SHARE

คัดลอกแล้ว

เชื่อว่านักลงทุนไม่น้อยเคยได้ยินเชื่อของ ‘บ้านปู’ กลุ่มธุรกิจพลังงานรายใหญ่ของประเทศ ซึ่งภายใต้กลุ่มบ้านปูเองก็มีธุรกิจเล็กใหญ่แตกแขนงออกไปมากมาย

วันนี้ TODAY Bizview มีโอกาสพูดคุยกับ ‘อิศรา นิโรภาส’ ซีอีโอของ บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BPP หนึ่งในบริษัทลูกของบ้านปู ที่จะมาเล่าถึงธุรกิจและโอกาสการเติบโตในอนาคต

เท้าความธุรกิจของบ้านปู เพาเวอร์?

บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ เป็นบริษัทที่แตกไลน์มาจากกลุ่มบ้านปู (บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) หรือ BANPU) เน้นธุรกิจผลิตไฟฟ้า แตกต่างจากกลุ่มบ้านปูที่เริ่มจากธุรกิจถ่านหิน

โดยช่วงแรกเริ่มจาก 3 โครงการ ได้แก่  ได้แก่ 1. โรงไฟฟ้าบีเอลซีพี (BLCP) และ 2. โรงไฟฟ้าไตรเอนเนอจี้ (Tri Energy) ซึ่งเป็นธุรกิจผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ (Independent Power Producer: IPP)

อีกหนึ่งโครงการเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน โดยบริษัทฯ เป็นผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก (Small Power Producer: SPP) รายแรกของประเทศ

ต่อมาในปี 2558-2559 บริษัทฯ ก็ได้เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และมีการเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ จากการซื้อโรงไฟฟ้าเข้ามาบริหาร

ภาพรวมธุรกิจปัจจุบันตอนนี้มีอะไรบ้าง?

ถ้าในเชิงพื้นที่ บ้านปู เพาเวอร์ มีธุรกิจกระจายอยู่ในหลายๆ ประเทศ แต่ถ้าในเชิงรูปแบบการทำธุรกิจ (Business Model) ก็จะมีทั้งโครงการ IPP และ SPP อย่างที่กล่าวไป

โดยโครงการ IPP ที่เป็นสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะยาว (Power Purchase Agreement: PPA) ได้แก่ โรงไฟฟ้าเอชพีซี (HPC) ประเทศลาว โรงไฟฟ้าบีแอลซีพี (BLCP) ประเทศไทย และโรงไฟฟ้าซานซีลู่กวง (SLG) ประเทศจีน

ทั้งหมดนี้เป็นโรงไฟฟ้าถ่านหิน แต่เป็นโรงไฟฟ้าเทคโนโลยีประสิทธิภาพสูงและปล่อยมลพิษต่ำ (High Efficiency Low Emission Technology: HELE) รุ่นยิ่งใหม่ ยิ่งปล่อยคาร์บอนที่ปลายปล่องลดลง

อีกหนึ่งกลุ่มธุรกิจที่บริษัทฯ เปิดน้ำน่านใหม่ คือ โรงไฟฟ้า CCGT (Combined Cycle Gas Turbines) เป็นเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง ผสมผสานกระบวนการทำงานของกังหันก๊าซ (Gas Turbine)

โดยโรงไฟฟ้า CCGT ตั้งอยู่ในสหรัฐ ได้แก่ โรงไฟฟ้า Temple I และโรงไฟฟ้า Temple II รวมกำลังการผลิตประเทศ 1,500 เมกะวัตต์

แต่เทรนด์โลกเบนไปพลังงานสะอาดมากขึ้น?

เรื่องของการลดคาร์บอน (Decarbonization) เริ่มมีการพูดคุยกันมากขึ้นในกลุ่มบ้านปู ไม่ว่าจะเป็นบ้านปู, บ้านปู เพาเวอร์ และบ้านปู เน็กซ์ ก็ตอบรับเรื่องของการเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกัน

ซึ่ง Decarbonization สามารถทำได้หลายวิธี หนึ่งในนั้นคือการหยุดลงทุนในธุรกิจถ่านหิน แต่ในส่วนที่เป็นโรงไฟฟ้าที่ดำเนินการอยู่ (Operating Plant) ก็ต้องดำเนินต่อไป เพราะเรามีภาระผูกพัน (Obligation) กับรัฐบาลท้องถิ่นนั้นๆ

นอกจากถ่านหินที่หยุดลงทุนเพิ่มแล้ว บ้านปู เพาเวอร์ จะไปเพิ่มการลงทุนในเชื้อเพลิงที่มีรอยเท้าคาร์บอน (Carbon Footprint) น้อยลง โดยจะให้น้ำหนักเรื่องของการลงทุนในโรงไฟฟ้า CCGT

ทำไมบ้านปู เพาเวอร์ ถึงเลือกลงทุนในสหรัฐ?

ส่วนพื้นที่ๆ จะไปเล่นตอนนี้ อย่างที่เรียนให้ทราบว่า ตลาดไทยค่อนข้างจะอิ่มตัว (Saturate) แล้ว โอกาสตอนนี้จะเป็นที่ตลาดสหรัฐอเมริกา เพราะดีมานด์ของสหรัฐฯ ยังมีอัตราการเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ

ไม่ว่าจะเป็นดีมานด์จากประชากรที่ไม่ได้ลด และมีการไฟฟ้ามากขึ้น รวมถึงรถยนไฟฟ้า (Electric Vehicle: EV) ที่มันมีแนวโน้มจะมากขึ้น รวมถึงดีมานด์ใหม่ๆ จากตู้โหลดเซ็นเตอร์ (Load Center) และศูนย์ข้อมูล (Data Center) เหล่านี้ ที่จะมีการเติบโตของการใช้ไฟฟ้ามากขึ้น

ประกอบกับตลาดที่เป็นตลาดไฟฟ้าเสรี (Merchant Power Market) ที่เปิดให้นักลงทุนเข้าไปลงทุน ตรงนั้นเราสามารถนำความรู้ ความสามารถของทีมที่อยู่ในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากว่าเราไปเซตอัปที่สหรัฐได้ 2 ปีกว่าๆ แล้ว

banpu-power-beyond-megawatt

การลงทุนภายใต้แผน ‘บียอนด์ เมกะวัตต์’?

ตอนนี้เรากำลังหาโอกาสในแต่ละพื้นที่ (ประเทศ) กับลักษณะธุรกิจที่เราเข้าไปดู เป็นปีแรกที่เราเริ่มจริงจังกับเรื่องนี้ เมื่อก่อนอาจจะได้แค่ศึกษาเกาะเทรนด์ไปเรื่อยๆ แต่ยังไม่ได้คิดที่ลงทุนอะไรจริงจัง แต่ตอนนี้เราเริ่มโฟกัสและทำจริงจังมากขึ้น ได้แก่

1. ระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ (Battery Energy Storage: BESS) ทางเทคนิคสามารถติดได้ทุกจุด แต่ถ้าติดแล้วไม่ได้ใช้ก็จะเริ่มส่งผลกระทบต่อการเงิน (Financial Impact) ถ้าติดแล้วไม่ได้ใช้ก็คงไม่เกิดรายได้ เราก็คงไม่ไปลงทุนในจุดนั้น เราคงจะต้องลงให้มันถูกจุด ในทำเลที่ถูกที่ และถูกเวลาด้วย

2. ไฮโดรเจนบริสุทธิ์สูงจากแอมโมเนีย (Hydro Society) เป้าหมายคือการนำแอมโมเนียเข้าไปเผาในโรงไฟฟ้าถ่านหิน สมมติ ถ่านหินใช้อยู่ 100% ลดลงมาเหลือ 95% และทดแทนด้วยแอมโมเนีย 5% นัยคือ สามารถลดคาร์บอนไป 5% ตรงไปตรงมากับสัดส่วนที่เราใช้แอมโมเนียเพิ่มมากขึ้น

3. สายส่งไฟฟ้า (Transmission Line) โดยจะมีกลไกอยู่อันหนึ่งเรียกว่า Congestion Revenue Right (CRR) ซึ่งจะไม่เหมือนตลาดไทยที่การสร้างสายส่งเกือบร้อยทั้งร้อยจะอยู่ในมือของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ภูมิภาค และนครหลวง ของสหรัฐอเมริกาเขาเปิดให้เอกชนจัดการได้เลย ซึ่งทางบ้านปู เพาเวอร์ ก็สนใจตลาดนี้อยู่

4. เชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuel) ยกตัวอย่างเช่น เชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel: SAF) ซึ่งไม่ปล่อยคาร์บอน เป็นโอกาสที่ถ้าเราสามารถแทรกตัวเข้าไปอยู่ในอุตสาหกรรม เรามองเห็นว่ามันก็มีดีมานด์อยู่พอสมควร แต่เราก็ต้องแมชชิ่งว่าโลเคชั่นไหนเหมาะ กฎเกณฑ์ของประเทศไหนที่จะบังคับให้มีการใช้เชื้อเพลิงตัวนี้

งบลงทุนของบริษัทเพื่อ 4 ธุรกิจใหม่?

ภาพใหญ่เรามองไป 3 ปีต่อจากนี้ (2567-2569) ประมาณ 500-700 ล้านเหรียญ (ราว 1.8-2.5 หมื่นล้านบาท) แบ่งเป็น 85-90% เราจะโฟกัสไปที่ CCGT Plant อีก 10-15% เราจะมองไปที่ Energy Infrastructure สัดส่วนโดยประมาณ

ตรง CCGT Plant ตอนนี้ที่เรามองอยู่ ตลาดท่ีเรามีความเชื่อมั่น น่าจะมีรีเทิร์นระดับที่เรายอมรับได้ และเป็นพื้นที่ที่เราคุ้นเคยอยู่แล้ว ตอนนี้เราก็โฟกัสไปที่สหรัฐอเมริกาประเทศเดียว

ส่วน 10-15% หลังที่เป็น EI กำลังศึกษากันอยู่ ก็น่าจะมีข่าวทยอยๆ ออกมาเป็นระยะ ตอนนี้ก็มีดีลอยู่ในไปป์ไลน์อยู่หลายโครงการ ถ้ามีข่าวดีก็จะทยอยอัปเดต โดยในช่วงครึ่งหลังคาดว่าน่าจะพอได้เห็น

ผลการดำเนินงานในช่วงครึ่งแรกปี 2567?

ผลประกอบการไตรมาส 1 ปี 2567 ของ Renewable Energy ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ เพราะลมกับแดด อัตราความสามารถในการผลิตไฟฟ้า (Capacity Factor) ไม่ได้สูงมาก และเป็นช่วงฤดูกลางๆ (Shoulder Month) ส่วนธุรกิจ ค่อนข้างจะนิ่ง ไม่ได้มีประเด็นอะไร เป็นไปตามแผน

ที่จะมีเกณฑ์มากหน่อยคือที่ประเทศจีน ซึ่งมีธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม (CHP) ซึ่งสามารถบริหารต้นทุนเชื้อเพลิงถ่านได้ค่อนข้างดี เป็นปัจจัยบวกที่หนุนกำไรสุทธิ คาดว่าจะสามารถรักษาโมเมนตัมอันนี้ได้จนถึงสิ้นปี

ส่วนโรงไฟฟ้าแต่ละโรง เริ่มจาก BLCP น่าจะเลื่อนการปิดซ่อมบำรุงออกไปเป็นต้นปีหน้า (2568) อันนี้ก็จะเป็นอัพไซด์อันหนึ่งที่จะสามารถเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าได้มากขึ้นในช่วงสิ้นปีม (เดินนอกสัญญา) ซึ่งจะทราบประมาณไตรมาสที่ 4 แต่เราค่อนข้างมั่นใจว่าน่าจะทำได้ เพราะจากประวัติศาสตร์ 15 ปี เราทำได้ทุกปี

ส่วนโรงไฟฟ้า HPC การผลิตไฟฟ้า (Reliability) อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ อาจจะไม่ได้ดีเท่า BLCP เพราะไม่มีเวลาเหลือมาวิ่งนอกสัญญา แต่การบริหารต้นทุนเชื้อเพลิงก็ทำได้ดี Availability ก็น่าจะเป็นไปตามแผน

ทั้งนี้ ในไตรมาส 1 ปี 2567 บ้านปู เพาเวอร์ มีรายได้ 6,488.09 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 677.26 ล้านบาท

ทิ้งท้ายกับการขึ้นมารับตำแหน่งในครั้งนี้?

หลังจากเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 2 เม.ย.ที่ผ่านมา ภารกิจหลักคือ มันเป็นช่วงเปลี่ยนผ่าน (Transformation) เรากำลังจะขยับจากเชื้อเพลิงที่เป็นฟอสซิล (Fossil Fuel) ซึ่งเป็นสิ่งที่เราถนัดมาตลอด ไม่ว่าจะเป็นถ่าน เป็นก๊าซ มาเป็นเทคโนโลยีที่มัน Decarbornize มากขึ้นเรื่อยๆ

แต่ช่วงเปลี่ยนผ่านมันต้องใช้เวลา ไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆ จะพลิกในข้ามคืน มันอาจจะใช้เวลาในแต่ละสินทรัพย์ แต่ละพื้นที่ แต่ละเทคโนโลยี ที่ค่อยๆ มาแทนที่ไปเรื่อยๆ ซึ่งนานไปก็ไม่ได้ แต่ถ้าเร็วไปก็มีความเสี่ยง เพราะการรันธุรกิจมันต้องมีกระแสเงินสด (Cashflow) เข้ามาหล่อเลี้ยงระบบ

ถ้าเราทิ้งไปเป็นพลังงานหมุนเวียนเลยทั้งหมด ก็มันมีประเด็นเรื่องของ Cashflow เหมือนกัน เพราะมันไม่เสถียร (Stable)

ฉะนั้น ภารกิจหลักคือ ต้องช่วยกับทีมงานทรานสฟอร์มองค์กรไปในจุดที่ยังสามารถบาลานซ์ระหว่างความเสถียร (Stability) การสร้างกระแสเงินสด (Cashflow Generation) กับนวัตกรรม (Innovation) ที่กำลังจะมา

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า