SHARE

คัดลอกแล้ว

ทีมข่าวเวิร์คพอยท์ทูเดย์ เคยสัมภาษณ์ ดร.ยุ้ย เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ มาแล้ว ในฐานะ กรรมการผู้จัดการบริษัทเสนาดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) วันนี้เรากลับมาสัมภาษณ์เธออีกครั้งในฐานะทีมนโยบาย ของนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าการกรุงเทพมหานคร ที่เพิ่งเปิดตัวหลากหลายแพคเกจนโยบาย หนึ่งในนั้นคือ ‘นโยบายสำหรับผู้หญิง’ เพื่อทำให้กรุงเทพเป็นเมืองหน้าอยู่สำหรับทุกคน 

มันมาจากคําถามแรก เราอยากให้กรุงเทพเป็นเมืองน่าอยู่ของคนทุกคน คนทุกคนก็มีทั้งชายทั้งหญิง ที่กรุงเทพหญิงเยอะมากด้วย พวกเรารู้ไหมว่าผู้หญิงเยอะกว่าผู้ชายเยอะมากจนผู้ชายกลายเป็นของยากไปแล้ว (หัวเราะ) คือ ผู้หญิงห้าสิบสามเปอร์เซ็นต์ ผู้ชายสี่สิบเจ็ด แล้วยิ่งอายุมาก ๆ ขึ้นไปผู้หญิงมากกว่าผู้ชายสิบเจ็ดเปอร์เซ็นต์ ตัวเลขน่ากลัวมากเลยพี่ว่า” เธอเปิดบทสนทนาเมื่อเราถามเรื่องนโยบายผู้หญิง

อดีตนักวิชาการอธิบายว่าตัวเลขเป็นข้อเท็จจริงข้อหนึ่ง ขณะเดียวกันเมื่อพูดว่าต้องการให้กรุงเทพเป็นเมืองน่าอยู่ของคนทุกคน เธอจึงถามตัวเองว่าปัจจัยใดที่จะเป็นสิ่งที่เป็นความน่าอยู่ที่ต้องการต่างกันระหว่างชายหญิง มีอะไรที่หญิงต้องการมากกว่าผู้ชายไหม ทำให้เธอคิดถึงประเด็น การตั้งครรภ์ และการเป็นแม่วัยใส 

ทำเมืองให้ ‘ถูกลง’ สำหรับคนที่อยากมีลูก

“พี่ยังไม่เคยเจอออฟฟิศไหนเลยที่มีที่ปั๊มนมให้” เธอถาม “รู้ไหมว่าทําไมถึงผู้หญิงเดี๋ยวนี้ถึงคนถึงมีท้องแบบมีลูกน้อยลงก็เพราะต้นทุนในการมีลูกมันสูงขึ้น ไม่ใช่แค่เรื่องเงินที่เราต้องจ่ายค่านมลูก ไม่ใช่แค่นั้นแต่ต้นทุนของเมืองที่ทําให้เรามีลูกบางทีมันยาก” 

“เรื่องพวกนี้เป็นเรื่องที่เป็นต้นทุนสําหรับผู้หญิงเวลามีครรภ์ทั้งนั้น แล้วเวลาผู้หญิงที่ต้องการที่จะมีหน้าที่การงานที่ดีบางทีเขาจะรู้สึกว่าการมีลูกมันคือการที่ต้องทําให้สะดุด แล้วจะทําให้หน้าที่การงานตัวเองหายไปสามสี่ปี มันคือต้นทุนถูกไหม”

ดร.เกษราชี้ว่า สำหรับคนที่อยากทำงาน การคลอดลูกจริงๆ นั้นใช้เวลาเพียงสามสี่วันก็เดินได้แล้ว แต่ที่เหลือคือปั้มนม แต่เมื่อออกจากบ้านมาที่ทำงานกลับพบว่าที่ทํางานไม่ได้รองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นนี้ เช่น ไม่รองรับการเอาเด็กออกจากบ้าน ไม่รองรับการต้องปั๊มนมนอกบ้าน เป็นการผลักให้ผู้ที่เพิ่งคลอดลูกต้องอยู่บ้านตลอดเวลาโดยปริยาย นี่คือต้นทุนที่แพงขึ้นและเมืองสามารถปรับปรุงได้ 

“แต่ถ้าเมืองสร้างเป็นแบบในยุโรปบางประเทศหรือญี่ปุ่น วิธีการที่ญี่ปุ่นกระตุ้นให้คนอยากมีลูกก็ทําวิธีแบบนี้แหละ คือมี ทุกที่ ในออฟฟิศก็มี ในที่สร้างรถไฟฟ้าก็มี เพราะเขาต้องการให้คนเนี้ยรู้สึกว่ามีลูกง่าย นี่คือต้นทุนของเมืองที่ต้องทําให้ผู้หญิงรู้สึกว่ามันถูกลง แล้วเขาถึงจะมีลูกได้” 

“เราอยากจะรณรงค์ให้เริ่มต้นที่ กทม ก่อนเลย ให้สถานที่ราชการมีที่ปั๊มนม เป็นต้น” เธอกล่าว

Sex Education ในโรงเรียนกทม.- สร้างพื้นที่ปลอดภัยในชุมชนแก้ปัญหาความรุนแรงทางเพศ

“แม่วัยใสนี่ ร้อยทั้งร้อยนี่เกือบครึ่งหนึ่งเวลาเกิดขึ้นต้องออกจากระบบการเรียน ขณะเดียวกันเราก็ได้ยินเรื่องที่บอกว่า ประเทศไทยต้องรีบกระตุ้นให้คนมีลูก  รู้สึกตลกไหม คือ แม่วัยใสในกรุงเทพ อายุ 15-20 ปี มีจำนวนกว่า 3 เปอร์เซ็นต์ พี่ว่าเยอะมาก เรียกว่าร้อยคนมีสามคน เยอะที่สุดในเอเชีย ในขณะที่ เราก็ต้องมาพูดว่า ประเทศนี้ต้องกระตุ้นคนให้เกิด พี่ว่านี่ก็เป็นปัญหาเชิงระบบอย่างหนึ่ง แล้วทั้ง สองอย่างมันคือผู้หญิง”

ดร.ยุ้ยมองว่าปัญหานี้แก้ได้ส่วนหนึ่งด้วยการให้มีการศึกษาเรื่องเพศ (Sex Education) ที่เปิดเผยได้ในในชั้นเรียนกทม

“เด็ก กทม เรียนหนังสือฟรีตั้งแต่ อนุบาล-ม.6 มันไม่ได้มีเรื่อง Sex Education ที่ดี พี่ว่าเราชอบเก็บซ่อนปัญหากันแต่มันไม่ได้หายไป เราต้องพูดเรื่องนี้ไปเลย เราจะไปห้ามให้เค้าไม่มียากกว่า แต่ทําให้เขารู้ดีกว่าว่ามีแล้วจะเกิดอะไรขึ้น”

ดร.เกษราอธิบายว่าระหว่างการพัฒนานโยบาย เธอได้พูดคุยกับมูลนิธิปวีณา ทำให้ทราบว่า ส่วนหนึ่งของปัญหา เกิดจาก ความรุนแรงในครอบครัวที่เลี่ยงไม่พูดถึงไม่ได้ เนื่องจากเพียงตัวเลขที่ปรากฎของมูลนิธิฯ ก็สูงถึง 45 วัน มี 500 กรณีที่เกิดขึ้น

“บางทีเด็กที่ท้องหรือเด็กที่โดนทําร้ายมักจะโดนทําร้ายจากคนในครอบครัว เช่นพ่อเลี้ยงทําร้ายลูกนี้บ่อยมาก อายุของคนที่เด็กที่โดนทําร้ายมากสุดตอนนี้คือ 0-14 ขวบ แสดงว่ายิ่งเด็กลง เราลองจินตนาการอายุ 13 ปี ถูกพ่อเลี้ยงข่มขืนในบ้านถ้าพูดแล้วแม่ไม่เชื่อยากมากเลยที่จะออกจากปัญหานี้ได้จะทํายังไง”

“สิ่งที่คุณปวีณาเสนอซึ่งพี่ก็เห็นด้วย คือคล้ายๆว่าเราควรจะมีอาสาสมัครเชิงสังคมในชุมชนนั้น ซึ่งคนที่ควรจะทําคือผู้หญิงสูงอายุ เวลาเกิดเรื่องพวกนี้มักจะเกิดกับผู้หญิงใช่ไหม ผู้หญิงก็กล้าเล่าให้ผู้หญิงที่เป็นอาสมัครฟัง และที่สองคือ การที่เป็นผู้สูงอายุแสดงว่าอยู่ชุมชนนั้นมานานแล้วก็จะรู้จักบ้านต่างๆ อันนี้จะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยคนที่ไม่สามารถจะออกมาด้วยตัวเองได้ นี่ก็เป็นส่วนหนึ่งที่เราส่งเสริมไปว่าแทนที่จะมีแค่อาสาสมัครเรื่องสาธารณสุข เราก็อยากจะให้มีอาสาสมัครเชิงสังคมด้วย เพราะปัญหานี้เยอะจริงๆ”

“เรื่องแบบนี้ผู้ชายคงคิดไม่ออก แต่ผู้หญิงเขาคิดกัน ดังนั้นถ้าเราต้องการให้ชุมชนมันน่าอยู่ของทุกคนจริงๆ พี่ว่าในเมื่อหญิงและชายมีบางอย่างที่มีความต้องการที่ต่างกัน ดังนั้นเราจําเป็นที่ต้องคิดในมิติที่ต่างกันด้วย มันก็ไม่ใช่ว่าทั้งหมดที่ต้องทําแบบโอ้โห มีสองร้อยนโยบายต่างกันร้อยนโยบายก็ไม่ใช่หรอก มันก็จะมีสักส่วนหนึ่ง อาจจะห้าข้อสิบข้อที่เรารู้สึกว่าต้องมีนโยบายสำหรับผู้หญิงเป็นพิเศษ”

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า