SHARE

คัดลอกแล้ว

นายกรัฐมนตรี ติดตามการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของกรุงเทพมหานคร ไฟเขียวผู้ว่าฯ กทม. ของบกลางสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียเพิ่ม

วันที่ 5 ก.ค. เวลา 13.30 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และคณะ เดินทางลงพื้นที่ติดตามการป้องกันและแก้ปัญหาน้ำท่วมของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ที่โครงการก่อสร้างบ่อหน่วงน้ำใต้ดิน (Water Bank) บริเวณสถานีตำรวจนครบาลบางเขน โครงการก่อสร้างระบบระบายน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม (Pipe jacking) ถนนพหลโยธิน บริเวณแยกเกษตรศาสตร์ และโครงการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพระบบระบายน้ำตามแนวถนนวิภาวดีรังสิต

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า เป็นห่วงในต่างจังหวัดที่ต้องเจอกับพายุฝน แต่ที่ได้ยินการอภิปรายในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่าทำไมหลายจังหวัดไม่มีน้ำใช้ ก็เพราะฝนไม่ได้ตกในเขื่อน ฝนตกทิ้งช่วง แล้วที่บอกว่า ไม่ช่วยดูแลนาปรัง เนื่องจากมีการคำนวณน้ำไว้ ต้องเก็บสำหรับน้ำอุปโภคบริโภค แต่กระทบชาวนา

“ผมเห็นใจคนจนจริงๆ ผมเห็นใจเกษตรกร ต้องดูว่าจะร่วมมือกันได้อย่างไร ผมฟังทุกครั้งที่มีโอกาส นั่งทำงานไปด้วยเปิดโทรทัศน์ดูไปด้วย ปัญหาซ้ำแล้วซ้ำอีก ต้องดูว่าที่ผ่านมาแก้อะไรไปแล้วบ้างไม่ใช่ไม่แก้เลย แต่ก็ยากที่รัฐบาลจะแก้อย่างเดียว ภาระต่างๆ แน่นอนเป็นหน้าที่ของรัฐบาล รัฐบาลมีหน้าที่หางบประมาณมาดำเนินการ คณะกรรมการมีพร้อมเป็นร้อยๆ ปีนหนึ่งมีแผนงานเป็นแสนโครงการ แล้วมีงบประมาณ 3 ล้านล้าน จะทำอย่างไร ถ้าทำทั้งหมดทีเดียวผมก็ทำให้ ต้องหาเงินก่อน ทำอะไรก็ตามต้องหาเงินให้ได้ก่อน”

พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯกทม.

พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้สัมภาษณ์ว่า นายกฯ ต้องการให้มีการนำน้ำกลับไปใช้ใหม่ หรือ Reuse โดยให้ข้อแนะนำว่า แทนที่จะทิ้งน้ำลงแม่น้ำเจ้าพระยาอย่างเดียว จะสามารถนำมาใช้บำบัดแยกส่วนน้ำเสียแล้วนำน้ำกลับมาใช้ประโยชน์ เช่น รดน้ำต้นไม้ เช่นเดียวกับที่ต่างประเทศทำ กทม.รับนโยบายมาศึกษา โดยขณะนี้มีบ่อบำบัดน้ำเสียของกทม. มีอยู่ 8 แห่ง สามารถบำบัดน้ำเสียได้ 1,100,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน แต่ความต้องการอยู่ที่ 3,000,000 – 4,000,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ดังนั้นกทม.ต้องมีบ่อบำบัดน้ำเสียง 20 แห่ง  ซึ่งปีนี้กทม.มีการเสนอตั้งงบประมาณเพื่อสร้างเพิ่มอีก 2 แห่งแล้ว (งบประมาณปี 2563) ส่วนที่เหลือนายกฯ บอกให้ขอไปที่รัฐบาล คิดว่าจะทำเรื่องขอจากงบกลาง 4 แห่งจะได้ผ่อนภาระเรื่องน้ำเสียของประชาชน

นอกจากนี้ พล.ต.อ.อัศวิน ได้ให้ความมั่นใจกับประชาชน ได้เตรียมเครื่องปั่นไฟสำรองใช้น้ำมันดีเซล เพื่อเดินเครื่องสูบน้ำกรณีไฟฟ้าดับ เพื่อป้องกันปัญหาน้ำรอการระบายเหมือนเช่นที่ผ่านมา

กทม. มั่นใจแม้ฝนตกมากจะระบายน้ำได้เร็วขึ้น

ทั้งนี้ กทม.เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ มีความลาดชันน้อย และมีระดับต่ำกว่าระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้น้ำไม่สามารถไหลตามธรรมชาติลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ จึงได้ดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพระบบระบายน้ำ เช่น การก่อสร้างบ่อหน่วงน้ำใต้ดิน (Water Bank) บริเวณวงเวียนบางเขน โครงการก่อสร้างระบบระบายน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม (Pipe Jacking) บริเวณถนนทรงสวัสดิ์ ถนนเยาวราช และถนนเจริญกรุง ซึ่งทั้ง 2 โครงการดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว รวมทั้งติดตามสถานการณ์ฝนในพื้นที่จุดเสี่ยงน้ำท่วม 14 จุด และจุดเฝ้าระวังน้ำท่วม 56 จุด

นอกจากนี้ กทม.ได้เตรียมความพร้อมจัดกำลังเจ้าหน้าที่ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อเตรียมเข้าพื้นที่ก่อนที่ฝนจะตก ขณะฝนตก และหลังฝนหยุดตก ซึ่งสำนักการระบายน้ำมีศูนย์เรดาร์ตรวจอากาศอยู่ 3 แห่ง ได้แก่ ศูนย์เรดาร์ตรวจอากาศหนองแขม ศูนย์เรดาร์ตรวจอากาศหนองบอน และศูนย์เรดาร์ตรวจอากาศหนองจอก ซึ่งศูนย์เรดาร์ดังกล่าวจะทำการตรวจจับกลุ่มเมฆฝน โดยจะทราบล่วงหน้าก่อนที่กลุ่มเมฆฝนจะเข้าพื้นที่ประมาณ 3 ชั่วโมง จากนั้นสำนักการระบายน้ำจะแจ้งเตือนผ่านระบบต่างๆ ให้เจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้เข้าพื้นที่เตรียมความพร้อมล่วงหน้าก่อนที่ฝนจะตก รวมถึงการลดระดับน้ำในคลองให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อเตรียมรองรับปริมาณฝนที่ตกลงมา

ปัจจุบัน กทม.ได้ดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพระบบระบายน้ำแล้วเสร็จหลายโครงการ หากฝนตกลงมาในปริมาณมากเกินกว่า 60 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง จะใช้ระยะเวลาในการระบายน้ำออกจากพื้นที่ได้เร็วกว่าปีที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับปริมาณฝนที่เท่ากัน

ขอบคุณภาพประกอบหน้าปก thaigov.

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า