SHARE

คัดลอกแล้ว

กทม. พร้อมรับมือ PM2.5 เตรียมทำแผนปฏิบัติการลดฝุ่นพิษ พร้อมผนึกกำลังหลายภาคส่วน จัดทีม ‘นักสืบฝุ่น’ ขยายขีดความสามารถ-เพิ่มความแม่นยำพยากรณ์

นายเอกวรัญญู อัมระปาล ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และโฆษกของกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ในกรุงเทพมหานคร มีแนวโน้มเกินมาตรฐานในช่วงฤดูหนาวของทุกปีและกระทบต่อสุขภาพอนามัยประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ เด็ก ผู้สูงอายุ ตลอดจนผู้ป่วยที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ดังนั้นเพื่อเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐาน กรุงเทพมหานครจึงมีมาตรการและแนวทางรับมือฝุ่นละออง PM2.5 โดยได้ประชุมคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก เพื่อจัดทำ (ร่าง) แผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ปี 2566 เพื่อใช้สำหรับเป็นแผนเผชิญเหตุและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ในทุกพื้นที่ที่มีความเสี่ยง

กรุงเทพมหานครได้จัดทีม “นักสืบฝุ่น” และวิจัยหาต้นเหตุของฝุ่นละออง PM2.5 บูรณาการความร่วมมือกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น การแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมือง การบริหารจัดการคาร์บอนเครดิต และเรื่องสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ซึ่งจะเป็นการขยายขีดความสามารถการพยากรณ์มลพิษทางอากาศของกรุงเทพมหานคร ที่จะดำเนินการล่วงหน้าได้ใน 3 วัน พร้อมปรับปรุงให้แม่นยำยิ่งขึ้น โดยเชื่อมโยงข้อมูลกับแอปพลิเคชัน BMA Traffic และป้ายแสดงผลของสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) อีกทั้งยังจะขยายระบบการติดตามและแจ้งเตือนฝุ่นสู่ระดับแขวง 1,000 จุด จากปัจจุบันมีเครือข่ายระบบการตรวจวัดคุณภาพอากาศในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 557 จุด เพื่อเฝ้าระวังและแจ้งเตือนประชาชนให้ครอบคลุม ทั่วถึง และทันท่วงที โดยเชื่อมโยงข้อมูลการตรวจวัดคุณภาพอากาศทั้งหน่วยงานราชการ ภาคเอกชนและประชาชน

รวมทั้งร่วมกับเจ้าหน้าที่กองบังคับการตำรวจจราจรและกรมควบคุมมลพิษ ออกปฏิบัติงานตรวจวัดควันดำรถยนต์ เพื่อตรวจสอบและบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำผิดที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศ (ฝุ่นละออง PM2.5) ต่อเนื่อง รวมไปถึงดำเนินการสำรวจจำนวนแพลนท์ปูนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและกำหนดแผนการตรวจวัดควันดำจากรถขนส่งและรถบรรทุกในแพลนท์ปูน ทุกแพลนท์ปูนอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง เริ่มดำเนินการตั้งแต่ 2 ต.ค. 65 พร้อมทั้งกำหนดให้มีการตรวจสถานที่ก่อสร้างและการตรวจวัดควันดำจากรถบรรทุกที่ใช้งานในสถานที่ก่อสร้างหรือไซต์ก่อสร้างขนาดใหญ่ (ระบบสาธารณูปโภคและอาคารขนาดใหญ่) ที่อนุญาตก่อสร้างโดยสำนักการโยธาทุกแห่ง อย่างน้อยแห่งละ 1 ครั้งต่อเดือน

กรุงเทพมหานครยังได้ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดำเนินโครงการสร้างการเรียนรู้สำหรับเยาวชน (ห้องเรียนสู้ฝุ่น) ขึ้น เพื่อสร้างความตระหนักถึงปัญหาด้านสุขภาพต่อภาวะวิกฤตฝุ่นละอองและเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา ครู นักเรียนในการรับมือกับฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ตลอดจนสร้างจิตสำนึกการไม่ก่อให้เกิดมลพิษ โดยจะเปิดโครงการในวันศุกร์ที่ 28 ต.ค. 65 ณ ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) เขตพระนคร อีกทั้งโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครจะมีการจัดกิจกรรมปักธงคุณภาพอากาศ เพื่อเสริมสร้างทักษะให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจต่อสถานการณ์มลพิษทางอากาศรวมถึงสามารถส่งต่อองค์ความรู้ให้กับคนในครอบครัวเพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพได้ทันท่วงที

นอกจากนี้กรุงเทพมหานครยังร่วมกับสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และเครือข่ายนักวิจัย กำหนดจัดเสวนาวิชาการ “เตรียมพร้อมรับมือ PM2.5 ด้วยวิจัยและนวัตกรรม” ในวันศุกร์ที่ 4 พ.ย. 65 เวลา 09.00-12.00 น. เพื่อรับฟังความเห็นทางวิชาการเกี่ยวกับมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ที่เหมาะสมกับบริบทของกรุงเทพมหานครให้ครอบคลุมทั้งมิติของแหล่งกำเนิดฝุ่นละออง PM2.5 การกำจัดที่ต้นตอ การป้องกันและลดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยประชาชน การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี รวมถึงข้อเสนอแนะอื่น ทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพื่อให้เกิดการดำเนินงานที่เป็นเอกภาพ และได้ผลลัพธ์เป็นไปตามแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5

ล่าสุดวันนี้ 19 ต.ค. 2565 ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร เวลา 07.00 น. ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5)

ตรวจวัดได้ 29-55 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) พบว่าเกินมาตรฐาน (มาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 1 พื้นที่ คือเขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 : มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.

ดัชนีคุณภาพอากาศของสถานีตรวจวัดของกรุงเทพมหานคร : ส่วนใหญ่อยู่ในระดับคุณภาพอากาศปานกลาง

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์สภาพอากาศในพื้นที่กรุงเทพมหานคร : มีเมฆบางส่วน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า