SHARE

คัดลอกแล้ว

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ มีภารกิจต้องเข้าชี้แจง แผนการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวนกว่า 22,284 ล้านบาท ต่อคณะกรรมาธิการงบประมาณ ปี 2566 สภาผู้แทนราษฎร เมื่อช่วงค่ำที่ผ่านมา ทำให้ไม่ได้อยู่ดูหนังกลางแปลง ‘2499 อันธพาลครองเมือง’ ในงานกรุงเทพกลางแปลงวันแรก และไม่ได้เจอกับพระเอก ‘ติ๊ก เจษฎาภรณ์ ผลดี’

ทั้งนี้ มีกรรมาธิการหลายคนตั้งคำถาม รวบรวม คำตอบของ ผู้ว่าฯ ชัชชาติ สรุปได้ดังนี้

– เรื่องสายสื่อสาร

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ : กระทรวงดิจิทัลได้นัดคุยระหว่าง กทม. และกสทช. มีผลที่จะจัดระเบียบ 800 กิโลเมตร แรก 16 เขตภายปีนี้ โดย กสทช.จะสนับสนุนเงินประมาณ 700 ล้านบาท ช่วงแรก เป็นตัดสายตาย ส่วนการนำสายลงดิน จะมีการหารือเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค โดยรัฐมนตรีกระทรวงดีอีเอส มีแนวคิดจะให้ใช้ท่อของ NT ที่มีอยู่เดิมแล้ว ส่วนกรุงเทพธนาคม ก็มีโครงการจะนำสายลงดินแต่ล่าช้ามาก ซึ่งเรื่องการนำสายลงดิน ทั้งกทม. ใช้เวลาไม่น่าจะน้อยกว่า 10 ปี ขณะที่เรื่องจัดระเบียบสายคงทำได้เร็วกว่า

– โครงการก่อสร้างสะพานเกียกกาย

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ : มีการประชุมระหว่างบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติ เมื่อ 8 ก.ค. 64 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน สรุปให้ดำเนินการต่อ ได้มีการประมูลจบสิ้นไปแล้ว มีการลงนามทำสัญญาไปแล้วด้วย กระบวนการได้ดำเนินการไปแล้ว เรื่องการสร้างสะพานเกียกกาย เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดก่อนตนจะเข้ามารับตำแหน่ง แต่จะกำกับดูแลว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ส่วนเรื่องที่ไม่มีค่าปรึกษา ความจริงมีเงินค้างอยู่ 2.5 ล้านบาท ไม่ได้ใช้ เลยเอามาจ้างที่ปรึกษาก่อน ได้เซ็นสัญญาไปแล้ว ขณะที่ค่าจัดกรรมสิทธิ์ จริงๆ แล้วใช้ไปประมาณ 4,284 ล้านบาท ปีนี้จึงขอเพิ่ม 600 ล้านบาท ตัวเลขทั้งหมดเป็น 7,490 ล้านบาท คงต้องมีทยอยเข้ามาขออีก

โครงการสะพานเกียกกายนี้เริ่มมานาน ซึ่งสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นสิ่งที่เราขาด เป็นจุดที่รถติดทุกแห่ง ไม่ว่าจะเป็น ตากสิน ปิ่นเกล้า และการสร้างสะพานเส้นใหม่ยากมาก จะมีสะพานแถวเยาวราช ราชวงศ์ ไม่มีทางได้สร้างเพราะได้รับการต่อต้านค่อนข้างรุนแรง ความเหมาะสมของสะพานเกียกกาย คือยังไม่ได้ดูรายละเอียด เพราะเพิ่งเข้ามา จะพยายามหาข้อมูลเพิ่มเติมประกอบ

– อาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร (อสส.)

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ : เป็นเรื่องสำคัญ โดย อสส. มีอัตราส่วนของประชากรต่อ อสส. 1 คน ขณะนี้ กทม. มี 12,000 คน ซึ่งต่ำกว่ามาตรฐาน เพราะควรจะมีอย่างน้อย 40,000 – 50,000 คน แต่ถ้าเป็นชุมชน คอนโด หาอาสาสมัครยากเช่นกัน ปีนี้จะเพิ่ม 2,000 คน มีแนวคิดจะนำทางคอนโดมามีส่วนร่วมด้วย สำนักอนามัยกำลังดำเนินการอยู่ แต่เนื่องจาก ทางคอนโด มีการเก็บค่าส่วนกลาง นิติบุคคล แนวโน้มอาจจะเป็นขอความร่วมมือไม่มีค่าตอบแทนให้ก่อน และจะทำการอบรมเพื่อเพิ่ม อสส.

– ขยะในกทม.

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ : เรามีโรงงานขยะหลายโรงที่มีปัญหากับชุมชน ตอนนี้ ให้หยุดดำเนินการ และแก้ไขปัญหาต่างๆ รวมถึง อ่อนนุช ที่มีการใช้แก๊สผลิตไฟฟ้า ปัญหาอีกส่วนไม่ใช่เรื่องการกำจัดขยะ แต่เป็นเรื่องราคากำจัดขยะด้วยที่มีตัวเลขค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับต่างจังหวัด อีกทั้งมีการทำสัญญาระยะยาว 20 ปีทำให้การปรับเปลี่ยนยาก ตอนนี้ทำได้คือทำตามระเบียบกฎหมายให้เข้มข้นเพื่อดูแลผลประโยชน์ประชาชนอนาคตจะมีกระบวนการแยกขยะเปียก ขยะแห้ง เพื่อลดปริมาณขยะ ส่วนการประมูลเพิ่มต้องให้ราคาต่ำสุด ค่าเก็บขยะแพงมาก เมื่อเทียบกับงบสาธารณสุขและการศึกษา ซึ่งต้องแก้ไขต่อไป

– ส่วนโครงการใหญ่ EIA

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ : เรามีนโยบายทำ Open contact คือต่อไปนี้สัญญาต่างๆ จะให้ประชาชนสามารถตรวจสอบเพื่อติดตามว่า ได้ทำถูกต้องหรือไม่ รวมถึงการทำประชาพิจารณ์ ต้องทำอย่างจริงจัง ที่ผ่านมา ส่วนตัวรู้สึกว่าเป็นเพียงพิธีกรรม มากกว่าประชาชนจะมีส่วนร่วมจริงๆ ต้องทำให้เข้มแข็งขึ้น และให้คนที่มีส่วนได้เสียมา ให้ความเห็น และมีการบันทึกไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้เป็นประชาพิจารณ์ที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ส่วนเรื่องการควบคุม อย่างบีทีเอส หรือ ฝุ่นต่างๆ คงต้องเป็นมาตรการ EIA ที่กำหนดไว้ต้องทำตามให้เข้มข้นขึ้น

– แปลงเกษตร

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ : ต้องแยกว่าเรื่องการตัดสินว่า เป็นแปลงเกษตรหรือไม่เป็นกฎของกระทรวงการคลัง ไม่ได้ให้อำนาจ กทม. วินิจฉัย ปลูกต้นกล้วยกี่ต้น มะนาวกี่ต้น ถ้าปลูกตามนั้นก็ต้องตัดสินว่าเป็นการเกษตร ส่วนอำนาจของกทม. มีอยู่นิดเดียว คือสามารถปรับเพดานภาษีได้ กฎหมายกำหนด เพดานเกษตรไว้ที่สูงสุด 0.15 % ปัจจุบันที่ประกาศยังไม่ถึง ประกาศที่ใช้คือ 0.05 % เป็นขั้นบันได ซึ่งสิ่งที่กทม. จะปรับได้ คือ ถ้าทำเกษตรในพื้นที่สีแดง ซึ่งเป็นพื้นที่ทางพาณิชย์ จะเก็บภาษีสูงสุด 0.15% อำนาจท้องถิ่นปรับลงไม่ได้ แต่ปรับมากกว่าที่กระทรวงการคลังกำหนดได้ แต่ต้องไม่เกินขอบสูงสุดในกฎหมาย ซึ่งจะมีการพิจารณาต่อไปว่า จะทำอย่างไรเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด

– การขาดแคลนแพทย์

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ : เป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน ตอนนี้เริ่มรับแพทย์จากต่างประเทศมาฝึกในหลายโรงพยาบาล 50-60 คน และจะรับได้ปีหน้า และมีแนวคิดว่าต่อไป อาจจะมีการให้แพทย์ใช้ทุนในกทม. ได้หรือไม่ เพราะคนจะติดว่าต่างจังหวัดแพทย์ขาดแคลน ความจริงกรุงเทพฯ ก็ขาดแคลนแพทย์

– อุโมงค์ยักษ์

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ : ที่ปีที่แล้วไม่มีการเบิกจ่าย จริงๆ เรามีอุโมค์ยักษ์ 3 อุโมงค์ คือคลองเปรมประชากร มีสัดส่วน รัฐบาลจ่าย 70 กทม.จ่าย 30, ทวีวัฒนา รัฐบาลจ่าย 50 กทม. จ่าย 50 และส่วนต่อขยายลาดพร้าว 130 รัฐบาลจ่าย 50 กทม. จ่าย 50 ทั้ง 3 สัญญา เซ็นไปแล้วเมื่อปลายปีที่แล้วประมาณ 12,000 ล้านบาท แต่ปีนี้เข้าใจว่า เงินสนับสนุนจากรัฐบาลไม่มี แต่ฝั่งกทม. ตั้งงบไว้ ก็คงจะมาปีหน้า

– งบประมาณ

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ : จริงๆ กทม. มีงบอีก 80,000 ล้านบาท ที่ได้จากภาษีต่างๆ รวมแล้วประมาณแสนล้านบาท ไม่ได้เยอะถ้าเทียบกับงบของรัฐบาล 3.1 ล้านล้านบาท ของเราเทียบเป็น 2.5 % ของเงินรัฐบาล แต่เราดูแลประชากร 15% ดังนั้น งบแสนล้านไม่ได้เยอะเกินขอบเขตหน้าที่ที่เราดูแลอยู่ สำหรับ กทม. มีความอึดอัดตรงที่ว่าหลายส่วน มีหลายหน่วยงานเกี่ยวข้องเช่น สาธารณสุข เราไม่มีสาธารณสุขจังหวัด เมื่อเกิดโควิด ไม่มี Single Command มีเตียงแค่ 10 % ที่เหลือเป็นของเอกชน หน่วยงานอื่น ขณะที่จราจร มี 37 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พอรถติดที หาเจ้าภาพยาก เป็นความอึดอัดอันหนึ่งที่คิดว่ามีปัญหาอยู่

– ยุทธศาสตร์

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ : กทม. มีแผ่นแม่บทอยู่แล้ว 7 ยุทธศาสตร์ 20 ปี ตนในฐานะคนเข้ามาใหม่ เราคงจะไม่ปรับยุทธศาสตร์ทันที เพราะไม่อยากให้ผู้ว่าฯ มาทียุทธศาสตร์ที แต่เราคงพยายามทำให้ยุทธศาสตร์ที่เรามีเข้ากับของที่มีอยู่ก่อน คิดว่าไม่แตกต่าง ส่วนตัวคิดว่าอยู่ที่ Action Plan มากกว่า

– ทางเท้า

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ : ที่ผ่านมาทางเท้าไม่มีการเสริมเหล็กด้านล่าง ทำให้มีการทรุดตัว รวมถึงหาบเร่ แผงลอย ซึ่งเป็นโอกาสของคนยากจน คิดว่า คำตอบคือต้องหาจุดสมดุลระหว่าง ผู้ค้าขาย กับ ผู้เดินเท้า และต้องไม่ละเมิดสิทธิคนเดินเท้านอกจากนี้เรามีแนวคิดที่จะทำศูนย์อาหารเหมือนสิงคโปร์ ฮอว์เกอร์เซ็นเตอร์ ให้ผู้ค้าเหล่านี้เข้าสู่ ฮอว์เกอร์เซ็นเตอร์ ให้เขามีทางขายที่มีคุณภาพ ส่วนคนเร่ร่อน เรามีจำนวนเพิ่มขึ้นสูง 3 เท่าตัว สำหรับการจัดการของกทม. คนเร่ร่อนไร้บ้าน แต่ต้องไม่ไร้สิทธิ กทม. ต้องจดทะเบียน ประสานพม. ดูแลระยะยาวต่อไป

– กระจายอำนาจ

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ : ทางสภาเองก็อยากเห็น ส.ข.กลับมา คงหารือกับรัฐบาลอีกครั้ง ส่วนตัวคิดว่าการแก้กฎหมายเป็นเรื่องยาก แต่ใช้เทคโนโลยีกระจายอำนาจไม่ยาก เช่น ใช้แพลตฟอร์ม ทราฟฟี่ฟองดูว์ ให้ประชาชนแจ้งเรื่อง 1 เดือน มีประชาชนแจ้งเหตุเข้ามา 70,000 เรื่อง ซึ่ง 70,000 เรื่องนี้ สามารถรู้ได้เลยว่า ผอ.เขตไหนเก่งหรือไม่เก่ง ซึ่งคือการกระจายอำนาจ โดยไม่ต้องเปลี่ยนกฎหมาย ใช้เทคโนโลยีกระจายอำนาจให้ประชาชน ประเมิน ผอ.เขต ไม่ต้องแก้กฎหมายได้ผล

– บีทีเอส

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ : ตนไม่ได้เป็นคนทำสัญญา ส่วนต่อขยายที่ 1 กับ ส่วนต่อขยายที่ 2 จ้างถึงปี 85 เป็นเรื่องที่อยู่ใน ป.ป.ช. เราได้ทำหนังสือเร่งรัดไปแล้วว่า ผลการสอบสวนเป็นเช่นใด มีความคืบหน้าอะไรหรือไม่ ส่วนสัญญา ปี 72 – 85 จะยกเลิกได้หรือไม่ ถามว่าจะประมูล ปี 72 ได้หรือไม่ คือตอนนี้สัญญา ปี 72 – 85 ยังมีผลบังคับใช้อยู่ ต้องดูว่าสุดท้่ายจะเป็นอย่างไร เป็นเรื่องที่ส่งไป ป.ป.ช. ด้วย ถ้าไม่เช่นนั้น ปี 72 – 85 ต้องจ้างเดินรถ และจะมีค่าเสียหาย ซึ่งมีคนบอกว่าเขาคงจะเรียกแพงถ้าเราจะขอเลิกสัญญา แล้วประมูลใหม่ ปี 72 กำลังหาลู่ทางว่ากระบวนการครบถ้วนหรือไม่ มีอันไหนที่ควรจะเข้าสภากทม. แล้วไม่ได้เข้าหรือเปล่า ให้ทางฝ่ายกฎหมายตรวจสอบอยู่

“ส่วนสัญญา ท่านขอก็ต้องให้ท่าน แต่ประเด็นคือสัญญานี้เขียนว่า ห้ามเปิดเผยต่อสาธารณชน ยกเว้นเป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งถ้าท่านขอผมก็คงปฏิบัติตามกฎหมาย เพราะท่านเป็นกรรมาธิการ คงเปิดเผยให้ท่านได้ เดี๋ยวคงจัดให้ท่านกรรมาธิการตามที่ท่านยุทธพงศ์ (ยุทธพงศ์ จรัสเสถียร) ได้ร้องขอ” ผู้ว่าฯ ชัชชาติ กล่าว

– ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ : ปัญหาหลักตอนนี้คือ การไม่มีข้อมูล ปัจจุบันไม่มีฐานข้อมูลครบถ้วน การประกาศ อาจจะค่อนข้างรวดเร็ว การบังคับใช้ พอไม่มีฐานข้อมูลทำให้เก็บได้ไม่ครบถ้วน ฐานข้อมูลมีแค่ 50-60% จึงต้องเร่งรัดทำฐานข้อมูลให้ครบถ้วนมากขึ้น

ส่วนที่กรรมาธิการ จิราพร สินธุไพร เป็นห่วงว่าไม่มีเงินจะทำได้หรือ ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ตอบว่า “ทำได้ครับ เพราะเรารู้อยู่แล้วว่าเรามีปัญหาตรงนี้แน่ เพราะฉะนั้นนโยบาย 216 ข้อจำนวนมากไม่ได้ใช้เงิน แค่เปลี่ยนวิธีคิด เช่น Open data ก็ไม่ได้ใช้เงิน ส่วนโครงการที่ใช้เงินรอทำปีหน้า อุุปสรรคสำคัญคือการประสานงานระหว่างหน่วยงานกทม. ซึ่งมีวิธีง่ายที่สุดคือ ผู้ว่าฯ ต้องเดินไหว้ไปทั่ว เดือนแรกก็ไหว้ทุกหน่วยงานขอความร่วมมือ”

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า