Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ฝุ่นละออง PM 2.5 เดินหน้าป้องกันทุกมิติ เน้นตรวจสอบรถยนต์ที่เข้ามาในกรุงเทพฯ – เขตก่อสร้าง – โรงงาน – คุมการเผา

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ร่วมแถลงข่าว รับมือสถานการณ์ฝุ่นละออง PM 2.5 ในพื้นที่กรุงเทพฯ ที่กรมป่าไม้ในวันนี้ (20 ต.ค. 66)

นายชัชชาติ กล่าวว่า กรุงเทพมหานครได้เร่งรัดแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 มาตลอดปี โดยร่วมมือกับกรมควบคุมมลพิษ มีแผนดำเนินการ 365 วัน ทั้งเฝ้าระวังแจ้งเตือน Risk map ติดตั้ง sensor เพิ่มการตรวจควันดำ และให้ความรู้ประชาชน

สำหรับแผนบริหารจัดการฝุ่นระยะวิกฤติ ค่าฝุ่นตั้งแต่ 37.6 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จะแจ้งเตือนวันละ 3 ครั้ง
อีกทั้ง กำจัดต้นตอ ห้ามจอดรถถนนสายหลัก/สายรอง วัด/ศาลเจ้างดจุดธูปเทียน ห้ามเผาในที่โล่ง ปรับรูปแบบการเรียนของโรงเรียน แจกหน้ากากอนามัย และจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ 50 เขต ถ้าค่าฝุ่น 75.1 มคก./ลบ.ม. ต้องดูแลการก่อสร้าง ลดค่าโดยสารบีทีเอสส่วนต่อขยาย และเครือข่าย Work From Home

ปัจจุบันสถานการณ์ฝุ่น สาเหตุหลักจะมาจากรถยนต์ แต่พอเข้าช่วงต้นๆ ปีเริ่มมีการเผาชีวมวล กลายเป็นว่าส่วนใหญ่จะมาจากการเผาชีวมวล ไม่ว่าจะเป็นอ้อยหรือข้าวโดยเฉพาะฝุ่นข้ามแดน ในอนาคตรัฐบาลคงต้องดูเรื่องนี้เพิ่มขึ้น กทม. ได้ทำ Risk map คือนำข้อมูลจุดเสี่ยงต่างๆ ลงแผนที่ทั้งหมด เช่น โรงงาน แพลนท์ปูน สถานที่ก่อสร้าง อู่พ่นสีรถ เหล่านี้อยู่ตรงไหน และสามารถตรวจสอบได้ว่า มาตรวจเมื่อไหร่ ผลตรวจสอบเป็นอย่างไร ทำให้เราสามารถควบคุมแหล่งกำเนิดได้ละเอียด และ realtime มากขึ้น

ขณะนี้เรามีเซ็นเซอร์ตรวจฝุ่น 722 จุด อนาคตจะเพิ่มเป็น 1,000 จุด และมีการปรับปรุงแอปพลิเคชัน AIR BKK สามารถพยากรณ์ได้ดีขึ้นแม่นยำขึ้น เพราะในบางมิติซึ่งเราควบคุมไม่ได้ อย่างน้อยให้ประชาชนเตรียมตัววางแผนการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวัน

สำหรับกรณีเผาชีวมวล ในกรุงเทพฯ จะมีเขตหนองจอก มีนบุรี คลองสามวาที่มีการทำเกษตรกรอยู่แล้ว จะเฝ้าระวังภาพถ่ายดาวเทียมตลอด ถ้ามีจุด Hot Spot เกิดขึ้น จะให้เทศกิจเข้าไปดำเนินการที่ต้นตอ ตรวจที่แหล่งกำเนิด เราพยายามไม่ไปตรวจบนถนน เนื่องจากให้เกิดรถติด แต่เรารู้ว่ารถที่เข้ามาในกรุงเทพฯ อาทิ รถบรรทุกต้องมีที่มาที่ไป เช่น มาจากแพลนท์ปูน หรือไปไซต์ก่อสร้าง รวมทั้งอู่รถเมล์ ท่าเรือคลองเตย และนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ เพื่อไปตรวจที่ต้นกำเนิดแทน

ที่ผ่านมาทำการตรวจรถยนต์ 135,000 คัน ไม่ผ่าน 2,141 คัน รถที่สภาพทั่วไป 37,000 คัน ไม่ผ่าน 217 คัน รถบรรทุก 92,000 คันไม่ผ่าน 529 คัน นี่คือสิ่งที่เราทำต่อเนื่องตลอดปีที่ผ่านมา แต่ก็ยังมีปัญหาอยู่ก็คงต้องเพิ่มความเข้มงวดมากขึ้น การป้องกันประชาชน เรามีการทำห้องเรียนปลอดฝุ่นติดตั้งเครื่องฟอกอากาศ 300 เครื่องให้กับศูนย์เด็กเล็ก 1,734 เครื่องให้กับโรงเรียนอนุบาล รวมทั้งพัฒนาห้องปลอดฝุ่นร่วมกับกรมอนามัย

“มิติที่สำคัญที่สุดตอนนี้เป็นเรื่องการจราจร คงต้องหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องการดูแลจราจร การปฏิบัติตามกฎจราจร กรมขนส่งทางบกเรื่องการควบคุมรถเก่าที่จะเข้ามาในพื้นที่ เป็นต้น โดยหลังจากนี้จะรับนโยบายและรับไปดำเนินการต่อ” ผู้ว่าฯ ชัชชาติ กล่าวในตอนท้าย

พล.ต.อ.พัชรวาท รองนายกฯ และรมว.ทส. กล่าวว่า รัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 ได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการมลพิษทางอากาศเพื่อความยั่งยืน เพื่อเป็นกลไกเร่งรัดการดำเนินการมาตรการเพื่อลดฝุ่น PM 2.5 ทั้งระบบให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ขณะนี้กรุงเทพมหานครใกล้เข้าสู่สถานการณ์ฝุ่นจากสภาวะอากาศหนาวสภาพอากาศปิด และปีหน้าปรากฏการณ์เอลนีโญจะส่งผลให้เกิดภัยแล้งมากขึ้น

ทส.ได้เตรียมมาตรการเพื่อรับมือกับสถานการณ์ฝุ่นทั้งการควบคุมไฟป่า การเผาพื้นที่ทางการเกษตร และการควบคุมการเกิดฝุ่นในกรุงเทพฯ สิ่งสำคัญคือต้องนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเร่งด่วนทันท่วงที เพื่อทำให้ประชาชนรับรู้และเห็นความพร้อมว่า ภาครัฐทำงานอย่างเต็มที่เพื่อเป้าหมายสูงสุดคือการปกป้องผลกระทบที่ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชน

สิ่งที่ต้องเริ่มทำสำหรับพื้นที่กรุงเทพมหานคร คือ ขอให้เริ่มควบคุมแหล่งกำเนิด เกือบ 70% มาจากยานพาหนะกระทรวงคมนาคม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงพลังงานกรมควบคุมมลพิษ และกรุงเทพมหานคร ต้องเข้มงวดในการตรวจสอบและตรวจจับรถ โดยเฉพาะรถที่เข้ามาในเขตให้ทำการการตรวจสอบสภาพรถยนต์การตรวจขันวินัยจราจร พื้นที่ก่อสร้าง รณรงค์ให้ประชาชนเดินทางด้วยรถไฟฟ้าและรถสาธารณะ การควบคุมโรงงานทุกแห่งที่มีความเสี่ยงสูงในการปล่อยฝุ่นควันสำหรับพื้นที่รอบๆ ขอให้กรุงเทพมหานครสนับสนุนเกษตรกรให้ช่วยกันไม่เผาตอซัง ฟางข้าว

อย่างไรก็ตามต้องขอความร่วมมือพี่น้องประชาชนทุกคนนอกจากดูแลตนเองแล้ว ต้องให้ความร่วมมือปฏิบัติงานตามคำแนะนำ คำร้องขอของภาครัฐด้วย รวมทั้งการสื่อสารเชิงรุกต่อเนื่องบ่อยครั้ง ทั้งช่วงก่อนและระหว่างสถานการณ์ การแจ้งเตือนสถานการณ์ต้องทันท่วงที เพื่อให้ประชาชนรับทราบข้อมูลที่รวดเร็วและถูกต้อง

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า