SHARE

คัดลอกแล้ว

‘ตั๋วร่วม’ หรือการใช้ ‘บัตรใบเดียว’ เดินทางได้ทั่ว กทม. เป็นสิ่งที่คนกรุงเทพฯ เฝ้ารอมาหลายปี workpointTODAY เอาคำถามนี้ไปถามผู้สมัครผู้ว่าฯ กรุงเทพ จะทำยังไงให้ ‘บัตรแมงมุม-ตั๋วร่วม’ เกิดขึ้นจริง

หมายเลข 1 วิโรจน์ ลักขณาอดิศร – ก้าวไกล

คุณรู้หรือเปล่าว่าไอ้ตั๋วร่วมนี้มันเกิดไม่ได้เพราะว่าอะไร ทำตั๋วร่วมไม่ได้เพราะว่ามันติดอยู่ที่เส้นไข่แดง ซึ่งเส้นไข่แดงสำคัญยังไง คนใช้เยอะที่สุด แล้วเขามีตั๋วของเขา เขาก็เลยไม่มาร่วมกับไอ้ตั๋วแมงมุมนี่ไง ถูกป่ะ ดังนั้นเราถึงพูดตลอดเลยว่าการต่ออายุสัญญาสัมปทานนี่นะครับ เราขอดูเงื่อนไขก่อน ผมก็เช็ก แล้วมีใครไปขอตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร หรือยัง เท่าที่เช็กคร่าวๆ ไม่มี เมื่อวานนี้ผมก็เลยไปขอเลย (สัมภาษณ์ ณ วันที่ 3 มี.ค. 2565)

หนี้ที่เขาบอกว่า ค้าง รฟม. 6 หมื่นล้าน BTS อีก 3.7 หมื่นล้าน เฮ้ย แจกแจงให้หน่อยดิ แต่นี่เหมือนกับว่าติดหนี้ 3.7 หมื่นล้าน ไม่ถามไม่หือไม่อือเลยหรือ พร้อมเป็นลูกหนี้ที่ดีหรือ อย่างนั้นคุณอย่าเป็นผู้ว่าฯ กทม. เลย ไปเป็นเหยื่อแก๊งคอลเซ็นเตอร์ดีกว่า นี่คือสิ่งที่เราต้องขอไว้ทั้งหมดถูกป่ะ เพื่ออะไรรู้ไหม เพื่อทำให้ข้อเสนอในการแก้ปัญหา ทางเลือกในการแก้ปัญหา ในเรื่องของรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่เราเรียกสั้นๆ ว่าค่าโดยสารรถไฟฟ้าแพงนี่แหละ มันไม่ใช่แค่จินตนาการไง มันอยู่บนความเป็นจริงไง เพราะงั้นทุกวันนี้ขอเสนอทั้งหมดอยู่ภายใต้จินตนาการทั้งนั้น เราต้องทำให้ข้อเสนออยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง แล้วเราจะแก้ปัญหาค่าโดยสารรถไฟฟ้าแพงได้ และตั๋วร่วมจะได้เกิดขึ้นได้สักที

หมายเลข 3 สกลธี ภัททิยกุล – อิสระ

ปัญหาของตั๋วร่วมนี้มันที่รวมไม่ได้เพราะว่ามันเป็นระบบสองระบบที่ต่างกันสองเจ้าที่ให้บริการ ก็ตกลงกันไม่ได้ว่าสมมติถ้ามันมีการขึ้นอันนี้แล้วไปต่ออันนั้นค่าแรกเข้าใครจะได้ ใช่ไหม กับอีกอันหนึ่งคือว่าเงินที่อยู่ในบัตรนี้ใครจะเป็นคนเก็บไว้ เพราะมันก็มีเงินอยู่ในนั้นคือมันไปสามารถไปฝากได้ดอกเบี้ย เพราะฉะนั้นตรงนี้ที่ผมทราบมาตอนนี้ ทางรัฐบาลเขากําลังคุยกันอยู่ ซึ่งอยากจะให้มารวม ซึ่งผมว่าภายในปีนี้คงรวมได้ รวมไว้ก่อนโดยที่ไม่ต้องคํานึงเลยว่าค่าแรกเข้าใครจะได้ แต่ผมว่าอันนี้มันต้องอยู่ที่การคุยกันระหว่างทั้งสองเจ้าก็คืออาจจะเป็น รฟม. กับทาง BTS หรือถ้าแก้ตรงนี้ได้ว่าค่าเข้านี้ใครเอา แล้วก็เงินที่อยู่ในนั้นใครจะรักษาไว้อยู่ตรงนั้นได้ นี้จบได้ ซึ่งในอนาคตผมว่าโอกาสเห็นแน่

ในส่วนของ กทม. ที่เราคุยกับทาง BTS อยู่แล้วก็มันมีความสัมพันธ์กันอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นคนที่มาเป็นผู้ว่าฯ นี้ก็ต้องคุยในส่วนของฝั่งตนเอง ส่วนทางรัฐบาลก็ต้องคุยกับทาง รฟม. ซึ่งผมว่าตัวนี้มันมันรวมได้แน่อยู่แล้วในอนาคต แต่ว่าต้องมาดูในรายละเอียดอีกทีว่ารวมปุ๊บ เวลาเราสมมติเราขึ้นสายสีเขียวแต่เรามาต่อรถใต้ดินอย่างนี้ บางทีปกติถ้ามันไม่รวมมันต้องมีค่าเข้าสองครั้งถูกไหมฮะ เพราะมันเป็นคนละระบบกันใช่ไหม แต่ทีนี้ทําไงถึงจะว่าให้เป็นทีเดียว เพื่อให้ประชาชนจ่ายถูกที่สุด และให้มันไร้รอยต่อ ต้องมีการคุยกันครับ

หมายเลข 4 สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ – ประชาธิปัตย์

ปฏิเสธไม่ได้นะ ถ้าเกิดมาพูดว่าไม่ใช่หน้าที่อย่ามาสมัครผู้ว่าฯ เลยครับ กทม. ร่วมได้ กทม. ดูแล BTS อยู่นะครับ กทม. เราริเริ่มระบบรถเมล์ไฟฟ้าที่วิ่งสั้นๆ คอยดูแลพี่น้องประชาชนนะครับ และ กทม. ดูแลเรือ เห็นไหมครับ เพราะฉะนั้น กทม. ทำให้เบ็ดเสร็จเลย ตรงนี้ กทม. สามารถริเริ่มได้ มันเป็นบัตรต้องส่งเสริม ถ้าเกิดใช้บัตรนี้ ถ้าเกิดควักเงินสดซื้อนะครับ ในอนาคตตั้งใจเลยว่ารถไฟฟ้า 20 บาท รถเมล์ 12 บาท ถ้าเกิด รวมกัน 32 บาทต่อเที่ยว ใช้บัตรนี้เหลือ 30 คนจะควักเงินไหม ไม่ ใช้บัตร เพราะฉะนั้นบัตรนี้จะเป็นส่วนลดได้

และในอนาคตมันไม่ใช่บัตรนี้แล้วครับ มันต้องไปถึง BKK Token แล้วครับ มันอยู่ในซิมได้ ไอ้นี่ก็เชยแล้วครับ มันเก่าแล้วเนี่ย เอาของเก่ามาให้พี่เอ้ดูนะฮะ เก่าแล้ว ไม่ใช้แล้วฮะ เดี๋ยวนี้อยากทำก็คือ BKK Token อยู่ในกระเป๋าตังค์ อยู่ในโทรศัพท์มือถือได้หมด เราสามารถระบุเลยว่า ถ้าเกิดเด็กเล็ก จะได้เติมเข้าไปเท่าไหร่ ถ้าเกิดเป็นผู้สูงอายุ จะได้เติมเข้าไปเท่าไหร่นะครับ และที่สำคัญถ้าเกิดคนทำความดีตรงนี้ก็สามารถเติมเข้าไปได้ด้วย กลายเป็นอาสาสมัครอะไรต่างๆ เราจ่ายเป็นเงินไม่ได้ก็จริง แต่เราจ่ายเป็นสวัสดิการได้เมืองนอกเขาเรียกว่า Utility Token ตรงนี้อยากริเริ่มใน กทม. นะครับ เติมเต็มจากไอ้ตั๋วร่วม ซึ่งอันนี้ถือว่าโบราณแล้วครับ 

หมายเลข 6 พล...อัศวิน ขวัญเมือง – อิสระ

คืออันนี้นะ ถ้าทำได้นะ ยอดเยี่ยมที่สุดเลย ผมอยากให้เกิดจริงๆ นะ อยากให้มันมี ไม่งั้นวันนึงก็ควักกระเป๋าเอานี่ ขึ้นสายนี้ อีกใบอยู่ตรงไหนหว่า หาไม่เจอ ขึ้นสายนี้ ตรงนี้ผมอยากให้เกิดจริงๆ ผมพยายามผลักดันคุยกันมาหลายรอบแล้ว เขาก็เห็นด้วย แต่มันยังไม่นําไปสู่การปฏิบัติสักทีนึง ยังตกลงกันไม่ได้สักทีนึง ผมไม่มีอํานาจทําคนเดียวได้ใช่ไหม ผมนี้เป็นเจ้าของอย่างเดียว กทม. นี้ คือรถไฟฟ้า BTS รถไฟฟ้าสีอื่นเรา เราทําอะไรไม่ได้เลยนะ รถร้อน รถเย็น รถเมล์ต่างๆ เรือด่วนเจ้าพระยาแล้วแตะอะไรก็ไม่ได้เลยเพราะมันขึ้นกับหลายหน่วย

เหตุผลที่บางประเทศที่เจริญแล้วเขาทําได้เพราะว่า Mayor (ผู้บริหารเมือง) ของเมืองนี้เขาบริหารจัดการได้ทั้งหมด นี่ไฟดับผมยังทําอะไรไม่ได้เลยต้องแจ้งการไฟฟ้าคือเราต้องประสานกับหน่วยที่เกี่ยวข้องนะครับ เอาแค่ของ รฟม. นี่เขาคุมรถไฟฟ้าสายสีอื่นอีกห้าสีนี้ มันต้องเชื่อมกันให้ได้ด้วยว่า ผูกพันกันให้ได้ว่า ไอ้ตรงโน้นเก็บเท่าโน้นเก็บนี้เก็บเท่านี้ ผมเชื่อว่าถ้าผมกลับมาใหม่นี้ผมก็จะต้องประสานกับหน่วยที่เกี่ยวข้องกันนะ เราก็เคยคุยกันมาหลายครั้งแล้วแต่มันยังไม่เกิด มันยังไม่เกิดสักที

หมายเลข 7 รสนา โตสิตระกูล – อิสระ

ดิฉันเองเนี่ยทำ diraction (กำหนดทิศทาง) ไว้ว่าถ้าดิฉันเป็นผู้ว่าฯ นะคะ ดิฉันจะกำหนดให้รถไฟฟ้าสายสีเขียว เราจะโอนเข้าไป integrate (รวม) กับระบบของ รฟม. เพราะสิ่งที่ดิฉันคิดก็คือระบบรางนี้ ทั้งหมดควรจะเป็นของรัฐ เพื่อให้รัฐสามารถกำหนดราคาค่าโดยสารได้ แล้วทำให้มันมีราคาเดียว เหมือนกับบัตรแมงมุมที่เคยมีเจตนารมณ์แบบนั้น เราก็จะให้ รฟม. นั้นมีค่าแรกเข้า ซึ่งเขาจะคิดค่าแรกเข้าแค่ 12 บาท แล้วก็บวกสถานีละ 2 บาท ดิฉันคิดว่าสูงสุดก็ไม่ควรจะเกิน 44 บาท 44 บาทนั้นเนี่ย เดินทางได้ทั่วกรุงเทพฯ เลย

ถ้าสมมติทำอันนี้ขึ้นมาได้ปุ๊บเนี่ย มันทำให้รถไฟฟ้าทั้งระบบ มันจะกลายเป็นเรียกว่าขนส่งมวลชน เป็นรถสาธารณะอย่างแท้จริง ซึ่งคนมีรายได้เท่าไหร่ก็จะสามารถขึ้นได้ ถ้าหากว่าเราทำให้บัตรแมงมุมแบบนี้นะคะ ค่าเจตนารมณ์ของการที่มีบัตรใบเดียวเดินทางทั่วกรุงเทพฯ นี้นะคะ สามารถที่จะเกิดขึ้นได้ เราก็สามารถที่จะทำให้คนมาขึ้นรถไฟฟ้าได้มากขึ้น เพราะฉะนั้นเมื่อขึ้นรถไฟฟ้าได้มากขึ้น การลดในเรื่องของรถติดมันจะเกิดขึ้นได้ แล้วมันก็จะลดในเรื่อง PM2.5 ได้ด้วย

หมายเลข 8 ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ – อิสระ

คือบัตรแมงมุมจริงๆ แล้วก็เป็นโครงการที่ต่อเนื่องของคมนาคมนะ จริงๆ แล้วมีก่อนที่สมัยผมจะไปทำ ตอนนั้นไปทำงานที่คมนาคมใช่ไหม เราก็ผลักดันโครงการนี้ หลักๆ คือว่าอยากจะให้บัตรนี้เป็นบัตรที่ใช้ได้กับทุกรถ มี MRT BRT BTS รถเมล์ เรือ อะไรอย่างนี้ แต่พอเราออกมาปุ๊บ สุดท้ายแล้วมันก็ไปไหนไม่ไกล ถามว่าสาเหตุเป็นเพราะอะไร เพราะว่ามันไม่ได้มีกฎหมายบังคับที่ให้ผู้ประกอบการทุกรายต้องใช้บัตรแมงมุม ถูกไหมฮะ คือไอ้เรื่องบัตรเนี่ยมันมีมูลค่านอกเหนือจากนี้ เพราะว่าเวลาเราซื้อบัตรใช่ป่ะ มันก็จะมีเงินไปเก็บอยู่ที่ไอ้ตัวกลาง เงินนี้จริงๆ แล้วมันเป็นเงินที่ฟรีอะ ที่เอาไปใช้โดยไม่มีดอกเบี้ย เพราะฉะนั้นจริงๆ แล้วมันก็มีผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องอยู่ ในขณะเดียวกันมันก็มีเรื่องข้อมูลของผู้ใช้ว่า เฮ้ย ไอ้นี่มันซื้ออะไร มันไปไหน แล้วมันอาจจะไปใช้ซื้ออย่างอื่นได้ เพราะฉะนั้นผู้ประกอบการแต่ละเจ้าก็อยากจะมีการลงทุนบัตรของตัวเองไง เพราะฉะนั้นก็เลยทำให้พอไม่มีกฎหมายบังคับปุ๊บเนี่ย แมงมุมมันก็เลยไปไม่ไกล

ปัจจุบันก็มีการทำระบบ EMV – Europay Mastercard and Visa แต่อันนี้ก็จะมีปัญหา คือผมคิดว่าอาจจะมีคนที่มีบัตรเครดิตบางกลุ่ม แต่ส่วนใหญ่จะไม่มีบัตรเครดิตไง ก็จะยังไม่สะดวก ผมว่าหัวใจคงต้องผลักดันบัตร universal (ที่ใช้ได้ครอบคลุม) นี่แหละ ให้ต่อเนื่องไป ถ้าจะต้องทำกฎหมายให้มันบังคับใช้ได้ก็ต้องทำ กทม. เองถ้าเป็นไปได้เราควรจะให้ทุกคนทุกการขนส่งที่อยู่ภายใต้กำกับของเราเนี่ย ยอมรับตัวแมงมุม สัญญาบางอย่างที่เขียนมาก่อน บังคับใช้ไม่ได้ก็อาจจะลำบาก แต่สัญญาจากนี้ไปคงต้องมี ไอ้ตัวกฎที่บอกว่าถ้ามีบัตรพวกนี้มา ผู้ประกอบการต้องเอามาใช้เพื่อประโยชน์ของประชาชนสูงสุดครับ

หมายเลข 11 น..ศิธา ทิวารี – ไทยสร้างไทย

ประเด็นแรกเลยนะครับ บัตรอันนี้ อันแรกที่เราต้องทำให้ได้ก่อน ข้อมูลทุกอย่างเนี่ยจะบรรจุในบัตรประชาชนได้ไหม แล้วการใช้บัตรประชาชนที่คุณบอกว่าเป็นสมาร์ทการ์ด เป็นบัตรประชาชนแบบที่อัจฉริยะแล้วเนี่ย ทุกวันนี้ก็ยังเอาบัตรอัจฉริยะไปซีรอกซ์ทั้งหน้าทั้งหลัง แล้วต้องใช้หลังด้วยนะ ในการทำหลายๆ อย่างเนี่ย ผมลงสมัครก็ต้องใช้แบบนี้ มันไม่ใช่แล้ว มันต้องทำ อันนั้นคือขั้นต้นก่อน ขั้นที่สองคือการเชื่อมโยงแบบนี้ มันไปติดในอีกอันนึงฮะ ก็คือเอาแค่รถไฟฟ้าสายสีเขียว แล้วคุณไปต่อขยายเนี่ย ก็ กทม. คนเดียว คุยกับรถไฟฟ้าเจ้าเดียว แล้วทำไป คุณยังคุยกันไม่จบเลย ตรงนี้เนี่ยต้องการ leadership (ความเป็นผู้นำ) ที่สามารถจะเข้าไปบริหารจัดการที่แท้จริง แล้วจะไปคิดแบบหนึ่งบวกหนึ่งเป็นสองไม่ได้ คุณต้อง make the thing done คุณต้องทำยังไงให้ปัญหาตรงนี้มันจบให้ได้

ผมเข้าไปผมทำให้จบได้ ถ้าเราทำแล้วสนธิกำลัง คือสนธิหน่วยงานทั้งหมดเนี่ย เข้ามารวมศูนย์แล้วก็บริหารจัดการที่ดีเนี่ย ผมว่าสามารถทำได้ แต่ว่าถามว่ายากไหม ก็ยากนะครับ เพราะว่าแต่ละคนก็มีเจ้าข้าวเจ้าของของตนเองอะไรต่างๆ แต่ว่าเราสามารถทำได้ เพราะว่าทุกวันนี้บัตรเครดิตมันก็จะมีกระบวนการ KYC (กระบวนการพิสูจน์ตัวตน) มีการที่จะรู้ว่าคุณไปติดหนี้อยู่แบงค์ไหน แล้วก็ยืนยันตัวตนได้อะไรได้ บัตรสมาร์ทการ์ด บัตรแมงมุมอะไรต่างๆ ก็สามารถทำได้ โดยต้องมีผู้ว่าฯ ที่มี leadership (ความเป็นผู้นำ) เพียงพอเนี่ย เข้าไปกำกับดูแลและจริงใจในการทำ

 

อ่านเพิ่ม

เปิดรีวิวชาวเน็ตประเด็น ‘บัตรแมงมุม’ จากเกมโชว์วิสัยทัศน์ของ workpointTODAY

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า