SHARE

คัดลอกแล้ว

สธ. แถลงสถานการณ์โควิดใน กทม. ยังมีผู้ติดเชื้อสูง ส่วนใหญ่มาจากร้านอาหารกึ่งผับ หอพักนักศึกษา และแฟลตตำรวจ

นพ.สุทัศน์ โชตนะพันธ์ ผอ.สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง (สปคม.) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข แถลงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ในพื้นที่ กทม.ว่า พื้นที่ กทม. วันนี้รายงานป่วยใหม่ 939 ราย เสียชีวิต 3 ราย และรักษาหาย 300 กว่าราย การกระจายตัวของการเจ็บป่วยอยู่ในทุกกลุ่มอายุและทุกเขตของ กทม. แต่บางจุดเป็นสีแดงมีอัตราการป่วยสูงกว่าโซนอื่นๆ ส่วนผู้เสียชีวิตใน กทม. ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2564 – 6 ม.ค. 2565 จำนวน 6,898 ราย พบว่า 61% ยังไม่ได้รับวัคซีนหรือรับไม่ครบ ส่วนผู้ที่รับวัคซีนป่วยแล้วเสียชีวิตอัตราค่อนข้างต่ำ ประมาณ 13.6%

นพ.สุทัศน์ กล่าวอีกว่า การติดเชื้อใน กทม.ที่พบเยอะ คือ พื้นที่เสี่ยงและแหล่งชุมชน คือ สถานที่ปิด ส่วนใหญ่เป็นร้านอาหารกึ่งผับกึ่งบาร์ ที่ขออนุญาตเปิดปรับปรุงเป็นร้านอาหารปกติ ทำให้รับประทานอาหารได้ถึงเวลา 23.00 น. แม้จะมีมาตรการจำกัดการจำหน่ายและดื่มแอลกอฮอล์ถึงเวลา 21.00 น. แต่เนื่องจากพื้นที่เหล่านี้อากาศปิด การวางรูปแบบไม่ได้เป็นร้านอาหารที่การระบายอากาศที่ดี ทำให้เป็นพื้นที่เสี่ยงเพิ่มขึ้น

ส่วนอีกพื้นที่หนึ่งที่เริ่มพบรายงานมากขึ้น คือในหอพักที่มีลักษณะแออัด เช่น หอพักนักศึกษา และแฟลตตำรวจ เริ่มมีรายงานมากขึ้น เน้นย้ำประชาชนเลี่ยงพื้นที่เสี่ยงเหล่านี้ หากอาศัยในแหล่งพื้นที่เสี่ยงให้พยายามแยกตัว ปฏิบัติตามมาตรการที่ สธ.แนะนำอย่างเคร่งครัด 

นพ.สุทัศน์ กล่าวว่า ผลการสอบสวนการระบาดในกรุงเทพฯ ที่พบมาก คือ ร้านอาหารกึ่งปิดที่ปรับมาจากร้านอาหารประเภท ผับ บาร์ โดยจะพบการระบาดมากกว่า 5 รายขึ้นไป แนะนำว่าถ้าจะใช้บริการให้ดูเรื่องความแออัดและให้เลือกร้านที่ผ่านมาตรฐานของ สธ. นอกจากนี้หากเข้าไปรับบริการและพบร้านที่ไม่ทำตามมาตรฐานให้แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้

นพ.สุทัศน์ กล่าวต่อว่าขณะนี้พบกลุ่มบุคลากรการแพทย์ ได้รับเชื้อมากขึ้น แต่เป็นการได้รับเชื้อมาจากชุมชนและคนใกล้ชิด ไม่ได้รับเชื้อมาจากผู้ป่วย นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มที่มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อเพิ่มด้วย จึงขอแนะนำว่าควรหลีกเลี่ยงสถานที่ระบายอากาศไม่ดี สถานที่แออัด งดร่วมกิจกรรมเป็นเวลานานที่ไม่สวมหน้ากาก เช่น วงเหล้า ชะลอการเดินทางหากไม่จำเป็น หากกลับต่างจังหวัดสังเกตอาการตนเอง 14 วัน ใช้มาตรการทำงานที่บ้าน หากมีอาการสงสัยให้รีบตรวจ ATK และหากผลเป็นบวกให้ประสาน 1330 เพื่อลงทะเบียนเข้าระบบดูแลที่บ้าน ซึ่ง สธ.และหลายหน่วยงานเปิดบริการ HI แล้ว และเตรียมเตียงรองรับหากดูแลแบบ HI แล้วอาการเปลี่ยนแปลง 

รวมถึงขอให้ไปฉีดวัคซีนทั้งเข็มปกติและเข็มกระตุ้น โดย กทม.เปิดพื้นที่บริการ 20 กว่าจุดเพื่อให้บริการ และทุกจังหวัดก็มีวัคซีนบริการ ช่วงนี้จะสะดวกมากขึ้น ส่วนสถานประกอบการขอให้ทำตาม COVID Free Setting และหากพบผู้ให้บริการติดเชื้อให้ดูแลแบบ Bubble&Seal 

นพ.สุทัศน์  กล่าวถึงการเข้าถึงระบบ HI ที่มีบางส่วนบอกว่ามีความล่าช้า ว่าปัญหาไม่ได้อยู่ตรงระบบที่รองรับ เพราะ กทม.เปิดระบบ HI ทุกเขตทุกพื้นที่ มียารักษา อุปกรณ์เพื่อติดตามดูแลตัวเอง แต่น่าจะเป็นเรื่องการติดต่อเพื่อลงทะเบียน 1330 ซึ่ง สปสช. กำลังเร่งแก้ไขในเรื่องนี้ 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า