SHARE

คัดลอกแล้ว

พลันที่มีการพูดถึงการเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ เราก็ได้เห็นการโหมโรงตั้งแต่ไก่โห่ พรรคใหญ่ปล่อยชื่อผู้จะลงชิงเก้าอี้มาวัดกำลัง ล้วนแล้วแต่คัดคนเด็ดคนดังมาให้เลือก ที่แน่นอนก็คือ เพื่อไทย ส่งชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อดีตแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีลงแข่งแบบไม่มีเปลี่ยนตัว ขณะที่ ประชาธิปัตย์ ที่อกหักจากการเลือกตั้งระดับประเทศ สูญสิ้น ส.ส.กทม.ไปทั้งหมด ก็แว่วว่าคิดจะส่ง อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มาวัดบารมีกันเลยทีเดียว

ที่น่าสนใจและทำให้เกิดกระแสฮือฮาไม่น้อย คือข่าวการทาบทาม ณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร “ผู้ว่าฯ หมูป่า” ในนามตัวแทนจากพรรคพลังประชารัฐ แต่ชื่อนี้ก็ไม่ใช่ของจริง เพราะคนจะลงชิงตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. ได้ต้องมีทะเบียนบ้านอยู่ในกรุงเทพฯ

ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร

ต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้มีหนังสือไปถึง กกต.ประจำจังหวัดทุกจังหวัดและกรุงเทพมหานคร (กทม.) ให้ประสานองค์การบริหารส่วนจังหวัดและกทม. จัดเตรียมอุปกรณ์เกี่ยวกับการเลือกตั้ง เช่น หีบบัตรเลือกตั้ง, คูหาเลือกตั้ง พร้อมใช้งานตั้งแต่ วันที่ 1 กันยายน 2562 เป็นต้นไป

แม้ขณะนี้ยังไม่มีการระบุวัน-เวลาที่ชัดเจน แต่คาดการณ์กันว่า สนามชิงบิ๊กเสาชิงช้า จะอยู่ในห้วงเดือนกันยายน – พฤศจิกายน 2562 เนื่องจากรอรัฐบาลใหม่ และอีกเหตุผลหนึ่งเพื่อให้การพิจารณางบประมาณประจำปี 2563 เสร็จสิ้น ไม่กระทบปัญหาการบริหารงานของกทม. โดยมีรายงานข่าวว่า ช่วงที่ผ่านมาผู้บริหาร กทม.ได้มีการเรียกประชุมผู้อำนวยการเขตทั้ง 50 เขต เป็นระยะๆ เพื่อซักซ้อมและเตรียมความพร้อมในเรื่องนี้ล่วงหน้า 

กรุงเทพมหานคร ไม่ใช่จังหวัด เหมือนอีก 76 จังหวัดของประเทศไทย แต่มีฐานะเป็น “ทบวงการเมือง” ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 ทำให้เมื่อ 44 ปีที่แล้ว คนกรุงเทพฯ ได้เลือก “ผู้ว่าราชการ” เอง โดย นายธรรมนูญ เทียนเงิน จากพรรคประชาธิปัตย์ ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ คนแรก

เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ไม่ใช่แค่สนามวัดฐานเสียงพรรคการเมือง

จากการศึกษา เลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร  มีประเด็นที่น่าสนใจ คือ กรุงเทพมหานคร, กรุงเทพฯ หรือ กทม. เป็นเมืองหลวงของประเทศไทย และเป็นฐานเสียงสำคัญของพรรคการเมือง หากใครสามารถยึดฐานเสียงในกรุงเทพมหานครได้ ก็มีโอกาสที่จะได้คะแนนเสียงการเลือกตั้งในระดับประเทศ ทำให้ตั้งแต่ปี 2547 พรรคการเมืองพยายามส่ง “ผู้สมัครหัวกะทิ” ลงรับเลือกตั้งในสนามนี้ อย่างไรก็ตาม กฎหมายไม่ได้จำกัดให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องสังกัดพรรคการเมือง ซึ่งจากการ ส.ส. ดังนั้นสีสันอีกอย่างที่เป็นเอกลักษณ์คือ จะมีผู้สมัครอิสระจำนวนมากลงมาสมัคร เช่น นายพิจิตต รัตตกุล ผู้ว่าฯ กทม. ในปี 2539

แต่ในการเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นในปี 2562 ที่มีการเลือกตั้งระดับประเทศไปแล้ว ต้องจับตาดูว่า คนกรุงเทพฯ จะแสดงออกผ่านการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.อย่างไร เพราะในอดีตเคยเกิดปรากฎการณ์ที่ว่า หากพรรคใดได้กุมอำนาจบริหารประเทศ คนกรุงเทพฯ จะเทใจไปเลือกผู้สมัครจากพรรคตรงข้าม หรือผู้สมัครอิสระไปเลย เพื่อคานอำนาจกัน แต่หากรัฐบาลในขณะนั้นได้รับความนิยมมาก ผู้สมัครจากพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล ก็มีสิทธิ์ชนะการเลือกตั้งในสนามนี้เช่นเดียวกัน

เช่น ปี 2543 เป็นช่วงรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย จากพรรคประชาธิปัตย์ ผู้ที่ชนะการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. และได้คะแนนสูงสุด คือ นายสมัคร สุนทรเวช ที่ลงสมัครในนามพรรคประชากรไทย คะแนนนำถึง 1,016,096 คะแนน ตามมาด้วย คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ จากพรรคไทยรักไทย ได้ไป 521,184 คะแนน ส่วนผู้สมัครในนามพรรคประชาธิปัตย์ คือ นายธวัชชัย สัจจกุล ได้ 247,650 คะแนน

ขณะที่ ปี 2547 เป็นช่วงรัฐบาลของนายทักษิณ ชินวัตร โดยผู้ที่คว้าชัยชนะในสนามเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. คือ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ 911,441 คะแนน แต่การเลือกตั้งครั้งนี้ พรรคไทยรักไทยไม่ได้ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. คะแนนที่เหลือจึงกระจายไปอยู่ที่ผู้สมัครอิสระเป็นส่วนใหญ่

ปี 2551 สมัยที่ 2 ที่นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ได้รับเลือกเป็นผู้ว่าฯ กทม. ด้วยคะแนนเสียง 991,018 คะแนน เอาชนะ นายประภัสร์ จงสงวน ผู้สมัครจากพรรคพลังประชาชน (หลังพรรคไทยรักไทยถูกยุบ) ที่ได้ 543,488 คะแนน ขณะที่อำนาจการบริหารประเทศ สลับมือกันระหว่างนายกรัฐมนตรี 3 คน คือ นายสมัคร สุนทรเวช นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และ นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล

ปี 2552 ในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ  หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร คนของพรรคประชาธิปัตย์ในขณะนั้น ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าฯ กทม. ด้วยคะแนน 934,602 คะแนน ทิ้งห่างคู่แข่ง นายยุรนันท์ ภมรมนตรี จากพรรคเพื่อไทย ที่ได้ 611,669 คะแนน

สำรวจฐานเสียงคนกรุงเทพฯ จากผลการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2562

พบว่าประชาชนชาวกรุงเทพฯ 1,684,519 คน หรือเท่ากับ 54% โหวตให้ 7 พรรคฝ่ายค้าน ที่ไม่สนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ชนะคะแนนรวมของ 19 พรรคร่วมรัฐบาล ที่ได้รับคะแนนโหวตจากประชาชน 1,406,072 คน หรือเท่ากับ 46%

โดยพรรคอนาคตใหม่ เป็นพรรคที่ได้รับเสียงโหวตจากคนกรุงเทพฯ มากเป็นอันดับ 1 คือ 804,272 คะแนน รองลงมาเป็นพรรคพลังประชารัฐได้ 791,893 คะแนน และอันดับ 3 เป็นพรรคเพื่อไทย (ส่งผู้สมัครแค่ 22 เขต จากทั้งหมด 30 เขต) ได้ 604,699 คะแนน

จะสังเกตว่า คะแนนที่พรรคอนาคตใหม่ได้รับนั้นค่อนข้างไล่เลี่ยกับคะแนนของพรรคพลังประชารัฐ จึงเป็นที่น่าจับตาสำหรับผลการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.

ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเคยเป็นเจ้าของพื้นที่เดิมทั้งในการเลือกตั้งระดับประเทศเมื่อปี 2554 และการเลือกตั้งผู้ว่าฯ เมื่อปี 2556 กลับได้คะแนนโหวตเป็นอันดับที่ 4 คือ 474,820 คะแนน ในการเลือกตั้งครั้งล่าสุด

 

อ้างอิง

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

เว็บไซต์มติชน: กกต.ร่อนหนังสือถึงทุกจังหวัดสั่งเตรียมอุปกรณ์เลือกตั้งท้องถิ่นอีก 3 เดือน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า