Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

23-26 พ.ย.นี้ อากาศระบายไม่ดี เช้านี้กรุงเทพฯ อ่วม ค่า PM 2.5 เกินมาตรฐาน อยู่ระดับสีส้ม กว่า 50 พื้นที่

ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร สรุปผลการตรวจวัด PM2.5 ในวันนี้ (23 พ.ย. 66) เวลา 05.00-07.00 น. ตรวจวัดได้ 29.3-61.1 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) ขณะที่ ค่าเฉลี่ยอยู่ 42.6 มคก./ลบ.ม. ค่า PM2.5 มีแนวโน้มลดลงแต่ยังคงเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 54 พื้นที่

จากนั้น ณ เวลา 07.00 น. ตรวจวัดค่าฝุ่นละออง PM2.5 ได้ในช่วง 29.3-60.4 มคก./ลบ.ม. โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเมื่อวานนี้ในช่วงเวลาเดียวกัน และพบว่าเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (มาตรฐานไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 50 พื้นที่ ดังนี้

1. เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 : มีค่าเท่ากับ 60.4 มคก./ลบ.ม.

2. เขตหนองจอก บริเวณหน้าสำนักงานเขตหนองจอก : มีค่าเท่ากับ 58.7 มคก./ลบ.ม.

3. สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา : มีค่าเท่ากับ 56.3 มคก./ลบ.ม.

4. เขตธนบุรี ริมป้ายรถเมล์บริเวณแยกมไหศวรรย์ : มีค่าเท่ากับ 54.3 มคก./ลบ.ม.

5. เขตจตุจักร บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : มีค่าเท่ากับ 52.2 มคก./ลบ.ม.

6. เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 51.9 มคก./ลบ.ม.

7. เขตภาษีเจริญ หน้ามหาวิทยาลัยสยาม(ประมาณซอยเพชรเกษม 36) ทางเข้ามหาวิทยาลัย : มีค่าเท่ากับ 51.3 มคก./ลบ.ม.

8. เขตปทุมวัน หน้าห้างสามย่านมิตรทาวน์ : มีค่าเท่ากับ 50.7 มคก./ลบ.ม.

9. เขตคลองสาน บริเวณหน้าห้องสมุดใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน : มีค่าเท่ากับ 50.6 มคก./ลบ.ม.

10. เขตทวีวัฒนา ทางเข้าสนามหลวง 2 : มีค่าเท่ากับ 50.6 มคก./ลบ.ม.

11. เขตบางบอน ใกล้ตลาดบางบอน : มีค่าเท่ากับ 50.1 มคก./ลบ.ม.

12. เขตบางกอกใหญ่ บริเวณสี่แยกท่าพระ แขวงวัดท่าพระ : มีค่าเท่ากับ 49.1 มคก./ลบ.ม.

13. เขตบางพลัด ภายในสำนักงานเขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 48.7 มคก./ลบ.ม.

14. เขตบางเขน ภายในสำนักงานเขตบางเขน : มีค่าเท่ากับ 48.5 มคก./ลบ.ม.

15. เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลลาดกระบังข้างป้อมตำรวจ : มีค่าเท่ากับ 47.8 มคก./ลบ.ม.

16. เขตบางขุนเทียน ภายในสำนักงานเขตบางขุนเทียน : มีค่าเท่ากับ 47.1 มคก./ลบ.ม.

17.เขตจอมทอง ภายในสำนักงานเขตจอมทอง : มีค่าเท่ากับ 47.1 มคก./ลบ.ม.

18. เขตราษฎร์บูรณะ ภายในสำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ : มีค่าเท่ากับ 47.0 มคก./ลบ.ม.

19. เขตสัมพันธวงศ์ บริเวณหน้าหัวมุม ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ (วงเวียนโอเดียน) : มีค่าเท่ากับ 46.8 มคก./ลบ.ม.

20. เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ด้านหน้าสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ : มีค่าเท่ากับ 46.6 มคก./ลบ.ม.

21. เขตบางรัก ข้างป้อมตำรวจหน้าลานบางรักเลิฟลี่ พลาซ่า : มีค่าเท่ากับ 46.5 มคก./ลบ.ม.

22. เขตวังทองหลาง ด้านหน้าปั๊มน้ำมัน เอสโซ่ ซ.ลาดพร้าว 95 : มีค่าเท่ากับ 45.6 มคก./ลบ.ม.

23. เขตประเวศ ด้านหน้าห้างสรรพสินค้าซีคอน สแควร์ : มีค่าเท่ากับ 45.5 มคก./ลบ.ม.

24. เขตยานนาวา ใกล้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักงานใหญ่ : มีค่าเท่ากับ 45.3 มคก./ลบ.ม.

25. สวนธนบุรีรมย์ เขตทุ่งครุ เขตทุ่งครุ : มีค่าเท่ากับ 44.8 มคก./ลบ.ม.

26. เขตคลองสามวา ภายในสำนักงานเขตคลองสามวา : มีค่าเท่ากับ 44.7 มคก./ลบ.ม.

27. เขตตลิ่งชัน ถนนพุทธมณฑลสาย 1 ตัดกับถนนบรมราชชนนี : มีค่าเท่ากับ 44.5 มคก./ลบ.ม.

28. เขตบางนา บริเวณหน้าห้าง สรรพสินค้าบิ๊กซี บางนา : มีค่าเท่ากับ 44.5 มคก./ลบ.ม.

29. เขตบางแค ภายในสำนักงานเขตบางแค : มีค่าเท่ากับ 44.3 มคก./ลบ.ม.

30. อุทยานเบญจสิริ เขตคลองเตย เขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 43.8 มคก./ลบ.ม.

31. เขตหลักสี่ ภายในสำนักงานเขตหลักสี่ : มีค่าเท่ากับ 43.6 มคก./ลบ.ม.

32. เขตดินแดง ริมถนนวิภาวดีรังสิต : มีค่าเท่ากับ 43.0 มคก./ลบ.ม.

33. สวนบางแคภิรมย์ เขตบางแค เขตบางแค : มีค่าเท่ากับ 42.9 มคก./ลบ.ม.

34. เขตราชเทวี ภายในสำนักงานเขตราชเทวี : มีค่าเท่ากับ 42.8 มคก./ลบ.ม.

35. เขตบางซื่อ ภายในสำนักงานเขตบางซื่อ : มีค่าเท่ากับ 42.8 มคก./ลบ.ม.

36. สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน เขตดอนเมือง เขตดอนเมือง : มีค่าเท่ากับ 42.3 มคก./ลบ.ม.

37. สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เขตบางกอกน้อย เขตบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 42.3 มคก./ลบ.ม.

38. เขตทุ่งครุ หน้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี : มีค่าเท่ากับ 41.6 มคก./ลบ.ม.

39. เขตบึงกุ่ม ภายในสำนักงานเขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 41.5 มคก./ลบ.ม.

40. เขตบางคอแหลม บริเวณป้อมตำรวจสี่แยกถนนตก : มีค่าเท่ากับ 40.2 มคก./ลบ.ม.

41. เขตพญาไท หน้าแฟลตทหารบกใกล้โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ตรงข้ามกระทรวงการคลัง : มีค่าเท่ากับ 39.4 มคก./ลบ.ม.

42. เขตดุสิต ริมสวนหย่อมตรงข้ามสำนักงานเขตดุสิต : มีค่าเท่ากับ 39.4 มคก./ลบ.ม.

43. เขตพระโขนง ภายในสำนักงานเขตพระโขนง : มีค่าเท่ากับ 39.2 มคก./ลบ.ม.

44. สวนหลวงพระราม 8 เขตบางพลัด เขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 39.1 มคก./ลบ.ม.

45. เขตมีนบุรี สวนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ตรงข้ามสำนักงานเขตมีนบุรี : มีค่าเท่ากับ 38.7 มคก./ลบ.ม.

46. เขตสาทร สี่แยกหน้าสำนักงานเขตสาทร ซอย ถนนเซนต์หลุยส์ : มีค่าเท่ากับ 38.7 มคก./ลบ.ม.

47. เขตพระนคร ภายในสำนักงานเขตพระนคร : มีค่าเท่ากับ 38.4 มคก./ลบ.ม.

48. สวน 60 พรรษาสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เขตลาดกระบัง เขตลาดกระบัง : มีค่าเท่ากับ 38.2 มคก./ลบ.ม.

49. เขตคลองเตย ภายในสำนักงานเขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 38.1 มคก./ลบ.ม.

50. สวนเสรีไทย เขตบึงกุ่ม เขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 37.7 มคก./ลบ.ม.

สำหรับ ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง คาดการณ์แนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่นPM2.5 โดยสภาพทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 23-26 พ.ย. 66 การระบายอากาศไม่ดี จึงคาดว่าจะทำให้ความเข้มข้นของฝุ่นละอองทรงตัว

สำหรับช่วงวันที่ 27-28 พ.ย. 66 การระบายอากาศค่อนข้างดี อาจทำให้ความเข้มข้นของฝุ่นละอองมีแนวโน้มลดลง และคาดการณ์วันนี้มีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้นอีก 1-2 องศาเซลเซียส

อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบข้อมูลจุดความร้อน (hotspot) ผ่านดาวเทียม จากหน่วยงานนาซา (NASA) ไม่พบจุดความร้อนที่ดาวเทียมตรวจพบค่าความร้อนสูงผิดปกติจากค่าความร้อนบนผิวโลกบริเวณพื้นที่กรุงเทพฯ

[สถาบันโรคทรวงอก เตือน PM 2.5 เป็นภัยร้ายต่อสุขภาพ]

นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ฝุ่นละออง PM 2.5 ที่มีค่าเกินมาตรฐาน เป็นมลพิษทางอากาศที่อันตรายต่อสุขภาพ สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายผ่านระบบทางเดินหายใจ หากได้รับอย่างต่อเนื่องหรือในปริมาณที่มาก จะส่งผลกระทบสะสมต่อสุขภาพทั้งระยะสั้นและระยะยาวอย่างร้ายแรง

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหา PM 2.5 ในปัจจุบัน คือ มีแหล่งสร้างมลพิษทางอากาศที่ไม่สามารถควบคุมให้ลดลงได้ เช่น การเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเครื่องจักร โดยเฉพาะเครื่องยนต์ทั้งรถยนต์ใหม่เก่า การเผาป่า การเผาเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งการก่อสร้างที่มีอยู่แทบทุกพื้นที่ ซึ่งปัจจัยต่างๆ เหล่านี้เป็นปัญหาทำให้คุณภาพอากาศแย่ลง

นพ.เอนก กนกศิลป์ ผู้อำนวยการสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า PM 2.5 ทำให้อวัยวะต่างๆ ของร่างกายเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง ด้วยฝุ่น PM 2.5 ที่มีขนาดเล็กมาก ทำให้ฝุ่นสามารถเข้าสู่ร่างกายจากหลอดลมไปหลอดเลือด และกระจายไปส่วนต่าง ๆ ทั่วร่างกาย เมื่อได้รับเป็นระยะเวลานานจนเกิดการสะสมทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ โดยกลุ่มเสี่ยงได้แก่ เด็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคปอดเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น

ฝุ่น PM 2.5 ส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายได้หลายระบบ

สำหรับระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ ผู้ป่วยโรคปอดเรื้อรัง เช่น โรคหอบหืด โรคถุงลมโป่งพองเกิดอาการกำเริบของโรค เป็นสาเหตุให้เกิดโรคหอบหืดในคนปกติ รวมทั้งหอบหืดในเด็ก และในระยะยาวจะทำให้สมรรถภาพปอดลดลง จนเกิดเป็นโรคถุงลมโป่งพองในผู้ไม่สูบบุหรี่

นอกจากนี้ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดโรคมะเร็งปอดอีกด้วย ระบบหัวใจและหลอดเลือด ฝุ่นละออง PM 2.5 สามารถทำให้เกิดการอักเสบของอวัยวะต่างๆได้ทั่วร่างกาย ส่งผลให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด เพิ่มอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยโรคหัวใจ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต และเสียชีวิตได้

นอกจากนี้ในหญิงตั้งครรภ์หากสูดดมฝุ่น PM 2.5 เป็นเวลานาน จะส่งผลกระทบกับทารกในครรภ์อีกด้วย

สัญญาณที่บ่งบอกว่าร่างกายกำลังได้รับผลกระทบจากฝุ่น PM 2.5 คือ มักมีอาการไอเรื้อรัง ระคายเคืองตา คัดจมูก แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก ผิวหนังเป็นตุ่มหรือผื่นนูนแดง ดังนั้นเราควรป้องกันตนเองจากมลพิษทางอากาศ หากพบว่า ตนเองมีอาการผิดปกติของร่างกายให้รีบมาพบแพทย์ทันที

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า