Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ BBIK ที่ปรึกษาชั้นนำผู้ให้บริการด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันครบวงจร เผยเศรษฐกิจครึ่งปีหลังของปี 2567 มีแนวโน้มฟื้นตัวจากภาคการท่องเที่ยว การบริโภคของภาคเอกชนที่ขยายตัวต่อเนื่อง และการใช้จ่ายภาครัฐที่กลับมาเร่งตัวขึ้น ส่งผลให้แผนงานด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันของภาคธุรกิจทยอยกลับมาดำเนินการตามแผนในช่วงปลายไตรมาส 2 ดันมูลค่างานแบ็คล็อค (ณ สิ้นเดือน มิถุนายน) ของบลูบิคสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 1,377 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 43% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้านี้ (QoQ) ซึ่งจำนวนนี้มาจากบริษัทแม่และบริษัทย่อยในเครือ 905 ล้านบาท และบริษัทร่วมทุน 472 ล้านบาท เตรียมรับรู้รายได้ของบริษัทแม่และบริษัทย่อยในเครือมากกว่า 506 ล้านบาท และบริษัทร่วมทุน 330 ล้านบาทในปีนี้ และที่เหลือจะทยอยรับรู้ในปี 2568 – 2572 หนุนให้ผลประกอบการ 2H/67 เติบโตอย่างแข็งแกร่ง พร้อมทำนิวไฮโตต่อเนื่องเป็นปีที่ 8

นายพชร อารยะการกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บลูบิค กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ BBIK เปิดเผยว่า การทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันหรือแผนงานที่เกี่ยวข้องกับระบบดิจิทัลยังอยู่ในกระแสความต้องการของภาคธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เพราะเทคโนโลยีมีการพัฒนาตลอดเวลาและธุรกิจยุคใหม่ล้วนต้องพึ่งพาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ดังนั้นความต้องการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันและการปรับใช้เทคโนโลยี (Technology Adoption) ขององค์กรลูกค้าจึงกลับมาอย่างรวดเร็วเมื่อเศรษฐกิจส่งสัญญาณบวก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการเงินและธนาคาร ประกัน และค้าปลีก ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพในการใช้จ่ายด้านเทคโนโลยี ด้วยเหตุนี้ บริษัทฯ จึงประเมินว่าปัจจัยเหล่านี้จะสนับสนุนให้ผลประกอบการในครึ่งปีหลังของบลูบิคจะฟื้นตัวและเติบโตไม่น้อยกว่า 15% เมื่อเทียบกับครึ่งปีแรกที่ผ่านมา ผนวกกับการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีทั้งในส่วนของบริษัทแม่และบริษัทในเครือเต็มปี และการบริหารจัดการภายในเพื่อลดต้นทุน รวมถึงผลการดำเนินงานที่เติบโตอย่างแข็งแกร่งของธุรกิจที่บริษัทฯ ลงทุนไปก่อนหน้านี้ อาทิ บริษัทร่วมทุน ซอส สกิลส์ หนุนให้ภาพรวมของผลประกอบการปี 2567 สามารถทำนิวไฮต่อเนื่องได้อีกครั้ง

“เทคโนโลยีมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมา เกิดคลื่นเทคโนโลยีใหม่ ๆ มากมาย ยกตัวอย่างเช่น AI ที่กำลังเข้ามาพลิกโฉมการทำธุรกิจ ซึ่งปัจจุบันกระแส AI Transformation ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ด้วยเหตุนี้การเปลี่ยนผ่านและปรับใช้เทคโนโลยีของภาคธุรกิจจึงอยู่ในกระแสความต้องการอย่างต่อเนื่อง ยิ่งมีการพัฒนาและทำให้ต้นทุนลดลงได้ ยิ่งเร่งให้การใช้จ่ายด้านเทคโนโลยีขยายตัวมากขึ้น ดังนั้นความท้าทายของบลูบิคในฐานะบริษัทที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีที่มีจำนวนบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Tech Talents) มากเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศ คือ การเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการรับงานให้สอดกับความแนวโน้มและต้องการดังกล่าว ด้วยเหตุนี้ เราจึงเร่งผสานความร่วมมือและปรับแผนการดำเนินงานกับบริษัทในเครืออย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะบริษัท บลูบิค วัลแคน และ บริษัท อินโนวิซ โซลูชั่นส์ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการส่งมอบงานให้กับลูกค้าและรองรับการขยายตัวของบลูบิคในอนาคต” นายพชร กล่าวเพิ่มเติม

โดยแผนงาน 2H/67 บริษัทฯ ตั้งเป้าปรับ Utilization Rate ของพนักงานบริษัทในเครือจาก 50% เป็น 55-60% พร้อมเพิ่มจำนวนผู้บริหารประสบการณ์สูงในหลายตำแหน่ง เช่น ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ (COO) และประธานเจ้าหน้าที่พัฒนาธุรกิจ (CCO) เพื่อเสริมแกร่งกระบวนการทำงาน รวมถึงเพิ่มความเข้มข้นในการทำ Cross-Selling, Up-Selling ขยายการให้บริการและผลิตภัณฑ์ผ่านฐานลูกค้าของบริษัทในเครือ และเริ่มดำเนินการแผน Cross Resource เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุดและลดต้นทุนการบริหารจัดการที่ไม่จำเป็น ซึ่งแผนงานดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการต้นทุนและเตรียมความพร้อมรองรับการขยายตัวของบริษัทฯ ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ที่มีความต้องการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันสูง

ในส่วนตลาดต่างประเทศที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง ประกอบไปด้วยเวียดนาม ซึ่งเป็นประเทศที่เศรษฐกิจอยู่ในช่วงขาขึ้น ทำให้มีลูกค้าที่พร้อมลงทุนด้านเทคโนโลยีจำนวนมาก รวมถึงมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ที่ภาคธุรกิจกำลังให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมมากขึ้นต่อเนื่อง นอกจากนี้ บลูบิคยังมองเห็นโอกาสในการขยายสัดส่วนลูกค้าเพิ่มเติมนอกเหนือจากภาคเอกชน โดยพบว่ากลุ่มลูกค้าภาครัฐมีความต้องการพัฒนาระบบที่ซับซ้อนและสามารถรองรับผู้ใช้งานจำนวนมหาศาล ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการรุกตลาดนี้อย่างจริงจัง

สำหรับผลประกอบการ 6 เดือนแรกประจำปี 67 บริษัทฯ มีกำไรสุทธิ 114 ล้านบาท ลดลง 17% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) โดยมีรายได้อยู่ที่ 708 ล้านบาท โต 17% (YoY) และในส่วนของผลประกอบการไตรมาส 2 ประจำปี 2567 กำไรสุทธิของบริษัทฯ อยู่ที่ 43 ล้านบาท ลดลง 40% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้านี้ (QoQ) และมีรายได้ 339 ล้านบาท ลดลง 8% ซึ่งการปรับตัวลงของผลประกอบการเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้านี้ เกิดจากความกังวลของภาคธุรกิจที่มีต่อภาวะเศรษฐกิจที่ผ่านมา ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลพวงจากภาครัฐชะลอการเบิกจ่ายงบประมาณตั้งแต่ปี 2566 – 2567 ทำให้ลูกค้าเลื่อนการพิจารณาการประมูลงาน อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันแผนงานที่เกี่ยวกับดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันของลูกค้าได้กลับมาดำเนินการตามปกติแล้ว

“ภายใต้บริบทความท้าทายที่เกิดขึ้นในหลายช่วงเวลาที่ผ่านมา เป็นบทพิสูจน์ถึงความแข็งแกร่งของบลูบิคที่สามารถรักษาเติบโตอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 10 ปี และปีนี้เรากำลังย่างเข้าสู่ปีที่ 11 อย่างภาคภูมิ โดยบลูบิคยังคงมุ่งมั่นในการพัฒนาที่ไม่หยุดยั้ง และให้ความสำคัญกับการเติบโตธุรกิจจากการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการและบริหารต้นทุนอย่างเหมาะสม เพื่อรักษาไว้ซึ่งความไว้วางใจทั้งจากองค์กรลูกค้าและนักลงทุน” นายพชร กล่าวปิดท้าย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า