SHARE

คัดลอกแล้ว

ซีรีส์บทความนี้จะพาผู้อ่านไปสำรวจสารพัดปัญหาซ้ำซากในกรุงเทพมหานคร เมืองซึ่งถูกจัดอันดับว่าน่าเที่ยวติดท็อปของโลก แต่น่าอยู่เป็นอันดับท้ายๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาขยะล้นเมือง รถติดตลอดเวลา ฝุ่นพิษ PM2.5 ค่าโดยสารแพง ทางเท้าไม่เรียบ สายสื่อสารระโยงระยาง และอื่นๆ

บัตรเดียวขึ้นได้ทุกคัน ฝันอันห่างไกลของคน กทม.
‘รุกขกร’ ผู้เชี่ยวชาญด้านต้นไม้ เจาะนโยบายพื้นที่สีเขียว ผู้ว่าฯ กทม.
ทางเท้า กทม. ที่รอผู้ว่าฯ คนใหม่ มาแก้
ผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่ อย่าทิ้งคนไร้บ้าน

สำหรับตอนแรกเราจะพาไปสำรวจ ‘ปัญหาขยะ’

ทุกวันนี้กรุงเทพฯ สร้างขยะกว่าวันละ 10,000 ตัน ถ้านึกภาพไม่ออกว่ามันเยอะขนาดไหน ลองเปรียบเทียบกับรถบรรทุกสิบล้อ ขยะ 10,000 ตัน จะเท่ากับรถสิบล้อ 400 คัน และแน่นอนว่าขยะปริมาณมหาศาลย่อมส่งผลต่อทัศนียภาพของเมือง เป็นแหล่งก่อมลภาวะ และที่สำคัญ กทม. จะต้องใช้งบประมาณ 12,000 – 13,000 ล้านบาทต่อปี หรือคิดเป็น 15 – 16% ของงบประมาณทั้งหมดเพื่อกำจัดขยะ แทนที่จะได้นำงบประมาณไปใช้พัฒนาเมืองและคุณภาพชีวิตของผู้คนในด้านอื่นๆ เช่น การศึกษา ซึ่งได้รับงบประมาณเพียง  5 – 6%

ย้อนดูปริมาณขยะมูลฝอย 5 ปี

ข้อมูลจากสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรุงเทพมหานคร ระหว่างปี 2559 – 2563 (ล่าสุด) ชี้ให้เห็นว่าขยะมูลฝอยที่ กทม. จัดเก็บมีปริมาณเฉลี่ย 3.5 ล้านตันต่อปี หรือเฉลี่ย 9,774 ตันต่อวัน

ปี 2559 มีปริมาณขยะ 3,707,660 ตัน หรือเฉลี่ย 10,130 ตันต่อวัน
ปี 2560 มีปริมาณขยะ 3,863,933 ตัน หรือเฉลี่ย 10,586 ตันต่อวัน
ปี 2561 มีปริมาณขยะ 3,912,288 ตัน หรือเฉลี่ย 10,719 ตันต่อวัน
ปี 2562 มีปริมาณขยะ 2,889,723 ตัน หรือเฉลี่ย 7,917 ตันต่อวัน
ปี 2563 มีปริมาณขยะ 3,484,250 ตัน หรือเฉลี่ย 9,520 ตันต่อวัน

จากจำนวนขยะมูลฝอยทั้งหมดนี้เกือบครึ่งหนึ่งเป็น ‘เศษอาหาร’ หรือประมาณ 45% รองลงมาเป็นพลาสติกที่รีไซเคิลไม่ได้เกือบ 20% และอีกประมาณ 11% เป็นกระดาษที่รีไซเคิลไม่ได้ นอกจากนั้นยังมีไม้ ใบไม้ สิ่งทอ แก้ว โฟม โลหะ ฯลฯ

Greenpeace ระบุว่า ‘หัวใจสำคัญ’ ของการบริหารจัดการขยะอย่างยั่งยืนคือการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง แต่ปัจจุบันกรุงเทพฯ ยังไม่มีกระบวนการคัดแยกขยะอย่างเป็นระบบ และไม่มีสถานที่กำจัดขยะโดยการคัดแยก ส่งผลให้ประชาชนเองก็ไม่อยากแยกขยะ เพราะคิดว่าถึงแยกไปแล้วสุดท้ายขยะทั้งหมดจะถูกเทรวมกันอยู่ดี

5 เขตแชมป์ขยะมูลฝอยมากที่สุด

จัตุจักร คือเขตที่ครองแชมป์มีปริมาณขยะมูลฝอยมากที่สุด 5 ปีซ้อน (2559 – 2563) โดยในปีล่าสุด จัตุจักรมีขยะมูลฝอย 123,617 ตัน หรือเฉลี่ย 338 ตันต่อวัน

ขณะที่บางกะปิติดท็อป 3 อย่างสม่ำเสมอ และขึ้นแท่นอันดับ 2 เขตที่มีขยะมูลฝอยมากที่สุดในปี 2563 โดยมีขยะมูลฝอย 114,040 ตัน หรือเฉลี่ย 312 ตันต่อวัน

และอีกหนึ่งเขตที่ติดท็อป 5 ต่อเนื่อง 5 ปี ก็คือบางขุนเทียน มีขยะมูลฝอย 110,656 ตัน หรือเฉลี่ย 302 ตันต่อวัน เป็นเขตที่มีขยะมูลฝอยมากเป็นอันดับ 4 ของปี 2563

ส่วนปทุมวันซึ่งเป็นเขตที่มีขยะมูลฝอยมากติดอันดับ 5 ช่วงปี 2559 – 2562 ขยับลงไปอยู่อันดับ 11 ในปี 2563 โดยที่เขตประเวศและลาดกระบังขยับขึ้นมาติดอันดับ 3 และ 5 แทน ทั้งนี้คาดว่าอาจเป็นผลมาจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ทำให้คนอยู่บ้านมากขึ้น และกิจกรรมทางเศรษฐกิจในย่านกลางเมืองลดลง

สำหรับขั้นตอนการเก็บและกำจัดขยะของ กทม. จะเริ่มต้นจากรถขยะออกตระเวนเก็บขยะจากบ้านเรือน ชุมชน และสถานที่ต่างๆ หลังจากนั้นก็จะขนส่งขยะไปยังสถานีขนถ่ายซึ่งมีด้วยกัน 3 แห่ง คือ สถานีสายไหม สถานีหนองแขม และสถานีอ่อนนุช เพื่อทำการกำจัดขยะด้วยวิธีการฝังกลบหรือเผา

กรุงเทพฯ ใช้เงินกำจัดขยะปีละหมื่นล้าน

เมื่อขยะมีมากก็ต้องใช้งบประมาณในการเก็บและกำจัดมากขึ้นไปด้วย เราลองไปดูสัดส่วนการใช้งบประมาณของ กทม. ย้อนหลัง 5 ปีกัน (2559 – 2563) พบว่ากรุงเทพมหานครใช้งบประมาณในการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของเมือง มากเป็นอันดับที่ 2 หรือ 3 จากงบประมาณทั้งหมด

ปี 2559 ใช้งบรักษาความสะอาด 13,090 ล้านบาท คิดเป็น 18.7% ของงบทั้งหมด
ปี 2560 ใช้งบรักษาความสะอาด 11,649 ล้านบาท คิดเป็น 15.5% ของงบทั้งหมด
ปี 2561 ใช้งบรักษาความสะอาด 13,029 ล้านบาท คิดเป็น 16.6% ของงบทั้งหมด
ปี 2562 ใช้งบรักษาความสะอาด 12,979 ล้านบาท คิดเป็น 16.2% ของงบทั้งหมด
ปี 2563 ใช้งบรักษาความสะอาด 13,604 ล้านบาท คิดเป็น 16.4% ของงบทั้งหมด

แต่หากย้อนไปไกลกว่านั้น ข้อมูลเมื่อปี 2550 พบว่า กทม. ใช้งบประมาณเพื่อรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยเพียง 6,946 ล้านบาท หรือหมายความว่าปัจจุบัน กทม. ใช้งบประมาณในส่วนนี้เพิ่มขึ้นกว่า 95% จากเมื่อ 13 ปีก่อน

ขณะที่งบประมาณด้านการศึกษาของ กทม. ถูกจัดสรรอยู่ที่ประมาณ 5 – 6% ของงบประมาณทั้งหมด และยังเป็นสัดส่วนที่น้อยที่สุดของบประมาณ กทม. ปี 2563 ด้วย จึงเป็นเรื่องน่าเสียดายว่าหากกรุงเทพฯ บริหารจัดการขยะได้มีประสิทธิภาพมากกว่าที่เป็นมาและเป็นอยู่ สามารถใช้งบประมาณในการเก็บและกำจัดขยะน้อยลง กรุงเทพฯ คงจะมีงบประมาณไปใช้พัฒนาเมืองและคุณภาพชีวิตของผู้คนในด้านอื่นๆ มากขึ้น

 

ฟังนโยบายแก้ไขปัญหาต่างๆ ของว่าที่ผู้ว่าฯ กทม.

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า