SHARE

คัดลอกแล้ว

ในโลกของการลงทุนนั้น ‘หุ้น’ อาจเป็นคำแรกๆ ที่โผล่ขึ้นมาในหัว ด้วยผลตอบแทนที่ค่อนข้างสูง แต่ก็แลกมาด้วยความผันผวนที่สูงขึ้นตาม

แต่อีกหนึ่งสินทรัพย์ที่น่าสนใจ ท่ามกลางภาวะที่ผันผวนอย่างมากในขณะนี้ สิ่งที่ควรมีติดพอร์ตเอาไว้บ้างนั่นก็คือ ‘หุ้นกู้’ เพราะนอกจากจะสร้างรายได้ให้กับผู้ลงทุนได้อย่างสม่ำเสมอแล้ว ยังมีความผันผวนที่ต่ำ

[ เข้าใจก่อนลงทุน หุ้นกู้คืออะไร ]

หุ้นกู้ คือตราสารหนี้ประเภทหนึ่งที่ออกโดยบริษัทเอกชน เพื่อกู้ยืมเงินจากนักลงทุนและประชาชนได้โดยตรง สำหรับไปใช้ในกิจการต่างๆ ของบริษัท คล้ายกับพันธบัตรที่ออกโดยรัฐบาล เพื่อกู้ยืมเงินจากประชาชน

เมื่อออกหุ้นกู้แล้ว บริษัทที่ออกหุ้นกู้จะมีสถานะเป็น ‘เจ้าหนี้’ ส่วนนักลงทุนผู้ซื้อหุ้นกู้จะมีสถานะเป็น ‘ลูกหนี้’ ซึ่งเจ้าหนี้จะจ่ายผลตอบแทนให้นักลงทุนในรูปแบบดอกเบี้ย

ซึ่งระยะเวลาการจ่ายขึ้นอยู่กับที่บริษัทกำหนด เช่น จ่ายดอกเบี้ยทุกๆ 3 เดือน จ่ายดอกเบี้ยทุกๆ 6 เดือน ส่วนผลตอบแทนจะสูงหรือต่ำนั้น ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของบริษัทที่ออกหุ้นกู้

หากบริษัทมีความมั่นคง มีความเสี่ยงน้อย ผลตอบแทนหุ้นกู้ก็จะน้อยกว่าบริษัทที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งบริษัทที่มีความมั่นคงน้อยกว่า มีความเสี่ยงสูงกว่า ย่อมให้ผลตอบแทนที่สูงเพื่อจูงใจนักลงทุน

ทั้งนี้ หุ้นกู้จะคืนคืนเงินต้นกับผู้ลงทุนตามกรอบเวลาที่กำหนดยกเว้นหุ้นกู้ชั่วนิรันดร์ (Perpetual Bond) ที่นักลงทุนจะไถ่ถอนเงินคืนได้ต่อเมื่อบริษัทเลิกกิจการหรือล้มละลายเท่านั้น

[ ข้อดี vs. ข้อเสีย เมื่อลงทุนหุ้นกู้ ]

แน่นอนว่า หนึ่งในข้อดีของการลงทุนหุ้นกู้ คือ ผลตอบแทนที่อยู่ในระดับสูงราว 3-8% และการกำหนดจ่ายดอกเบี้ยอย่างเป็นประจำ ทำให้นักลงทุนได้รับรายได้อย่างสม่ำเสมอ

นอกจากนี้ หุ้นกู้ยังถือเป็นสินทรัพย์เสี่ยงต่ำ มีการซื้อขายเปลี่ยนมือค่อนข้างน้อย ทำให้ราคาผันผวนน้อยกว่าสินทรัพย์การลงทุนอื่นๆ เช่น หุ้น น้ำมัน ทองคำ คริปโตฯ อสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ

อีกหนึ่งข้อดีของหุ้นกู้ คือ หุ้นกู้ ถือเป็น ‘หนี้สิน’ หากบริษัทที่ออกหุ้นกู้ล้มละลาย ผู้ลงทุนหุ้นกู้จะมีสิทธิได้รับเงินคืนก่อนผู้ถือหุ้นทั่วไปของบริษัท (ยกเว้นหุ้นกู้ชั่วนิรันดร์) 

เมื่อมีข้อดี ก็ย่อมมีข้อเสียตามมา โดยเฉพาะในยามที่ดอกเบี้ยสูง หรือในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น นักลงทุนที่ลงทุนหุ้นกู้ไปก่อนหน้านี้ ก็อาจเสียโอกาสในการได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น

[ เงินน้อยลงทุนหุ้นกู้ได้หรือไม่ ]

นักลงทุนอาจกังวลว่า ‘ถ้ามีเงินน้อย สามารถลงทุนหุ้นกู้ได้หรือไม่’ ซึ่งในอดีตเป็นความจริงว่า นักลงทุนรายย่อยเข้าถึงหุ้นกู้ตรงๆ ได้ยาก หากมีเงินไม่มากพอ อาจต้องหันไปลงทุนในกองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนหุ้นกู้แทน

แต่ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพิ่มโอกาสในการลงทุนมากขึ้น ต้นทุนการกระจายหุ้นกู้ให้นักลงทุนรายย่อยถูกลง ทำให้นักลงทุนรายย่อยสามารถเข้าถึงหุ้นกู้ได้มากขึ้น

จากเมื่อก่อนอาจต้องเริ่มต้นซื้อขั้นต่ำที่ 100,000 บาท แต่ในปัจจุบัน การลงทุนในหุ้นกู้ของบางบริษัทเริ่มต้นเพียง 1,000 บาทเท่านั้น และสามารถลงทุนผ่านช่องทางออนไลน์ได้อีกด้วย

สำหรับช่องทางการซื้อขายหุ้นกู้ออนไลน์ในปัจจุบัน ได้แก่ แอปพลิเคชัน ‘เป๋าตังค์’ ของธนาคารกรุงไทย และ ‘SCB EASY’ ของธนาคารไทยพาณิชย์

[ หุ้นกู้ของบริษัทอะไรน่าลงทุน ]

แต่ละปีจะมีบริษัทมาออกหุ้นกู้เพื่อระดมทุนไปทำธุรกิจ ซึ่งปัจจุบัน (ณ วันที่ 20 มิ.ย. 2566) มีบริษัทเตรียมเสนอขายหุ้นกู้มากถึง 35 บริษัท โดย TODAY Bizview หยิบยกหุ้นกู้ที่น่าสนใจบางส่วนมา ดังนั้น

  • บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) เสนอขายหุ้นกู้ 4 ชุด อายุ 1-4 ปี ดอกเบี้ยระหว่าง 3.16-4.45% ต่อปี
  • บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) เสนอขายหุ้นกู้ 2 ชุด อายุ 3-4 ปี ดอกเบี้ยระหว่าง 4.30-4.60% ต่อปี
  • บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) เสนอขายหุ้นกู้ 6 ชุด อายุ 1-10 ปี ดอกเบี้ยระหว่าง 2.61-3.71% ต่อปี

นอกจากนี้ ยังมีหุ้นกู้อีกหลายบริษัทที่น่าสนใจ เช่น บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ธนาคารเกียรตินาคินภัทร บมจ.ดุสิตธานี บมจ.เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น บมจ.เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) ฯลฯ

ทั้งนี้ บริษัทที่กล่าวมาข้างต้นยังไม่ระบุดอกเบี้ยที่จะเสนอขาย อย่างไรก็ตาม นักลงทุนสามารถติดตามความเคลื่อนไหวได้ในเว็บไซต์ของ ThaiBMA

[ เทคนิคเลือกซื้อหุ้นกู้ให้ปัง ]

เทคนิคเบื้องต้นในการเลือกลงทุนหุ้นกู้ นอกจากผลตอบแทนที่ได้รับแล้ว นักลงทุนควรศึกษาปัจจัยพื้นฐานของผู้ออก เช่น ความแข็งแกร่งของบริษัท วัตถุประสงค์ในการใช้เงิน เมื่อได้เงินก้อนดังกล่าวไปแล้ว บริษัทมีศักยภาพในการชำระหนี้ได้หรือไม่

นอกจากนี้ การพิจารณาอัตราส่วนทางการเงิน ถึงจะฟังดูยุ่งยาก แต่ถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะ ‘อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน’ (Debt to Equity Eatio) หากบริษัทที่มีหนี้สินต่อทุนหลายเท่า (ยกเว้นธุรกิจการเงิน) ก็อาจจะมีความเสี่ยงต่อการผิดชำระหนี้ได้ 

สำหรับผู้ที่มีความสามารถในการอ่านงบการเงิน แนะนำติดตามงบกระแสเงินสดของบริษัทเพิ่มเติม ว่ามีกระแสเงินสดเป็นบวกและสม่ำเสมอหรือไม่ รวมถึงติดตามการจ่ายปันผลย้อนหลังของบริษัท ว่ามีความสม่ำเสมอหรือไม่เช่นกัน

อีกสิ่งสำคัญคือ ‘อันดับเครดิต’ (Credit Rating) ทั้งบริษัทผู้ออกและตัวหุ้นกู้เอง อันดับเครดิตยิ่งสูง ยิ่งมีความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ต่ำ โดยอันดับเครดิตที่แนะนำคือระหว่าง AAA ถึง BBB-

ที่มา:

  • www.thaibma.or.th
  • www.tfpa.or.th
  • www.sec.or.th

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า