายการเงินเข้าสู่ปกติ หรือผ่อนคลายให้น้อยลงหลังโควิด-19 เพื่อให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไม่สะดุด

โจทย์ถัดไป คือการทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเงินเฟ้อที่จะต้องดูแลให้กลับเข้าสู่เป้า และอยู่ในกรอบเป้าหมายต่อไป (1-3%) ซึ่งการจะดูแลให้เศรษฐกิจเติบโตได้อย่างมีเสถียรภาพ คงต้องมีกระบวนการถอนคันเร่งต่อไป

‘การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง ยังเป็นการดำเนินแนวนโยบายการเงินที่เหมาะสม’

ทั้งนี้ เงินเฟ้อของโดยรวมของไทยได้ผ่านจุดสูงสุดไปตั้งแต่ช่วงปลายปี 2565 หากปัจจัยแวดล้อมไม่ได้เปลี่ยนแปลง คาดว่าแนวโน้มเงินเฟ้อจะไม่เพิ่มขึ้น

[ จับตานโยบายรัฐบาลใหม่ ]

สำหรับการเลือกตั้ง แน่นอนว่ามีผลต่องบประมาณของภาครัฐ แม้การจัดสรรงบประมาณจะดำเนินการเสร็จไปแล้วในช่วงก่อนหน้านี้ แต่กระบวนการเบิกจ่ายอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างในช่วงนี้

และหากรัฐบาลใหม่เข้ามา ก็อาจมีการปรับเปลี่ยนงบประมาณอีกครั้ง ซึ่งจะต้องติดตามเพื่อทบทวนการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ตาม โมเมนตัมของเศรษฐกิจไทยไม่ได้ขึ้นกับการใช้จ่ายภาครัฐ แต่ขึ้นอยู่กับการท่องเที่ยว การบริการ และการส่งออกเป็นหลัก

ขณะที่การใช้จ่ายช่วงเลือกตั้ง แม้ในอดีตจะมีผลต่อเศรษฐกิจบ้าง แต่เป็นผลกระทบที่เล็กน้อยมาก และไม่ได้ส่งผ่านไปยังเงินเฟ้อ โดย ธปท.ยังให้น้ำหนักอุปสงค์ในประเทศ เป็นปัจจัยที่มีผลต่อเงินเฟ้อมากกว่า

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า