SHARE

คัดลอกแล้ว

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยืนยันว่าไม่ได้ห้ามให้ธนาคารพาณิชย์ส่งผ่านดอกเบี้ยนโยบาย ภายหลังแบงก์ชาติประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 4 ปีเป็น 0.75%

หลังจากที่ ธปท.ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ครั้งแรกในรอบ 4 ปี มาอยู่ที่ระดับ 0.75% อีกทั้งสั่งให้ธนาคารพาณิชย์กลับมาชำระเงินนำส่งเข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) ในอัตราเท่าเดิม 0.46%

ซึ่งทั้งหมดนี้อาจส่งผลกระทบให้ธนาคารพาณิชย์ไม่สามารถคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และลดดอกเบี้ยเงินฝากเพื่อช่วยเหลือประชาชนได้นั้น

‘สุวรรณี เจษฎาศักดิ์’ ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยกับสื่อว่า แบงก์ชาติไม่ได้ห้ามธนาคารพาณิชย์ส่งผลดอกเบี้ยนโยบาย แต่ยอมรับว่ามีการพูดคุยกับธนาคารว่ายังคงต้องให้ดูแลกลุ่มเปราะบาง

โดยเฉพาะลูกค้ารายย่อยที่มียังมีรายได้ค่อนข้างต่ำ และลูกค้ากลุ่มผู้ประกอบธุรกิจ SMEs ซึ่งหากธนาคารขึ้นดอกเบี้ย เชื่อว่าจะส่งผลให้ต้นทุนการเงินของกลุ่มเปราะบางเพิ่มขึ้น ซึ่งหากกลุ่มนี้ถูกกระทบมากๆ ท้ายที่สุดจะกลับมาเป็นภาระต้นทุนของธนาคาร

อย่างไรก็ตาม การส่งผ่านอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปยังอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และดอกเบี้ยเงินฝากนั้น ปกติเมื่อปล่อยไปตามกลไกตลาด พบว่า การส่งผ่านไปไม่ถึง 100% อยู่แล้ว

นอกจากนี้ จากการประเมินของแบงก์ชาติ พบว่า การที่อัตราดอกเบี้ยปรับเพิ่มขึ้น 1% จะส่งผลให้ภาคครัวเรือนมีภาระเพิ่มขึ้น 0.5% ซึ่งต่ำกว่าต้นทุนของราคาสินค้าที่จะเพิ่มขึ้นหากไม่ขึ้นดอกเบี้ยเพื่อคุมเงินเฟ้อ อีกทั้งจากการสำรวจ พบว่า 60% ของภาระหนี้เป็นสินเชื่อที่มีดอกเบี้ยคงที่

สำหรับแนวโน้มหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ยอมรับว่ากังวลการเพิ่มขึ้นจากกลุ่มเปราะบาง ซึ่ง ธปท.ได้ผลักดันเจ้าหนี้ให้มีมาตรการช่วยเหลือลูกค้าอย่างต่อเนื่อง

ถึงอย่างนั้น แบงก์ชาติก็มั่นใจว่าหนี้เสียในระบบจะไม่นำไปสู่ปรากฏการณ์ ‘หน้าผาหนี้’ (NPL Cliff) เทียบกับช่วง 2 ปีที่ผ่านมาที่ไทยเผชิญกับวิกฤตโควิด-19 ก็ไม่เกิดปัญหาดังกล่าวเช่นกัน แม้ตอนนี้จะยังเห็นตัวเลขลูกค้าเข้ามาตรการช่วยเหลือเพิ่มเพราะค่าครองชีพที่สูงขึ้นก็ตาม

ส่วนภาพรวมของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 2 ที่ผ่านมา ยังมีความเข้มแข็ง โดยเงินกองทุน เงินสำรอง และสภาพคล่อง ยังอยู่ในระดับสูง สามารถสนับสนุนสินเชื่อเพื่อรองรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะถัดไปได้

นอกจากนี้ ผลประกอบการยังปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อน โดยหลักจากการเติบโตของสินเชื่อที่ทำให้รายได้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น รวมถึงค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองที่ลดลง โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • ระบบธนาคารพาณิชย์มีเงินกองทุนทั้งสิ้น 3,076.6 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS ratio) ที่ 19.6%
  • เงินสำรองอยู่ในระดับสูงที่ 909.6 พันล้านบาท โดยอัตราส่วนเงินสำรองที่มีต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL coverage ratio) อยู่ที่ 166.6%
  • อัตราส่วนสินทรัพย์สภาพคล่องเพื่อรองรับกระแสเงินสดที่อาจไหลออกในภาวะวิกฤต (Liquidity Coverage Ratio: LCR) อยู่ที่ 185.5%

ส่วนภาพรวมการเติบโตของสินเชื่อไตรมาส 2 ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 6.3% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน จาก 6.9% ในไตรมาสก่อนหน้า มีรายละเอียดดังนี้

1. สินเชื่อธุรกิจขยายตัวที่ 8.0% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน จากสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ ที่ขยายตัวต่อเนื่องตามความต้องการเงินทุนของภาคเอกชน ส่วนหนึ่งเพื่อผลิตสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้นรองรับต้นทุนการผลิตที่มีแนวโน้มสูงขึ้นและเพื่อการส่งออก

ขณะที่สินเชื่อธุรกิจ SMEs ขยายตัวได้จากมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูเป็นสำคัญ

2. สินเชื่ออุปโภคบริโภคยังคงขยายตัวได้ในอัตรา 3.0% แม้จะชะลอลงบ้างจากไตรมาสก่อน

  • สินเชื่อที่อยู่อาศัยยังขยายตัวตามอุปสงค์ต่อที่อยู่อาศัยที่เริ่มกลับมาขยายตัวได้
  • สินเชื่อส่วนบุคคลขยายตัวตามความต้องการสภาพคล่องของภาคครัวเรือนในช่วงที่ค่าครองชีพปรับสูงขึ้น
  • สินเชื่อบัตรเครดิตขยายตัวเร่งขึ้นจากความเชื่อมั่นของครัวเรือนที่ปรับดีขึ้นตามแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
  • สินเชื่อรถยนต์ทรงตัวต่อเนื่อง สอดคล้องกับยอดขายรถยนต์ในประเทศที่ชะลอตัว

ด้านคุณภาพสินเชื่อ ธนาคารพาณิชย์ยังให้ความช่วยเหลือลูกหนี้และบริหารจัดการพอร์ตสินเชื่อเพื่อดูแลคุณภาพสินเชื่อโดยรวมอย่างต่อเนื่อง

ส่งผลให้ยอดคงค้างสินเชื่อด้อยคุณภาพ (Non Performing Loan: NPL หรือ stage 3) ของระบบธนาคารพาณิชย์ไตรมาส 2 ปี 2565 ลดลงมาอยู่ที่ 527.9 พันล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวมที่ 2.88%

ขณะที่สัดส่วนสินเชื่อที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของความเสี่ยงด้านเครดิตต่อสินเชื่อรวม (Significant Increase in Credit Risk: SICR หรือ stage 2) ทรงตัวอยู่ที่ 6.09%

ระบบธนาคารพาณิชย์มีกำไรสุทธิในไตรมาส 2 ปี 2565 จำนวน 64.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อน 7.2% จากการขยายตัวของสินเชื่อที่ทำให้รายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น

ประกอบกับค่าใช้จ่ายสำรองที่ลดลง หลังจากที่ธนาคารพาณิชย์ได้ทยอยกันสำรองไว้ในระดับสูงตลอดช่วงโควิด-19

หากเทียบกับไตรมาสก่อน กำไรสุทธิของธนาคารปรับเพิ่มขึ้น จากรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะรายได้เงินปันผล ส่วนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์เฉลี่ย (Return on Assets: ROA) เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 1.11% จากไตรมาสก่อนที่ 0.87%

ขณะที่อัตราส่วนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิต่อสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้ดอกเบี้ยเฉลี่ย (Net Interest Margin: NIM) เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 2.51% จากไตรมาสก่อนที่ 2.45%

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า