SHARE

คัดลอกแล้ว

‘เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ’ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยว่า ต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง และคงไม่ใช่การขึ้นทีเดียวแล้วจบ

นอกจากนี้ จากภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มกลับมาฟื้นตัวจากช่วงโควิด-19 ธปท.จะปรับมาตรการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบให้ตรงกลุ่ม (Targeted) มากขึ้น จากเดิมใช้มาตรการทอดแหในช่วงวิกฤตไวรัส

โดยยอมรับว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และการถอนมาตรการทางการเงินนั้น จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจแน่นอน อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์พบว่า หากปล่อยให้เงินเฟ้อสูงขึ้น จะส่งผลให้ภาระครัวเรือนเพิ่มสูงกว่า 7 เท่าตัว

ผู้ว่าฯ บอกอีกว่า การขึ้นอัตราดอกเบี้ย ต้องใช้เวลากว่าที่ผลลัพธ์จะส่งผ่านไปยังระบบเศรษฐกิจ แต่สิ่งที่มีผลทันที คือ ‘คาดการณ์เงินเฟ้อ’ ซึ่งคาดว่าจะปรับลดลง

จากเดิม ธปท.ห่วงว่า ถ้าคาดการณ์เงินเฟ้ออยู่ในระดับสูง จะส่งผลต่อพฤติกรรมคน แรงงานจะมีแนวโน้มขอปรับขึ้นค่าแรงจากนายจ้างเพิ่มขึ้น ขณะที่นายจ้างก็มีแนวโน้มจะส่งผ่านต้นทุนไปยังราคาสินค้า ซึ่งจะทำให้ราคาของแพงขึ้น

แม้ในระยะสั้นเงินเฟ้อของไทยจะอยู่ที่ระดับ 7% สูงกว่ากรอบเป้าหมายของแบงก์ชาติ แต่ในระยะกลางถึงยาว คาดการณ์เงินเฟ้อยังอยู่ในกรอบเป้าหมายระหว่าง 1-3%

ส่วนความจำเป็นของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่ต้องนัดประชุมนอกรอบ ผู้ว่าฯ ชี้ว่า ต้องเป็นสถานการณ์ที่หนักกว่าที่คาดการณ์เอาไว้ค่อนข้างมาก เช่น หากเงินเฟ้อไม่ลดลงตามเป้าหมาย ก็อาจจะพิจารณาประชุมนอกรอบ

เมื่อสอบถามถึงค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่าแตะ 37 บาทนั้น ธปท.มีการมอร์นิเตอร์ตลอดเวลา และหากเห็นสัญญาณผิดปกติ เช่น การเก็งกำไรค่าเงิน จะเข้าไปดูแลทันที พร้อมย้ำว่า สถานการณ์ที่เกินขึ้นกับค่าเงินในปัจจุบันแตกต่างจากปี 2540 โดยสิ้นเชิง

จากปัจจุบันมีความเข้าใจผิดเยอะว่า ดอกเบี้ยของไทยต่ำกว่าสหรัฐ > เงินทุนไหลออกไปหาผลตอบแทนที่เรกว่า > ค่าเงินบาทอ่อนค่า > เงินทุนสำรองลดลง ซึ่งเท่ากับว่า ธปท.แทรกแซงค่าเงินอย่างหนัก > เสถียรภาพการเงินไทยเปราะบางเหมือนปี 2540

เพราะในความเป็นจริงแล้ว มีหลายประเทศที่ดอกเบี้ยสูงกว่าสหรัฐ เช่น อินเดีย และอินโดนีเซีย แต่กระแสเงินลงทุนต่างชาติก็ยังไหลออก ส่วนของไทยตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน กระแสเงินลงทุนยังเป็นการไหลเข้า

ส่วนเงินบาทที่อ่อนค่า สาเหตุหลักเป็นผลจากเงินดอลลาร์ที่แข็งค่า และที่เงินทุนสำรองลดลงนั้น ยอมรับว่าส่วนหนึ่งเป็นผลจากที่ ธปท.เข้าดูแลค่าเงิน แต่ส่วนใหญ่ที่ลดลงเป็นเพราะมูลค่า (Valuation) สินทรัพย์ของเงินทุนสำรองที่ลดลงด้วย

สุดท้าย ผู้ว่าฯ ชี้ว่า สภาพของไทยตอนนี้ต่างจากปี 2540 มาก เพราะเรามีทุนสำรองสูงกว่าหนี้ต่างประเทศ 2.6 เท่า และปัจจุบันไทยใช้นโยบายปล่อยลอยตัวค่าเงิน ไม่เหมือนช่วงวิกฤตเศรษฐกิจที่กำหนดค่าเงินเอง แต่แล้วต้องมาปล่อยลอยตัวในช่วงวิกฤต ทำให้คนที่มีหนี้ต่างประเทศ ภาระหนี้เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า